พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ by Mind Map: พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖

1. หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์

1.1. มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ กระทําการประกอบวิชาชีพยกเว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) การกระทําต่อตนเอง (๒) การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามหลักมนุษยธรรม (๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมของสถาบันการศึกษาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของรัฐหรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งสถาบันทางการแพทย์ของรัฐ (๔) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนด หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ (๕) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกระทําการ ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพ (๖) การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ (๗) หมอพื้นบ้าน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอให้หน่วยงานที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดเป็นผู้รับรอง

1.2. มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ใช้คําหรือข้อความด้วยอักษรไทยหรืออักษรต่างประเทศว่าแพทย์แผนไทย หรือใช้อักษรย่อของคําดังกล่าว

1.3. มาตรา ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คําหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เว้นแต่ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรว่าเป็นผู้มีความรู้ความชํานาญ ในการประกอบวิชาชีพซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กําหนดในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

1.4. มาตรา ๓๔ การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาติการออกหนังสืออนุมัติให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

1.5. มาตรา ๓๕ ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องสมัครเป็นสมาชิกแห่งสภาการแพทย์แผนไทย และมีคุณสมบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับสภา เมื่อใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง ส่งคืนใบอนุญาตต่อเลขาธิการ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสิ้นสุดสมาชิกภาพ

1.6. มาตรา ๓๖ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจํากัดและเงื่อนไขและต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

1.7. มาตรา ๓๗ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหาย เพราะการประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ มีสิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น โดยทําคํากล่าวหาเป็นหนังสือยื่นต่อสภา บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยทําคํากล่าวโทษเป็นหนังสือยื่นต่อสภา กรรมการมีสิทธิกล่าวโทษผ้ประกอบวิชาชีพว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยแจ้งเรื่องต่อสภาสิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่งหรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองหรือวรรคสามสิ้นสุดลง เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ และรู้ตัวผู้ประพฤติผิด ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นหรือแจ้งไว้แล้วนั้นไม่เป็นเหตุให้ระงับการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

1.8. มาตรา ๓๘ เมื่อสภาได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษตามมาตรา ๓๗ หรือในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติการณ์อันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับการประพฤติผิด เสนอเรื่องดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณโดยไม่ชักช้า

1.9. มาตรา ๓๙ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณจากสมาชิกประกอบด้วย ประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการนไม่น้อยกว่าสามคน มีอํานาจหน้าที่สืบสวนหาข้อเท็จจริง คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณเกินกว่าหนึ่งคณะก็ได้ ให้คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกําหนด ถ้ามีเหตุจําเป็นพิจารณาขยายระยะเวลาดําเนินการออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดเวลา

1.10. มาตรา ๔๐ เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นของคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณแล้ว ให้พิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ให้คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณสืบสวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา (๒) ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นมีมูล (๓) ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล

1.11. มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนจากสมาชิกประกอบด้วย ประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการไม่น้อยกว่าสามคน มีอํานาจหน้าท่ีสอบสวน สรุปผล เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนเกินกว่าหนึ่งคณะก็ได้ ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ที่กําหนดในวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกําหนด ถ้ามีเหตุจําเป็นขยายระยะเวลาดําเนินการออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน

1.12. มาตรา ๔๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและของคณะอนุกรรมการ สอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อนุกรรมการจรรยาบรรณและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มีอํานาจเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคําและมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใดๆ ส่งเอกสาร หรือวัตถุเพื่อประโยชน์แก่การดําเนินงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าว

1.13. มาตรา ๔๓ ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ พร้อมทั้งส่งสําเนาเรื่องที่กล่าวหาษไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันเริ่มทําการสอบสวน ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษมีสิทธิทําคําชี้แจงหรือนําพยานหลักฐานใด ๆ มาให้ คณะอนุกรรมการสอบสวน คําชี้แจงหรือพยานหลักฐานให้ยื่นต่อประธานอนุกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวันนับ หรือภายในกําหนดเวลาที่จะขยายให้

1.14. มาตรา ๔๔ เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสํานวนการสอบสวน พร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทําการสอบสวนเสร็จสิ้นและต้องไม่เกิน กําหนดเวลาตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม เพื่อให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด

1.15. มาตรา ๔๕ เมื่อคณะกรรมการได้รับสํานวนการสอบสวนและความเห็น ให้คณะกรรมการพิจารณาสํานวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสํานวน การสอบสวนเพิ่มเติมก่อนวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ และให้นําความในมาตรา ๔๑ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม คณะกรรมการมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ (๒) ว่ากล่าวตักเตือน (๓) ภาคทัณฑ์ (๔) พักใช้ใบอนุญาตแต่ไม่เกินสองปี (๕) เพิกถอนใบอนุญาต ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ คําวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามมาตรานี้ ให้ทําเป็นคําสั่ง สภาให้เป็นที่สุด

1.16. มาตรา ๔๖ ให้เลขาธิการแจ้งคําสั่งสภาตามมาตรา ๔๕ ไปยังผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ถูกกล่าวโทษเพื่อทราบภายในเจ็ดวัน และให้บันทึกข้อความตามคําสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อมทั้งแจ้งผลการวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษทราบด้วย

1.17. มาตรา ๔๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือซึ่งถูกสั่ง เพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็น ผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพ

1.18. มาตรา ๔๘ ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดกระทําการฝ่าฝืนตามมาตรา ๔๗ และถูกลงโทษจําคุก ตามมาตรา ๕๓ โดยคําพิพากษาถึงที่สุด

1.19. มาตรา ๔๙ ผู้ประกอบวิชาชีพอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แต่เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาคําขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธการออกใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคําขอรับ ใบอนุญาตในครั้งต่อๆ ไปได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันทคณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต

2. หมวด ๓ คณะกรรมการ

2.1. มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย (๑) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๒) กรรมการซึ่งหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือสาขาละสามคน (๓) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือสามคน (๔) หัวหน้าสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม เลือกกันเองให้เหลือจํานวนสามคน (๕) กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีจํานวนเท่ากับจํานวนกรรมการใน (๑) (๒) (๓) และ (๔) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงสัดส่วนของวิชาชีพตามมาตรา ๔

2.2. มาตรา ๑๖ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาได้ และให้มีอํานาจถอดถอน ที่ปรึกษาด้วย ให้ที่ปรึกษาดํารงตําแหน่งตามวาระของกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๕)

2.3. มาตรา ๑๗ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการจากมาตรา ๑๕ (๕) ภายในสามสิบวันนับจากวันเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๕) เพื่อดํารงตําแหน่งนายกสภา อุปนายก สภาคนที่หนึ่ง และคนที่สอง ตําแหน่งละหน่งคน ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเลือกและถอดถอนกรรมการเพื่อดํารงตําแหน่งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ และเหรัญญิก ตําแหน่งละหนึ่งคน และอาจเลือกกรรมการ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่งและคนที่สอง ดํารงตําแหน่งตามวาระของกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๕) เมื่อผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาการแพทย์แผนไทยพ้นจากหน้าที่ ให้เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก และผู้ดํารงตําแหน่งอื่นตามวรรคสองพ้นจากตําแหน่งด้วย

2.4. มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการ การเลือกตั้งกรรมการ การแต่งตั้งที่ปรึกษา การเลือกกรรมการเพื่อดํารงตําแหน่งต่าง ๆ และการเลื่อนหให้เป็นไปตาม ข้อบังคับสภา

2.5. มาตรา ๑๙ กรรมการตามมาตรา ๑๕ (๓) (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปน้ี (๑) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทยแผนไทยหรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (๒) เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอน (๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

2.6. มาตรา ๒๐ กรรมการตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) (๔) และ (๕) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับเลือก หรือเลือกตั้งใหม่ แล้วแต่กรณี แต่จะดํารงตําแหน่งไม่เกินสองวาระ ให้กรรมการที่พ้นจากตําแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกหรือเลือกตั้งใหม่

2.7. มาตรา ๒๑ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๕ (๓) (๔) และ (๕) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ (๑) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔ (๒) ขาดคณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ (๓) ลาออก กรรมการตามมาตรา ๑๕ (๒) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ (๑) พ้นจากตําแหน่งคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (๒) ลาออก

2.8. มาตรา ๒๒ เมื่อตําแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) และ (๔) ว่างลงก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการดําเนินการให้ได้มาภายในสามสิบวัน ในกรณีที่วาระของกรรมการตามวรรคหนึ่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน คณะกรรมการให้มี การเลือกกรรมการแทนหรือไม่ก็ได้ ให้ผู้ซึ่งเป็นกรรมการแทนนั้นอยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลือที่แทน

2.9. มาตรา ๒๓ เมื่อตําแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๕) ว่างลงไม่เกินหนึ่งในสามของจํานวน กรรมการดังกล่าวทั้งหมดก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการเลื่อนสมาชิกผู้มีคุณสมบัติและได้รับคะแนนจากการเลือกตั้งในลำดับถัดไปขึ้นเป็นกรรมการแทน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตําแหน่งกรรมการนั้นว่างลง ในกรณีที่ตําแหน่งกรรมการตามวรรคหนึ่งว่างลงรวมกันเกินหนึ่งในสามของจํานวนกรรมการ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้คณะกรรมการจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเก้าสิบ ในกรณีไม่มีผู้ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นกรรมการแทนตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ยังไม่ครบตามจํานวน ตําแหน่งกรรมการที่ว่างลง ให้นําความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าวาระของกรรมการตามวรรคหนึ่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันไม่ต้องเลื่อนหรือเลือกตั้งกรรมการแทนอยู่ในตําแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่

2.10. มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารและดําเนินกิจการสภาการแพทย์แผนไทยตามวัตถุประสงค์และอํานาจหน้าที่ที่กําหนด รวมทั้งการบริหารเงินรายได้ (๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณ คณะอนุกรรมการสอบสวน และคณะอนุกรรมการอื่น เพื่อทํากิจการหรือพิจารณาเรื่องต่าง ๆ (๓) กําหนดแผนการดําเนินงานและงบประมาณของสภา (๔) ออกข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วย (ก) การเป็นสมาชิก (ข) การกําหนดโรคตามมาตรา ๑๒ (๕) (ค) การกําหนดค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุง และค่าธรรมเนียมอื่น นอกจากที่กําหนดไว้ (ง) การเลือก การเลือกตั้งกรรมการ การเลื่อนผู้มีคุณสมบัติขึ้นเป็นกรรมการแทน การแต่งตั้งที่ปรึกษาและการเลือกกรรมการดํารงตําแหน่งต่าง ๆ (จ) การประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะที่ปรึกษา (ฉ) การกําหนดอํานาจหน้าที่ของผู้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๖ (ช) การกําหนดอํานาจหน้าที่ของผู้ดํารงตําแหน่งอื่นตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง (ซ) คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามมาตรา ๓๕ (ฌ) แบบและประเภทใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต (ญ) หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและแผนไทยประยุกต์ รวมทั้งหนังสือ แสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย (ฎ) หลักเกณฑ์การพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอน (ฏ) จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย (ฐ) การจัดตั้ง การดําเนินการ และการเลิกสถาบันที่ทําการฝึกอบรมเป็นผู้ชํานาญการของวิชาชีพการแพทย์แผนไทย รวมทั้งการกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการศึกษาต่อเนื่องของ การแพทย์แผนไทยเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะการประกอบวิชาชีพ (ฑ) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบความรู้ (ฒ) หลักเกณฑ์การสืบสวนกรณีที่มีการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและแผนไทยประยุกต์ (ณ) ข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพแผนไทยประยุกต์ (ด) เรื่องอื่น ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์หรืออยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภาโดยคํานึงถึงความสําคัญในการช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

2.11. มาตรา ๒๕ นายกสภาการแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่งและคนที่สอง เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก ที่ปรึกษา และผู้ดํารงตําแหน่งอื่น มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

2.11.1. ๑) นายกสภาการแพทย์แผนไทย มีอํานาจหน้าที่ (ก) บริหารและดําเนินกิจการของสภา หรือตามมติของคณะกรรมการ (ข) เป็นผู้แทนสภาการแพทย์แผนไทยในกิจการต่าง ๆ (ค) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ นายกสภาอาจมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน

2.11.2. (๒) อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่ง เป็นผู้ช่วยนายกสภาการแพทย์แผนไทย และเป็นผู้ทําการแทนนายก

2.11.3. (๓) อุปนายกสภาคนที่สอง เป็นผู้ช่วยนายกสภาการแพทย์แผนไทยและเป็นผู้ทําการแทนนายกสภาการแพทย์แผนไทย เมื่ออุปนายกคนที่หนึ่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

2.11.4. (๔) เลขาธิการ มีอํานาจหน้าที่ (ก) ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภา (ข) ควบคุมรับผิดชอบในงานธุรการทั่วไป (ค) รับผิดชอบในการดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก ทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพและทะเบียนอื่น ๆ (ง) ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสภาการแพทย์แผนไทย (จ) เป็นเลขานุการคณะกรรมการ

2.11.5. (๕) รองเลขาธิการ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการในกิจการอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของเลขาธิการตามที่ เลขาธิการมอบหมาย และเป็นผู้ทําการแทนเลขาธิการ

2.11.6. (๖) ประชาสัมพันธ์ มีอํานาจหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ แนะนํา และเผยแพร่กิจการของสภา

2.11.7. ๗) เหรัญญิก มีอํานาจหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการบัญชี การเงิน และการงบประมาณ

2.11.8. (๘) ผู้ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษามีอํานาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการกําหนด

2.11.9. (๙) ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง มีอํานาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการกําหนด

2.12. มาตรา ๒๖ ให้มีคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย มีอํานาจหน้าที่ องค์ประกอบ คุณสมบัติ และวิธีการได้มาตามข้อบังคับของสภา

2.13. มาตรา ๒๗ ให้มีคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์คณะหนึ่ง มีอํานาจหน้าที่ องค์ประกอบ คุณสมบัติ และวิธีการได้มาตามข้อบังคับของสภา

3. หมวด ๔ การดําเนินการของคณะกรรมการ

3.1. มาตรา ๒๘ การประชุมคณะกรรมการต้องมีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนทั้งหมดที่มีในขณะนั้น มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่ม มติของที่ประชุมในกรณีให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกห้ถือคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามที่มีอยู่ในขณะนั้น การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นําความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

3.2. มาตรา ๒๙ สภานายกพิเศษจะเข้าฟังและชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุม หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังสภานเรื่องใด ๆ ก็ได้

3.3. มาตรา ๓๐ มติของที่ประชุมคณะกรรมการในเรื่องดังต่อไปนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบ จากสภานายกพิเศษก่อน จึงจะดําเนินการตามมตินั้นได้ (๑) การออกข้อบังคับ (๒) การกําหนดแผนการดําเนินงานและงบประมาณของสภาการแพทย์แผนไทย (๓) การให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๔ (๔) (๔) การวินิจฉัยชี้ขาดให้พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม (๔) หรือ (๕) ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเสนอมติตามวรรคหนึ่งต่อสภานายกพิเศษโดยไม่ชักช้า สภานายกพิเศษอาจมีคําสั่งยับยั้งมตินั้นได้ ในกรณีที่มิได้ยับยั้งมติตามวรรคหนึ่ง (๑) ภายในสามสิบวัน หรือมิได้ยับยั้งมติตามวรรคหนึ่ง (๒) (๓) หรือ (๔) ภายในสิบห้าวัน ให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบมตินั้น ถ้าสภานายกพิเศษยับยั้งมติใด ให้คณะกรรมการประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบ ในการประชุมนั้นถ้ามีเสียงยืนยันมติไม่น้อยกว่าสองในสาม ก็ให้ดําเนินการตามมตินั้นได

4. หมวด ๖ พนังงานเจ้าหน้าที่

4.1. มาตรา ๕๐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดังต่อไปนี้ (๑) เข้าไปในสถานที่ทําการของผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้ (๒) เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจค้นเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดําเนินการกระทําผิดประกอบกับกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ เอกสารหรือวัตถุดังกล่าว จะทําให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม (๓) ยึดเอกสาร หรือวัตถุใด ๆ ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดําเนินคดีการกระทําความผิด ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอํานวยความสะดวก ตามสมควร

4.2. มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัว บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกําหนด

4.3. มาตรา ๕๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

5. หมวด ๗ บทกําหนดโทษ

5.1. มาตรา ๕๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๔๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

5.2. มาตรา ๕๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

5.3. มาตรา ๕๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๕ วรรคสาม หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๕๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

5.4. มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคําหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่ง ตามมาตรา ๔๒ โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

5.5. มาตรา ๕๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

6. การบังคับใช้พระราชบัญญัติ

6.1. มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖”

6.2. มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

6.3. มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

6.3.1. “การแพทย์แผนไทย” หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บําบัด รักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และให้หมายความรวมถึง การเตรียมการผลิตยาแผนไทย และการประดิษฐ์อุปกรและเครื่องมือทางการแพทย์

6.3.2. “การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ

6.3.3. “การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์” หมายความว่า การประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งศึกษาจากสถานศึกษา ที่สภาการแพทยแผนไทยรับรอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

6.3.4. “กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า กรรมวิธีที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย ที่สภาการแพทย์แผนไทยกําหนดหรือรับรอง แล้วแต่กรณี

6.3.5. “เวชกรรมไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผดุงครรภ์ไทย เภสัชกรรมไทย และการนวดไทย

6.3.6. “เภสัชกรรมไทย” หมายความว่า การกระทําในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงยาและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต

6.3.7. “การผดุงครรภ์ไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การส่งเสริม สุขภาพหญิงมีครรภ์ การป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การทําคลอด การดูแล การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพมารดาและทารกในระยะหลังคลอด

6.3.8. “วิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

6.3.9. “การนวดไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการนวดไทย

6.3.10. “การแพทย์พื้นบ้านไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ซึ่งสืบทอดกันมาในชุมชนท้องถิ่น

6.3.11. “ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยจากสภาการแพทย์แผนไทย

6.3.12. “ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและ รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย

6.3.13. “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของสภาการแพทย์แผนไทย

6.3.14. “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย

6.3.15. “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสภาการแพทย์แผนไทย

6.3.16. “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย

6.3.17. “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย

6.3.18. “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ

6.3.19. “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

6.4. มาตรา ๔ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบด้วย (๑) การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย หรือการแพทย์แผนไทยประเภทอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด (๒) การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

6.5. มาตรา ๕ ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้หมายความถึงการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้แทนสภาการแพทย์แผนไทย

6.6. มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมรวมทั้งออกระเบียบและประกาศใด ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใชบ้ ังคับได

7. หมวด ๑ สภาการแพทย์แผนไทย

7.1. มาตรา ๗ ให้มีสภาการแพทย์แผนไทยเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์และอํานาจหน้าที่ ตามที่บัญญัติ

7.2. มาตรา ๘ สภาการแพทย์แผนไทย มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมการศึกษา การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพ (๒) ควบคุม กํากับ ดูแล และกําหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพ (๓) ควบคุมความประพฤติ จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ (๔) ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย (๕) ให้คําปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย (๖) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก (๗) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก (๘) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ของประเทศไทย

7.3. มาตรา ๙ สภาการแพทย์แผนไทย มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ (๒) ออกคําสั่งตามมาตรา ๔๕ (๓) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันต่าง ๆ (๔) รับรองหลักสูตรสําหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชํานาญการในด้านต่างๆ ของวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบัน (๕) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทําการฝึกอบรมใน (๔) (๖) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ (๗) จัดทําแผนการดําเนินงานและรายงานผลการดําเนินงานเสนอต่อสภานายกพิเศษอย่างน้อยปีละครั้ง (๘) ดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการแพทย์แผนไทย (๙) บริหารกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ และอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ตลอดจนกิจการใด ๆ ของสภาการแพทย์แผนไทย

7.4. มาตรา ๑๐ สภาการแพทย์แผนไทยอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้ (๑) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน (๒) ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบํารุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ (๓) ผลประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพย์สินและกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดในมาตรา ๘ (๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้ (๕) ดอกของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)

7.5. มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีดํารงตําแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาการแพทย์แผนไทยและมี อํานาจหน้าที่ตามที่บัญญัติ

8. หมวด ๒ สมาชิก

8.1. มาตรา ๑๒ สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (๒) มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยดังต่อไปนี้ (ก) ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง โดยมีผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้และ ต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กําหนดไว้ หรือ (ข) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาจากสถาบันการศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองและต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กําหนด หรือ (ค) เป็นผู้ที่ส่วนราชการรับรองความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย โดยผ่านการประเมินหรือการสอบ ตามที่กําหนด (๓) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย (๔) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดในคดี (๕) ไม่เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กําหนด

8.2. มาตรา ๑๓ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกมีดังต่อไปนี้ (๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับสภา (๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใด คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับเรื่อง (๓) เลือก รับเลือก เฉพาะสมาชิกที่มีใบอนุญาต (๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติ

8.3. มาตรา ๑๔ สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ (๒) (๔) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะเห็นว่าเป็นผู้นํามาซึ่งความเสื่อมเสียตามมาตรา ๑๒ (๓) หรือ (๔) (๕) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๕) และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจํานวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่งคณะกรรมการกําหนด ลงความเห็นว่าไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ หรือต้องใช้เวลาเกินสองปี ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๕) แต่ยังไม่ถึงขนาดที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง (๕) คณะกรรมการอาจมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของสมาชิกผู้นั้นได้ โดยมีกําหนดเวลาแต่ไม่เกินสองปี และให้นําความในมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

9. บทเฉพาะกาล

9.1. มาตรา ๕๘ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นสมาชิกสภา

9.2. มาตรา ๕๙ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะส และใบอนุญาตนั้นยังคงใช้ได้ ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

9.3. มาตรา ๖๐ ให้นําความในมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับกับผู้ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ที่จะยื่น คําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

9.4. มาตรา ๖๑ ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้เลือกกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) (๔) และ เลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นนายกสภาการแพทย์แผนไทย อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประธานและรองประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย และประธานและรองประธาน คณะกรรมการวิชาชีพ และนายกสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งกรรมการตามวรรคหนึ่ง ทําหน้าที่เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิกและผู้ดํารงตําแหน่งอื่น ตามความจําเป็น การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๒) (๓) และ (๔) และการเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้กระทําให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ในวาระแรกห้ามมิให้ผู้ที่เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาดํารงตําแหน่งนายก สภาการแพทย์แผนไทย และเลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย ภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตําแหน่ง กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว

9.5. มาตรา ๖๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นํากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามกฎหมายว่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ต้องไม่เกินสองปี

9.6. มาตรา ๖๓ ให้ถือว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพหรือข้อจํากัดและเงื่อนไขใน การประกอบโรคศิลปะ ซึ่งได้กระทําก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่มีการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วย การประกอบโรคศิลปะ ในกรณีที่มีการดําเนินการกับผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพหรือข้อจํากัดและเงื่อนไข ในการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการดําเนินการดังกล่าว เป็นการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และการดําเนินการต่อไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้