การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ by Mind Map: การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. 1. เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน ( Personal Area Network: PAN ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย

1.2. 2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน ( Local Area Network: LAN ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย ( home network ) โดยอาจเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง หรือมากกว่า เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะองค์กร การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพกับองค์กรมากที่สุด

1.3. 3. เครือข่ายนครหลวงหรือแมน (Metropolitan Area Network: MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่มีอยู่และมีระยะทาง (Campus Area Network: CAN) ซึ่. เครือข่ายนี้สามารถใช้เครือข่ายนี้ได้ กำหนดเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระยะทาง 100 กิโลเมตร

1.4. 4. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network: WAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสารหรือสามารถนำเครือข่ายท้องถิ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบธนาคารทั่วโลก หรือเครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น

1.4.1. 1 . เครือข่ายส่วนตัว (private network)

1.4.1.1. เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของ ข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ

1.4.2. 2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network)

1.4.2.1. หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้

2. อุปกรณืที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.1. โมเด็ม (โมเด็ม)

2.1.1. เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้สัมผัสกับโลกภายนอกได้ย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก ไมเด็มจะเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอบ (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็ก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

2.2. โมเด็ม dial-up ( แบบ Dial-Up)

2.2.1. เป็นโมเด็มแบบอนาล็อกที่ใช้ในการรับสัญญาณผ่านระบบโทรศัพท์ธรรมดาเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีการเรียกเลขหมายจากผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP) ด้วยมาตรฐานล่าสุดที่ใช้กัน ในปัจจะบันคือ V.92 ซึ่งให้อัตราบิตหรืออัตราความเร็วใน การรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56 / 33.6 กิโลบิตต่อวินาที (รับข้อมูลขาลงจากอินเทอร์เน็ตหร ที่ดาวน์โหลดหนังสืออค ามเร็ว 56 Kbps และส่งข้อมูลขาขึ้นอัปโหลดที่ ความเร็ว 33.6 Kbps)

2.3. ADSL Mod (High-Speed Internet)

2.3.1. เป็นโมเด็ม แบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกัน ด้วยระบบเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์แบบธรรมดา โดยเลือกใช้ย่านความถึ่ที่ไม่มีในการใช้งานอินเทอร์เน็ต อึกทั้งเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น จีพีอาร์เอส (GPRS) , เอจ (EDGE) , สามจี (3G) ส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 286.8 กิโลบิตต่อวินาที , 4จี (4G) ส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 100Mbps/50Mbps

2.4. การ์ดแลน (Lan card)

2.4.1. คือ การ์ดที่จะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก กาณ์ดแลนจะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เน็ตเวอร์กอื่นๆ ที่อยู่บนเครือข่าย/เน็ตเวิร์ก ช่วยให้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเข้าหากันเป็นเครือข่ายได้เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต เรียกเครือข่ายแบบนี้ว่า "เครือข่าย LAN" ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้ข้อมูลและทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งหมด ปัจจุบันการ์ดแลน (Lan Card) เริ่มมีความจำเป็นในการใช้งานน้อยลงเพราะว่าเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมี Lan On Bord มาในตัว การ์ดแลนจึงเป็นสิ่งจำเป็นของคอมพิวเตอร์รุ่นก่อนๆ ที่ไม่มี LAN มาในตัวเท่านั้น

2.5. ฮับ ​​(ฮับ)

2.5.1. เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อสายเคเบิลของเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยทั่วไปจะมีลักษณะเหมือนกล่องสี่เหลี่ยม แต่แบนมีความสูงประมาณ 1 - 3 นิ้วแล้วแต่รุ่นที่มีช่องเล็ก ๆ ควรใช้สาย LAN Hub 4 พอร์ต, 8 พอร์ต, 16 พอร์ต, 24 พอร์ตหรือ 48 พอร์ตเป็นต้น

2.6. สวิตซ์ (สวิตช์) สวิตช์สวิตช์ Hub (Switched Hub) สวิตซ์ฮับ

2.6.1. สวิตซ์ (Switch) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่เลเยอร์ที่ 2 Switch บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ ในช่วงแรกนั้นเพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ก็มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง Switch จะฉลาดกว่า Hub คือ Switch สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน ด้วยข้อดีนี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ๋จะนิยมใช้ Switch มากกว่า Hub เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย

2.7. เราเตอร์ (Router)

2.7.1. คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมาย คำว่า Router ก็คือ ถนนนั่นเอง หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่นทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้

3. การสื่อสารข้อมูลที่ดี

3.1. การสื่อสารข้อมูลเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆ เป็นช่องทางในการสื่อสาร เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์ ภาพวาด จดหมาย โทรเลข เป็นต้น ต่อมาการสื่อสารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มา ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์อีกด้วย

4. องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร

4.1. 1. ผู้ส่ง (Sender)

4.1.1. เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น

4.2. 2. ผู้รับ (Receiver)

4.2.1. เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

4.3. 3. สื่อกลาง (Medium)

4.3.1. หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม

4.4. 4. ข้อมูลข่าวสาร (Message)

4.4.1. คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้ 4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง 4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ 4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป 4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป

4.5. 5. โปรโตคอล (Protocol)

4.5.1. คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

5. ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

5.1. การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยมนุษย์ใช้ภาษาเป็นสื่อในการส่งข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยมีอากาศเป็นตัวกลาง ซึ่งในภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันนั้น จะต้องมีข้อตกลงกันว่าแต่ละสัญลักษณ์ หรือคำพูด แทนหรือหมายถึงสิ่งใด มนุษย์ได้คิดค้นวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การใช้สัญญาณควันไฟของชาวอินเดียแดง หรือการใช้ม้าเร็วในการส่งสาส์น จนกระทั่งพัฒนามาเป็นการใช้โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต