เทคโนโลยีนวัตกรรม และสื่อการศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีนวัตกรรม และสื่อการศึกษา by Mind Map: เทคโนโลยีนวัตกรรม และสื่อการศึกษา

1. ความหมายเทคโนโลยี เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อการศึกษา

1.1. ความหมายของเทคโนโลยี

1.1.1. การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการ กระบวนการ ตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆให้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตลอดจนเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน

1.2. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

1.2.1. เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาระยุกต์ใช้สร้างประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ

1.3. ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

1.3.1. คือการทำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำหรือ สิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน

1.4. ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษากับเทคโนโลยีการสอน

1.4.1. แตกต่างกันที่จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีการศึกษานำมาใช้ในการศึกษา ส่วนเทคโนโลยีการสอนนำมาใช้แก้ปัญหาในการเรียนการสอน ซึ่งเทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบใหญ่ที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการและการเรียนการสอนส่วนเทคโนโลยีการสอน มุ่งเฉพาะการสอนเท่านั้น และเป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของเทคโนโลยีการศึกษา

2. ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

2.1. ความเป็นมาและพัฒนาการของการออกแบบการสอน(Instructional Design Roots)

2.1.1. การออกแบบการสอนได้รับความสนใจตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 โดยเริ่มจากทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม ต่อมาทฤษฎีประมวลสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในช่วงนี้ก็จะเน้นการออกแบบที่เชื่อมโยงถึงกระบวนการทาง ปัญญาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถประมวลผลสารสนเทศที่ได้รับเข้าไปเก็บไว้อย่างเป็นหน่วยความจำและสารมารถเรียกกลับมาใช้ได้โดยไม่ลืม

2.2. ความเป็นมาและพัฒนาการของสื่อการเรียนการสอน(Instructional Media Roots)

2.2.1. การศึกษาทางสื่อเริ่มประมาณปลายสงครามโลกครั้งที่2และดำเนินการต่อเนื่อง สื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งกว้างขวางกว่าแนวคิดเดิมเช่นเดียวกับการออกแบบการสอนที่พัฒนาไป เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในสาขาวิชา และศาสตร์ทางด้านสื่อได้เติบโตพร้อมทั้งมีความเชื่อมโยงกับการออกแบบการสอน (Instructional design) และการสื่อสาร(Communication)

2.3. คอมพิวเตอร์เพื่อการสอน(Instructional Computing Roots)

2.3.1. คอมพิวเตอร์มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับนวัตกรรมการศึกษา(Innovations)ในปัจจุบัน ในช่วงปลาย ทศวรรษ 1980 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ การเรียนการสอนได้ล้มเลิกแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ และแยกมาจัดตั้งเป็นสาขาทางการศึกษาใหม่โดยนำแนวคิดการบูรณาการลงในหลักสูตร รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบริบทของเนื้อหาวิชา

2.4. เทคโนโลยีการสอนในปัจจุบัน

2.4.1. เริ่มมีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอนกันแล้ว นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสอน และทำให้ห้องเรียนเป็นห้องปฏิบัติการทดลองด้วย ซึ่งมีบุคคลหลากหลายที่ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการศึกษาขึ้นมา ดังนั้น วิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมที่แท้ และทฤษฎีการเรียนรู้โดยเฉพาะได้เริ่มนำเข้ามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางการสอน

3. ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

3.1. การออกแบบ (Design)

3.1.1. เป็นขอบข่ายที่แสดงให้เห็นถึงกรอบหรือโครงร่างที่แสดง เชื่อมโยงระหว่างหลักการและทฤษฎีพื้นฐานต่างๆ ที่จะนำไปสร้างและพัฒนางานทางด้าน เทคโนโลยีและสื่อการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

3.2. การพัฒนา (Development)

3.2.1. เป็นขอบข่ายของการสร้างผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของสื่อ ต่างๆโดยนำพื้นฐานที่ได้ออกมาพัฒนาเป็นสื่อที่อาศัยคุณลักษณะของสื่อต่างๆ คือ สิ่งพิมพ์เทคโนโลยีด้านโสตทัศน์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีบูรณาการ

3.3. การใช้ (Utilization)

3.3.1. เป็นขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการนำสื่อที่พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงถึงความง่ายในการใช้งานระหว่างผู้เรียนและสื่อการสอน หรือระบบที่เกี่ยวข้อง

3.4. การจัดการ (Management)

3.4.1. เป็นขอบข่ายหลักสำคัญ จะต้องนำไปสนับสนุนในทุกๆขอบข่ายซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบและแนะนำ หรือการจัดการทรัพยากรทางการเรียนรู้ซึ่ง ประกอบด้วยการจัดการในด้านต่างๆคือการจัดการโครงการ การจัดการทรัพยากรการจัดการ ระบบขนส่งและการจัดการสารสนเทศ

3.5. การประเมิน (Evaluation)

3.5.1. ขอบข่ายด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับการประเมินเพื่อปรับปรุง (Formative Evaluation) ในการประเมินนั้นจะมุ่งเน้นการประเมินทั้งกระบวนการและผลิตภัณฑ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ตลอดทั้งคุณภาพของสื่อที่ออกแบบขึ้นมา

3.6. ขอบข่ายของกระบวนการและแหล่งเรียนรู้(Process and Resource

3.6.1. กระบวนการ(Process) ในที่นี้ หมายถึง ลำดับของการปฏิบัติการหรือกิจกรรมที่มีผลโดย เทคโนโลยีการสอน ประกอบด้วยทั้งด้านการออกแบบ และกระบวนการส่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้ กระบวนการ

3.6.2. แหล่งการเรียนรู้(Resources) เป็นแหล่งที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนรวมถึงสนับสนุนระบบ และวัสดุการสอนตลอดจนสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีการศึกษาสาขาวิชา แหล่งการเรียนรู้รวมถึงงบประมาณบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลได้

3.6.3. การเรียนรู้(Learning) เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่เป็นเกณฑ์หรือ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในด้านความรู้ของบุคคลหรือ พฤติกรรม รวมถึงประสบการณ์ต่างๆ

4. บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา

4.1. เทคโนโลยีและสื่อการศึกษาเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูจำเป็น จะต้องใช้เพื่อการสอนและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน(Learningprocess) ดังนั้นครูจำเป็นต้องมีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาในโรงเรียน