โรคเก๊าท์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โรคเก๊าท์ by Mind Map: โรคเก๊าท์

1. การรักษา

1.1. รักษาโดยการใช้ยาเป็นหลัก ควบคู่กับการปฏิบัติตนเพื่อเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรค

1.1.1. ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs: NSAIDs)

1.1.2. ยาโคลชิซิน (Colchicine)

1.1.3. ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

1.2. สำหรับในบางกรณีอาจจะใช้วิธีผ่าตัดแทนการใช้ยา หากอาการของโรคนั้นรุนแรง

1.3. ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นได้ด้วยการหยุดเคลื่อนไหวบริเวณที่มีอาการปวดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังมีอาการ โดยพยายามยกบริเวณข้อต่อที่ปวดให้อยู่สูง หากมีอาการบวมแดงอาจบรรเทาด้วยการประคบน้ำแข็ง แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแอสไพริน

2. การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคเก๊าท์

2.1. หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่พอดี

2.2. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีความหวานมาก โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส

2.3. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ

2.4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล สัตว์ปีก

2.5. ผู้ที่มีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่ควรอดอาหารหรือลดน้ำหนักรวดเร็วจนเกินไป

3. ภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์

3.1. หากไม่รักษาป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคบ่อยมากขึ้น ไปจนถึงการเกิดก้อนโทฟี่หรือปุ่มนูนใต้ผิวหนังในหลายส่วนของร่างกาย

3.2. ปวดตามข้อ ข้อต่อบิดเบี้ยวจนผิดรูปไปจากเดิม

3.3. มีโอกาสเกิดนิ่วในไตจากการสะสมของผลึกยูเรตในระบบทางเดินปัสสาวะ

3.4. อาจนำไปสู่การทำงานของไตที่ปกติหรือเกิดภาวะไตวาย

4. อาการ

4.1. ปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่อ

4.2. ข้อต่อเกิดการอักเสบและติดเชื้อ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นกลายเป็นสีแดง บวม แสบร้อน

4.3. เคลื่อนไหวร่างการได้ไม่สะดวกจากภาวะข้อติด

4.4. ผิวหนังบริเวณข้อต่อเกิดการลอกหรือคัน

5. สาเหตุ

5.1. เป็นผลมาจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ทำให้เกิดการตกผลึกตามข้อต่าง ๆ จนเกิดอาการปวดบวมตามข้ออย่างรุนแรงและอาการอื่น ๆ ของโรคตามมา

5.2. กรดยูริกเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งในเลือดที่ได้มาจากการย่อยสลายสารพิวรีน (Purines) ในเนื้อเยื่อทั่วร่างกายและอาหารที่รับประทานเข้าไป

6. การวินิจฉัยโรคเก๊าท์

6.1. การเจาะข้อ แพทย์จะนำเข็มเจาะบริเวณข้อที่มีอาการ เพื่อดูดเอาน้ำในข้อออกมาตรวจดูการสะสมของผลึกยูเรต (Urate Crystals)

6.2. การตรวจเลือด แพทย์อาจจะให้มีการเจาะเลือด เพื่อตรวจวัดระดับของกรดยูริกและสารครีเอตินินว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่

6.3. การเอกซเรย์ การถ่ายเอกซเรย์บริเวณข้อที่มีอาการ เพื่อตรวจดูว่าเกิดการอักเสบตามข้อหรือไม่

6.4. การอัลตราซาวด์ จะช่วยตรวจพบการสะสมของผลึกยูเรตตามข้อจนเป็นปุ่มนูนหรือก้อนที่เรียกว่า โทฟี่ (Tophi)

6.5. การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูกรดยูริกที่ปะปนในน้ำปัสสาวะ