การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ by Mind Map: การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. 2. มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)

1.1.1. 2.1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point)

1.1.2. 2.2 เสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งาน ไม่เต็มที่

1.1.3. 2.3. คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator) เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง

1.1.4. 2.4. คอนโทรลเลอร์(Controller) เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี

1.2. 1. โมเด็ม (MODEM)

1.2.1. 1.1. ย่อมาจาก Modulator – DEModulator

1.2.2. 1.2. ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับเป็นอนาลอก และแปลงกลับเป็นข้อมูลดิจิตอลเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง

1.3. 3. ฮับ (HUB)

1.3.1. 3.1. เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

1.3.2. 3.2. เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทาง

1.3.3. 3.3. นิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

1.3.4. 3.4. ราคาต่ำ

2. การสื่อสารข้อมูลที่ดี

2.1. 1. เริ่มจากการฝึกวางความคิดให้เป็นระบบง่ายๆ ก่อน เพราะการที่ผู้นำจะสื่อสารให้ชัดเจนได้ ต้องมาจากการคิดที่ชัดเจนก่อน เพราะเมื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ง่ายๆ การโน้มน้าวก็จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2. 2. ใช้วิธี สื่อสารที่แตกต่าง กันไปตามเรื่อง, สถานการณ์, เวลา เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication), การสื่อสารในองค์กร (Internal Communication), การสื่อสารกับลูกค้าที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (Stakeholder Communication) นั้นสำคัญอย่างยิ่ง ต้องใช้วิธี เข้าใจสถานการณ์ และเลือกเวลาให้เหมาะสมที่สุด

2.3. 3. การตั้งใจฟังอย่างเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นสื่อสาร ผู้นำที่ดีจะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจก็ต้องเข้าใจคนอื่นก่อน ต้องเข้าใจสารที่ผู้สื่อสารกำลังสื่อ ไม่คิดไปเอง ถ้าเข้าใจแล้ว ผู้นำก็จะสื่อสารได้ตรงประเด็นยิ่งขึ้น

2.4. 4. Two way communication ผู้นำที่ดีควรเรียนรู้วิธีการใช้คำถามแบบปลายเปิด เช่น ทำไม, เพราะอะไร, อย่างไร ไม่ควรใช้คำถามปลายปิด เพราะไม่เกิดประโยชน์ หากเราใช้คำถามถูก จะเกิดการตอบรับที่ดีและต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพ

2.5. 5. ใช้ช่องทางสื่อหรือเครื่องมือให้เหมาะสม ด้วยยุคปัจจุบัน ผู้นำที่ดีควรเลือกให้เหมาะสม ไม่ว่า Social Media, Direct Communication หรือ อื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของแต่ละกลุ่มที่ต้องการสื่อสาร

2.6. 6. เอาใจเขามาใส่ใจเรา หลีกเลี่ยงคำพูด ประชดประชัน กระทบกระเทียบ แดกดัน มีแต่สร้างความขัดแย้งไม่เกิดประโยชน์ มีแต่ผลเสียตามมา

2.7. 7. ภาษากายเป็นเรื่องสำคัญ ไม่พูดแทรก ไม่ตัดบทหรือเปลี่ยนเรื่องทันที รอให้ผู้อื่นสื่อสารจบ ผู้นำที่ดีควรใช้ภาษากายแสดงออกว่าตั้งใจฟังอยู่ เช่น สบตาแบบมีไมตรี ยิ้ม พยักหน้าเบาๆ ให้เกียรติผู้สื่อสารก่อนเสมอ

2.8. 8. รักษาวาจาสัตย์ เทคนิคการสื่อสารนี้สำคัญมากๆ เหมือนคำที่ว่า “กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ” ผู้นำที่ดีต้องรักษาคำพูด พูดแล้วควรต้องทำ และทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีเสมอ

3. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

3.1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เกิดจากการสื่อสารข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลทั่วไปในการเชื่อมต่อสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยในการเชื่อมต่อนั้น ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

3.1.1. 1. จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย

3.1.2. ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นขณะนี้กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของหัวเรื่อง: การสื่อสารสูงสุดต่ำ เนื่องจากคุณต้องมีหัวเรื่อง: การแบ่งหัวเรื่อง: การใช้สื่อนำ Thailand ข้อมูลโดย หลายเครื่องคอมพิวเตอร์ ในห้างหุ้นส่วนจำกัดทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้างหุ้นส่วนจำกัดเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง

3.1.3. 2. สื่อนำข้อมูล (transmission medium)

3.1.4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่า นั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม

3.1.5. 3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (hardware)

3.1.6. การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน

3.1.7. 4. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (software)

3.1.8. โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำ หน้าที่ส่ง ข้อมูล รับข้อมูล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวกลางใน การติดต่อสื่อสารโปรกแรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลที่ดีสามารถทำ ให้สื่อสารข้อใมูลได้

4. ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

4.1. การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

5. องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร

5.1. 1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น

5.2. 2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

5.3. 3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม

5.4. 4. ข้อมูลข่าวสาร (ข้อความ) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปยังระบบ สารสนเทศแบบมีส่วนร่วม โดยแบ่งเป็น 5 รูปแบบ

5.4.1. 4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น

5.4.2. 4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง

5.4.3. 4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ

5.4.4. 4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป

5.4.5. 4.5 วิดีโอ (วิดีโอ) ใช้ภาพประกอบภาพ หลาย รูป

5.5. 5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น