พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พศ ๒๕๕๖

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พศ ๒๕๕๖ by Mind Map: พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔)          พศ ๒๕๕๖

1. ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลที่ ๙

2. ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

2.1. มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖”

2.2. มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2.3. มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยาม คําว่า “การแพทย์แผนไทย” “เวชกรรมไทย” “เภสัชกรรมไทย” “การผดุงครรภ์ไทย” และ “การแพทย์แผนไทยประยุกต์” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

2.4. มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยาม คําว่า “กิจกรรมบําบัด” “การแก้ไขความผิดปกติของ การสื่อความหมาย” “การแก้ไขการพูด” “การแก้ไขการได้ยิน” “เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก” “รังสีเทคนิค” “จิตวิทยาคลินิก” “กายอุปกรณ์” “การแพทย์แผนจีน” ระหว่างนิยาม คําว่า “การประกอบโรคศิลปะ” และนิยามคําว่า “ผู้ประกอบโรคศิลปะ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗

2.5. มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

2.5.1. “ มาตรา ๕ การประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้ (๑) สาขากิจกรรมบําบัด (๒) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (๓) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (๔) สาขารังสีเทคนิค (๕) สาขาจิตวิทยาคลินิก (๖) สาขากายอุปกรณ์ (๗) สาขาการแพทย์แผนจีน (๘) สาขาอื่นตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

2.6. มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

2.6.1. มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่น ดังต่อไปนี้