นวัตกรรมเเละเทคโนโลยี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นวัตกรรมเเละเทคโนโลยี by Mind Map: นวัตกรรมเเละเทคโนโลยี

1. hardware

1.1. สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามลักษณะการทำงานได้ 4 หน่วย

1.1.1. 1. หน่วยรับข้อมูล Input Unit (อินพุต ยูนิต)

1.1.2. 2. หน่วยประมวลผลกลาง CPU : Central Processing Unit (เซนทอล โปรเซสชิง ยูนิต)

1.1.3. 3. หน่วยแสดงผล Output Unit(เอาร์พุต ยูนิต)

1.1.4. 4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง Secondary Storage(เซคคอนเดรี่ สตอเรส)

1.2. ตัวฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ นั้นจะไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่าง ๆ ในการสั่งงาน โดยที่ชุดคำสั่งเหล่านี้อาจจะอยู่ใน ROM (รอม) ของฮาร์แวร์นั้น ๆ อาจจะเป็นชุดคำสั่งจากระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งจากโปรแกรมขับเคลื่อน Driver (ไดรเวอร์) หรือชุดคำสั่งจากโปรแกรม Soft Ware (ซอฟแวร์) สำเร็จรูปก็ได้

2. software

2.1. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นโดยภาษาคอมพิวเตอร์จากนักเขียนโปรแกรม (Programmer)เนื่องจากคอมพิวเตอร์นั้นมีการทำงานตามขั้นลำดับ สำหรับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรเเกรมนั้นจะมีลักษณะรูปแบบโดยเฉพาะ ที่จะสามารถเข้าใจได้

2.2. ประเภทของซอฟต์แวร์

2.2.1. ซอฟต์เเวร์ระบบ (system software)

2.2.1.1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล

2.2.1.1.1. ระบบปฏิบัติการ หรือ โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น ดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)

2.2.1.1.2. ตัวแปลภาษา ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาโลโก

2.2.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

2.2.2.1. เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย

2.2.2.1.1. ซอฟต์แวร์สำเร็จ

2.2.2.1.2. ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

2.3. ประโยชน์ของซอฟต์แวร์

2.3.1. ซอฟต์แวร์เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานประเภทต่างๆได้ เช่น เข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ใช้งานประเภทโปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมด้านการคำนวณ โปรแกรมประมวลผลคำ หรือระบบจัดการต่างๆ ซึ่งตัวอย่างที่บอกมานี้ ช่วยให้การทำงานของพวกเราเป็นไปได้ง่ายดายขึ้น

3. พัฒนาการคอมพิวเตอร์

3.1. พัฒนาการคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น5ยุค

3.1.1. ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501

3.1.1.1. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

3.1.1.1.1. – ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง – ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น – เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

3.1.2. ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506

3.1.2.1. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

3.1.2.1.1. – ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น – เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) – มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS) – สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language) – เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

3.1.3. ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512

3.1.3.1. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

3.1.3.1.1. – ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก – ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า) – ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

3.1.4. ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532

3.1.4.1. ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

3.1.4.1.1. – ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก – มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

3.1.5. ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

3.1.5.1. ยุคที่ 5 พ.ศ.2533-ปัจจุบันเป็น ยุคปัญญาประดิษฐ์

3.1.5.1.1. องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์

3.2. บิดาแห่งคอมพิวเตอร์

3.2.1. ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage)

4. เทคโนโลยีสารสนเทศ

4.1. คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology: IT ) เรียกย่อว่า "ไอที" ประกอบด้วยคำว่า "เทคโนโลยี" และคำว่า"สารสนเทศ" นำมาร่วนกันเป็น"เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication Technology: ICT ) หรือเรียกย่อว่า "ไอซีที"

4.1.1. ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้ เทคโนโลยี ( Technology) หมายถึง การนำความมรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ สารสนเทศ ( Information) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผ่นแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล

4.1.2. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สามารถทำให้มนุษย์ทำงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ มากยิ่งขึ้น 2.ช่วยด้านการบริการ มีการใช้ระบบฐานข้อมูลในเครือข่าย ผู้ที่ต้องการใช้บริการก็จะสามารถ ใช้ระบบฐานข้อมูลจากสถานที่หรืเวลาใดก็ได้ 3.ช่วยดำเนินการในหน่วยงาน เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดระบบการทำงาน 4.ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น การรับข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการบันทึกข้อมูลรูปภาพด้วยกล้องดิจิทัล

4.1.3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บันทึกและจัดเก็บข้อมูล เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ในการประมวลผล การรวบรวมข้อมูล จะใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ เครื่องอ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องอ่านบาร์โค้ด การประมวลผล ข้อมูลที่รวบรวมจากอุปกรณ์รับข้อมูลและจากสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี จะถูกนำมาประมวลผลตามดปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด การแสดงผล เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปแสดงยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลการ แสดงผลลัพธ์อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ภาพ เสียง และสื่อประสมต่าง ๆ การสื่อสารและเครือข่าย เป็นการส่งข้อมูลและสารสนเทศที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่งเพื่อให้ คอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์สื่อสารสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์และ สารสนเทศร่วมกัน การเชื่อมต่ออาจผ่านทางสายโทรศัพท์ ทางอากาศ และสายเคเบิล

5. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

5.1. ผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)

5.2. ข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory)

5.3. จากนั้นจะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing)

5.4. นำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)

5.5. คอมพิวเตอร์มีหลักการทำงานอยู่ 4 ขั้นตอน

5.5.1. 1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น

5.5.2. 2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด

5.5.3. 3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

5.5.3.1. 3.1 หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ

5.5.3.1.1. (3.1.1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)

5.5.3.1.2. (3.1.2) หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)

5.5.3.2. 3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี

5.5.4. 4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น

5.6. ประโยชน์และโทษของคอมพิวเตอร์

5.6.1. ประโยชน์

5.6.1.1. ด้านการศีกษา : สร้างสื่อการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ ค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ศึกษาบทเรียนออนไลน์

5.6.1.2. ด้านความบันเทิง : สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงได้ เช่น เล่นเกมส์ ดูภาพยนตร์ ร้องเพลง ฟังเพลง เป็นต้น

5.6.1.3. ด้านติดต่อสื่อสาร : สามารถใช้คอมพิวเตอร์ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ และยังสามารถสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้

5.6.1.4. ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยในเรื่องการออกแบบงาน สร้างงานกราฟิกได้

5.6.1.5. ด้านการพิมพ์เอกสาร : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาสร้างงานด้านงานเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือนำเสนองานเป็นรูปเล่มได้

5.6.2. โทษ

5.6.2.1. เสียสุขภาพ

5.6.2.2. เกิดปัญหาสังคม

5.6.2.3. เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี

5.7. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

6. นวัตกรรม

6.1. องค์ประกอบของนวัตกรรม

6.1.1. 1.ความใหม่

6.1.2. 2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา

6.1.3. 3.มีประโยชน์

6.1.4. 4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้

6.2. ขั้นตอนของนวัตกรรม

6.2.1. 1.การคิดค้น (Invention)

6.2.2. 2.การพัฒนา ( Development)

6.2.3. 3.ขั้นนำไปใช้จริง(Implement)

6.2.4. 4.ขั้นเผยแพร่ ( Promotion)