การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น by Mind Map: การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น

1. 3.วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น

1.1. เป็นการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบจัดประชากรออกเป็นพวกหรือชั้น การแบ่งประชากรเป็นพวกหรือชั้น ยึดหลักให้มีลักษณะภายในคล้ายกันหรือเป็นเอกพันธ์มากที่สุด แต่จะแตกต่างกันระหว่างชั้นมากที่สุด จากนั้นจึงทำการสุ่มจากแต่ละชั้นขึ้นมาทำการศึกษาโดยใช้สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่สุ่มขึ้นมาเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

1.1.1. ข้อดี

1.1.2. ข้อเสีย

1.1.3. ตัวอย่าง

1.1.3.1. ผู้วิจัยพบว่าในประชากรกลุ่มนี้ มีเพศชายที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนจำนวน 181 คน (คิดเป็น 60% ของประชากรทั้งหมด) และเพศหญิง จำนวน 120 คน (คิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด) และผู้วิจัยต้องการสุ่มตัวอย่าง 10% จากประชากรทั้งหมดใน ครัวเรือน

2. 4.วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม

2.1. เป็นวิธีที่ผู้วิจัยใช้ในการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มตามเขตพื้นที่ซึ่งในแต่ละ เขตพื้นที่จะมีประชากรที่มีคุณลักษณะที่ต้องการกระจายกันอยู่อย่างเท่าเทียมกัน จำนวนของกลุ่มต่างๆ จะถูกสุ่มขึ้นมาทำการศึกษา เมื่อสุ่มได้กลุ่มใดก็จะนำสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มนั้นๆ ทั้งหมดมาทำการศึกษา

2.1.1. ข้อดี

2.1.2. ข้อเสีย

2.1.3. ตัวอย่าง

2.1.3.1. นักวิจัยต้องการที่จะสำรวจรายได้ของครัวเรือนในครัวเรือน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยการใช้การแบ่ง ครัวเรือนออกเป็นเขตตามคุ้มต่างๆ จำนวน 30 คุ้ม แล้วสุ่มจำนวน 10 คุ้ม มาเป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง

3. 5.วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน

3.1. เป็นการสุ่มที่ใช้หลักการพิจารณาวิธีการสุ่มทั้ง 4 แบบ คือ การสุ่มอย่างง่าย การสุ่มอย่างมีระบบ การสุ่มแบบแบ่งชั้น และการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยต้องการอย่างแท้จริง

3.1.1. ข้อดี

3.1.2. ข้อเสีย

3.1.3. ตัวอย่าง

3.1.3.1. ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นต้น โดยทำการสุ่มประชากรจากหน่วยหรือลำดับชั้นที่ใหญ่ก่อน จากหน่วยที่สุ่มได้ก็ทำการสุ่มหน่วยที่มีลำดับใหญ่รองลงไปทีละชั้นๆ จนถึงกลุ่มตัวอย่างในชั้นที่ต้องการ การสุ่มแบบนี้จึงมีลักษณะการกระจายเป็นร่างแหที่ขยายออกไปเรื่อยๆจนถึงหน่วยที่ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูล

4. 1.การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple random sampling)

4.1. เป็นการสุ่มตัวอย่างจากหน่วยย่อยของประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยเปิดโอกาสให้หน่วยย่อยของประชากรทุกหน่วยมีสิทธิ์ได้รับการเลือกเท่า ๆ กันอาจมีบัญชีรายชื่อของประชากรทุกหน่วยแล้วทำการจับสลากหรือใช้ตารางเลขสุ่ม (Random number table) หรือใช้คอมพิวเตอร์สร้างเลขสุ่มจนได้กลุ่ม ตัวอย่างประชากรครบตามต้องการ

4.1.1. ข้อดี

4.1.1.1. มีความสะดวกและใช้ง่าย

4.1.2. ข้อเสีย

4.1.2.1. ถ้ากลุ่มตัวอย่างที่ต้องการมีจำนวนมากการใช้วิธีนี้ก็จะเสียเวลามาก

4.1.3. ตัวอย่าง

4.1.3.1. การสุ่มตัวอย่างจากหัวหน้าครอบครัวแต่ละครัวเรือนใน ซึ่งมีทั้งหมด 301 ครัวเรือน ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันโดยเปิดโอกาสให้หัวหน้าครอบครัวทุกครัวเรือนมีสิทธิ์ได้รับการเลือกเท่าๆ กัน ด้วยวิธีการใช้ตารางเลขสุ่ม สุ่มจนได้กลุ่มตัวอย่างหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 30 ครัวเรือน

5. 2.วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ

5.1. เป็นการสุ่มตัวอย่างจากหน่วยย่อยของประชากรที่ลักษณะใกล้เคียงกัน แบบสุ่มเป็นช่วงๆ โดยดำเนินการดังนี้ -กำหนดหมายเลขประจำหน่วยตามบัญชีรายชื่อของประชากร -คำนวณช่วงของการสุ่ม -ทำการสุ่มหาตัวสุ่มเริ่มต้น -นับหน่วยของตัวอย่าง นับไปตามช่วงของการสุ่ม

5.1.1. ข้อดี

5.1.2. ข้อเสีย

5.1.3. ตัวอย่าง

5.1.3.1. ต้องการสุ่มนักเรียน 200 คน จากนักเรียนทั้งหมด 1,000 คน ดังนั้นจึงสุ่มทุก ๆ 5 คน เอามา 1 คน สมมติเมื่อสุ่มผู้ที่ตกเป็นตัวอย่างประชากรคนแรกได้หมายเลข003 คนที่สองที่ตกเป็นตัวอย่างได้แก่หมายเลข 008 สำหรับคนที่สามและคนต่อ ๆ ไป จะได้หมายเลข 013 , 018 , 023 , … , 998 รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น200 คน