1. แนวทางการรักษา
1.1. การทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง
1.2. การให้ยาตามแผนการรักษา
2. สาเหตุของโรค
2.1. พยาธิสภาพของโรคตามทฤษฎี
2.1.1. กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม เพราะการเปลี่ยนแปลงของกระดูกในภาวะกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม อาจส่งผลให้รากประสาทถูกกดเบียดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น ปุ่มกระดูกงอก และ/หรือเอ็นกระดูกสันหลังหนาตัวหรือมีหินปูนมาเกาะ
2.2. พยาธิสภาพของโรคตามอาการผู้ป่วย
2.2.1. ผู้ป่วยลื่นล้ม ศีรษะกระแทกฝาผนังในห้องนอน ทำให้หมดสติ
3. พยาธิสภาพ
3.1. พยาธิสภาพของโรคตามทฤษฎี
3.1.1. บาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นโรคที่พบได้บ่อย ก่อให้เกิด ภาวะกดทับไขสันหลังเป็นภาวะเร่งด่วนทางศัลยกรรมประสาท
3.2. พยาธิสภาพของโรคตามอาการผู้ป่วย
3.2.1. แพทย์วินิจฉัยให้เข้ารับการผ่าตัด หลังจากผ่าตัดมีผลทำให้ แขนทั้งสองข้างอ่อนแรง muscle power ระดับ 0 เคลื่อนไหวแขนไม่ได้ ร่วมกับไม่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อเลย
4. ข้อมูลทั่วไป
4.1. ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 63 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย
4.2. - ส่วนสูง 155 ซม. น้ำหนัก 61 กก. BMI 25.39 Percentile - T=36.6 องศาเซลเซียส - BP=140/70 มิลลิเมตรปรอท - P=92ครั้ง/นาที - R=20ครั้ง/นาที
4.3. อาการสำคัญ
4.3.1. แขนทั้งสองข้างอ่อนแรง muscle power ระดับ 0 เคลื่อนไหวแขนไม่ได้ ร่วมกับไม่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อเลย
5. การวางแผนการพยาบาล
5.1. ปัญหาที่ 1 บกพร่องในเรื่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้
5.2. ปัญหาข้อที่ 2 ผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ เนื่องจากสภาพความเจ็บป่วยเรื้อรัง
5.3. ปัญหาข้อที่ 3 ไม่สุขสบายเนื่องจากอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด จากการมีพยาธิสภาพของการได้รับบาดเจ็บไขสันหลังส่วนคอ
6. แพทย์วินิจฉัย
6.1. การซักประวัติของแพทย์ ญาติให้ประวัติว่า ก่อนนำส่งโรงพยาบาล ผู้ป่วยลื่นล้ม ศีรษะกระแทกกำแพง หมดสติ
6.2. การตรวจร่างกาย
6.3. -ผล X-Ray CERVICAL SPINE AP,LAPERAL
6.3.1. ผล X-Rayหลังผ่าตัด กระดูกคอเสื่อม มีหินปูนเกาะ เคยผ่าตัดแก้ไขแล้ว แต่ส่วนที่ไม่ได้ผ่าตัดก็ยังมีความผิดปกติดังกล่าวอยู่