นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา by Mind Map: นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

1. E-learning

1.1. e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น

1.1.1. การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning)

1.1.2. การเรียนออนไลน์ (On-line Learning)

1.1.3. การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์

1.2. e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา

1.3. การบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

1.4. e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต)

1.5. ประโยชน์ของ e-Learning

1.5.1. - ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่

1.5.2. - เข้าถึงได้ง่าย ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย

1.5.3. - ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว

1.5.4. - ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม

1.6. LMS

1.6.1. LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ

1.6.1.1. - ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม

1.6.1.2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media

1.6.1.3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

1.6.1.4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

1.6.1.5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin

2. E-book

2.1. 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบตำรา

2.1.1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปหนังสือปกติที่พบเห็นทั่วไป

2.1.1.1. มีการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้อ่านเช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดเลือก เป็นต้น

2.2. 2) หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือเสียงอ่าน

2.2.1. เมื่อเปิดหนังสือจะมีเสียง อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทเหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด

2.2.1.1. นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับลักษณะทางภาษาโดยเฉพาะด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข่างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่เป็นต้น

2.3. 3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง

2.3.1. เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณลักษณะหลักเน้นจัดเก็บข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก

2.3.1.1. มีการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้อ่าน เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ

2.4. 4) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว

2.4.1. เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้น การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ หรือภาพยนตร์สั้น ๆ ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้

2.4.1.1. ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น ภาพเหตุการณ์สงคราโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ

2.5. 5) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม

2.5.1. เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระ ในลักษณะแบบสื่อผสมระหว่างสื่อภาพ เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับสื่อประเภทเสียง

2.6. 6) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย

2.6.1. เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม แต่มีความหลากหลายในคุณลักษณะด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่บันทึกในลักษณะต่าง ๆ

2.6.1.1. เช่น ตัวหนังสือภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี และอื่น ๆ เป็นต้น

2.7. 7) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเชื่อมโยง

2.7.1. เป็นหนังสือที่มีคุณลักษณะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระภายในเล่ม ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิกเพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบเชื่อมโยงกันภายใน

2.8. 8) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ

2.8.1. เป็นหนังสือประสม แต่มีการใช้โปรแกรมชั้นสูงที่สามารถมีปฏิกิริยา หรือ ปฏิสัมพันธ์ กับผู้อ่านเสมือนหนังสือมีสติปัญญา (อัจฉริยะ) ในการไตร่ตรอง หรือคาดคะเนในการโต้ตอบ หรือปฏิกิริยากับผู้อ่าน

2.9. 9) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบสื่อหนังสือทางไกล

2.9.1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีคุณลักษณะหลักต่าง ๆ คล้ายกับ Hypermedia Electronic Books แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอกผ่านระบบเครือข่าย ( Online Information Sourcess) ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย

2.10. 10) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์เสปซ

2.10.1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีลักษณะเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ แบบที่กล่าวมาแล้วผสมกัน สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกสามารถนำเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลาย สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลาย

3. เว็บไซต์(Web site)

3.1. เว็บไซต์วาไรตี้ (Variety web)

3.1.1. บริการที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่มีสาระและบันเทิงหลากหลายประเภท เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ดูดวง ท่องเที่ยว IT เกม สุขภาพ หรืออื่นๆ นอกจากนั้นแล้วเว็บท่ายังมีลักษณะในการเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้คนในสังคมในเรื่องเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ซึ่งเรียกว่าเว็บชุมชน (community web) คือเป็นเว็บที่ให้บริการพื้นที่แก่กลุ่มคนผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นกัน

3.2. เว็บไซต์การศึกษา (Education site)

3.2.1. เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยสถาบันการศึกษา ต่าง ๆ ที่มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้ และให้โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษา บุคคลที่สนใจโดยทั่วไป รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษาด้วย นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้แก่ เว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา ห้องสมุด

3.3. เว็บไซต์ธุรกิจ (Business site)

3.3.1. มีจุดมุ่งหมายหลักในการประชาสัมพันธ์องค์กรและเพิ่มผลกำไรทางการค้า

3.4. เว็บไซต์ข่าว (NEWS site)

3.4.1. เพื่อนำเสนอข่าวและสาระที่เป็นการสรุปใจความสำคัญ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลและติดตามข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา

3.5. เว็บไซต์บันเทิง (Entertainment site)

3.5.1. เว็บไซต์มุ่งเสนอและให้บริการเพื่อเสริมสร้างความบันเทิง และให้บริการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความบันเทิง เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ดารา กีฬา ความรัก บทกลอน การ์ตูน เรื่องขำขัน รวมถึงการให้บริการดาวน์โหลดสื่อชนิดต่าง ๆ

3.6. เว็บไซต์ข้อมูล (Information site)

3.6.1. เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการสืบค้น ข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

3.7. เว็บไซต์ส่วนตัว (Personal Site)

3.7.1. เว็บไซต์ส่วนตัวอาจเป็นของบุคคลเดียว เพื่อนฝูง หรือครอบครัวก็ได้ โดยอาจจัดทำขึ้นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น แนะนำกลุ่มเพื่อน โชว์รูปภาพ แสดงความคิดเห็น

3.8. เว็บไซต์องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (None – profit organization site)

3.8.1. เป็นเว็บไซต์ที่มีนโยบายที่ช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังผลกำไรหรือค่าตอบแทน ได้แก่ สมาคม ชมรม มูลนิธิ

4. M-Learning

4.1. คือนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย

4.2. ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ

4.2.1. Notebook Computer

4.2.2. Portable computer

4.2.3. Tablet PC

4.2.4. Cell Phones

4.3. บทบาทของ M-Learning

4.3.1. M-Learning กำลังก้าวเข้ามาเป็นการเรียนรู้คู่กับสังคมอย่างแท้จริง เนื่องจากความเป็นอิสระ ของเครือข่ายไร้สาย ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

4.3.2. เป็นการเรียนรู้อีกทางเลือกหนึ่งของการนำเทคโนโลยี มาใช้เป็นช่องทางในการให้ผู้คนได้เข้าถึงความรู้

4.4. ผลกระทบต่อการศึกษาและการเรียนการสอน

4.4.1. ส่งผลให้การศึกษา เป็นไปได้โดยง่าย เพราะผู้เรียนสามารถที่จะเข้าถึงความรู้อย่างง่ายดายมากขึ้น

4.4.2. M-learning เหมาะที่จะนำมาใช้กับการศึกษาในสมัยปัจจุบันมากที่สุด เพื่อเป็น การเสริมความรู้ให้กับผู้เรียนอย่างทั่วถึง

5. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล

5.1. เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว

5.2. ตัวอย่างนวัตกรรมทางการประเมินผล

5.2.1. การพัฒนาคลังข้อสอบ

5.2.2. การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

5.2.3. การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา

5.2.4. การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด