การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ by Mind Map: การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. ความหมาย

1.1.1. ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน

1.2. ประเภทของระบบเครือข่าย

1.2.1. ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

1.2.1.1. เป็นเครือข่ายระยะใกล้ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

1.2.2. ะบบเครือข่ายระดับเมือง

1.2.2.1. เป็นเครือข่ายขนาดกลางที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียงกัน เช่น ระดับเคเบิ้ลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไป การฝากถอนเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม เป็นต้น

1.2.3. ระบบเครือข่ายระดับประเทศ

1.2.3.1. เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ใช้ติดต่อบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม และการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็จัดว่าเป็นการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายระดับประเทศด้วย

1.3. โครงสร้างเครือข่าย

1.3.1. เครือข่ายแบบดาว (Star Topology)

1.3.2. เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)

1.3.3. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)

2. อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบสื่อสารข้อมูลสำหหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.1. 1.) ฮับ (Hub)

2.1.1. เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับ-ส่งแบบอินเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่ “แอดเดรส” (Address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเกจ

2.2. 2.) อุปกรณ์สวิตซ์ (Switch)

2.2.1. สวิตซ์เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับ-ส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตซ์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเกจมาตรวจสอบก่อน แล้วมาดูว่าแอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตซ์จะนำแพ็กเกจหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานีเป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตซ์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล เพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย

2.3. 3.) อุปกรณ์จัดเส้นทาง (Router)

2.3.1. ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้น จึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมให้ เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การสื่อสารข้อมูลที่ดี

3.1. 1. รู้จักตัวเอง

3.2. 2. รู้จักและเข้าใจผู้ฟัง

3.3. 3. พูดให้ตรงประเด็น ชัดเจน และเจาะจง

3.4. 4. ให้ความสำคัญกับภาษากาย และสีหน้าหน้าท่าทาง

3.5. 5. ฟังมากกว่าพูด

4. ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

4.1. การส่งเนื้อหาที่อยู่ในรูปตัวเลขฐานสองที่เกิดจากอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

5. องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร

5.1. 1. ผู้ส่ง (Sender)

5.1.1. ป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) ฯลฯ ทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่สร้างข้อมูล เช่น

5.2. 2. ผู้รับ (Receiver)

5.2.1. ป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

5.3. 3. สื่อกลาง

5.3.1. เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม

5.4. 4. ข้อมูลข่าวสาร (Message)

5.4.1. 4.1 ข้อความ (Text)

5.4.1.1. ช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น

5.4.2. 4.2 ตัวเลข (Number)

5.4.2.1. ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง

5.4.3. 4.3 รูปภาพ (Images)

5.4.3.1. ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ

5.4.4. 4.4 เสียง (Audio)

5.4.4.1. ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป

5.4.5. 4.5 วิดีโอ (Video

5.4.5.1. ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป

5.5. 5. โปรโตคอล (Protocol)

5.5.1. วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้