การทำหมันหญิง

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การทำหมันหญิง by Mind Map: การทำหมันหญิง

1. ข้อดีของการทำหมันหญิง

1.1. 1.การทำหมันหญิงเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการวางแผนครอบครัว

1.2. 2.เป็นวิธีที่ประหยัด สะดวก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการคุมกำเนิด ไม่ต้องกลัวลืมรับประทานหรือฉีดยาคุมกำเนิด และไม่ต้องเสียเวลาในการเข้ารับบริการการคุมกำเนิด

1.3. 3. เนื่องจากไม่ใช่วิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน จึงช่วยลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนได้

1.4. 4. ไม่ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์

1.5. 5. ไม่มีผลต่อการให้นมบุตร

2. ข้อเสียของการทำหมันหญิง

2.1. 1. ผู้เข้ารับการผ่าตัดทำหมันจะมีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง

2.2. 2. หากการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ล้มเหลว จะมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้สูง

2.3. 3. ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

3. ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการทำหมันหญิง

3.1. 1. อวัยวะข้างเคียงภายในอาจได้รับบาดเจ็บร่วมด้วย เช่น มดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้

3.2. 2. อาจเกิดภาวะเสียเลือด ในระหว่างการผ่าตัด

3.3. 3. การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

3.4. 4. หลังการทำหมันอาจเกิดอาการดังต่อไปนี้ได้ประมาณ 2-4 วัน ได้แก่ เจ็บไหล่ แสบคอ ท้องใหญ่และเกร็งหน้าท้อง อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด และมีตกขาว

3.5. 5. ในบางรายอาจพบว่ามีอาการปวดท้องน้อย ส่วนมากแล้วจะเป็นอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังหรือปวดพอรำคาญ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีพังผืดบริเวณที่ตัดผูกท่อนำไข่ แต่ไม่พบว่าเป็นอันตรายแต่อย่างใด

3.6. 6. ในบางรายอาจพบว่ามีอาการแพ้ยาชาหรือยาดมสลบ หรือมีปัญหาต่อระบบไหลเวียนเลือดและการหายใจในกรณีที่ได้รับการดมยาสลบ

3.7. 7. การตั้งครรภ์นอกมดลูก

3.8. 8. ผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น การแพ้ยา การติดเชื้อ ปอดบวม โรคแทรกซ้อนทางหัวใจ เป็นต้น

4. คำแนะนำหลังทำหมันหญิง

4.1. 1.ห้ามเปิดแผลและระวังมิให้แผลผ่าตัดถูกน้ำ เพราะจะทำให้แผลมีการติดเชื้อและเกิดอักเสบได้ เช่น การงดการอาบน้ำ ให้เช็ดตัวแทนจนกว่าจะตัดไหม

4.2. 2.ตัดไหมหลังทำผ่าตัดหมัน 7 วัน

4.3. 3.มาตรวจตามแพทย์นัด

4.4. 4.งดเพศสัมพันธ์ประมาณ 6-8 สัปดาห์ (หรือตามคำแนะนำของแพทย์) เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในโพรงมดลูก

5. การคุมกำเนิดชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เป็นวิธีที่ประหยัด ปลอดภัย มีอัตราการล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์น้อยมาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว และเกิดจากการตัดสินใจร่วมกันทั้งสามีและภรรยา รวมถึงผู้ที่มีข้อห้ามในการตั้งครรภ์ โดยจะเป็นการทำให้ท่อนำไข่ (Fallopian Tube) อุดตัน โดยการใช้ไฟฟ้าจี้ (D), ผูกและตัด (A), ใช้คลิปหนีบ (C), หรือใช้วงแหวนพลาสติก (B) รัดทางเดินของท่อนำไข่

6. ผู้ที่ไม่เหมาะจะทำหมันหญิง

6.1. 1.ผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะมีลูกหรือไม่ในอนาคต หรือผู้ที่ยังต้องการมีลูกอีกในอนาคต

6.2. 2.ผู้ที่อายุยังน้อย

6.3. 3.ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคปอด

6.4. 4.ผู้ที่มีภาวะการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานหรือมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง หรือเป็นวัณโรคช่องท้อง มีภาวะไส้เลื่อนที่หน้าท้องหรือกะบังลม มีการติดเชื้อที่ผิวหนังหน้าท้องบริเวณที่จะผ่าตัด หรือมีพังผืดในช่องท้องมาก

6.5. 5.ผู้ที่เคยผ่าตัดในช่องท้องมาแล้วหลายครั้ง หรือมีก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ในท้อง

7. ข้อจำกัดในการทำหมันหญิง

7.1. 1.ต้องเข้ารับการผ่าตัดในห้องผ่าตัด และทำการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้มีความรู้และความชำนาญในการผ่าตัดทำหมัน

7.2. 2.ต้องใช้ยาระงับปวดและยาดมสลบในระหว่างการผ่าตัด

7.3. 3.ผู้เข้ารับการผ่าตัดทำหมันจะมีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง

7.4. 4.ในบางรายที่เคยผ่าตัดในช่องท้องมาก่อนอาจจะมีพังผืดมาก หรือรายที่มีก้อนเนื้องอกบริเวณท่อนำไข่

7.5. 5.ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดทำหมันจะต้องไม่มีภาวะแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

7.6. 6.ผู้ที่มีการเสียเลือดมากจากการคลอดจนความดันโลหิตต่ำ

8. ตำแหน่งของการทำหมันหญิง

9. รูปแบบและหลักการทำหมันหญิง

9.1. 1. การทำหมันเปียก

9.1.1. การทำหมันหลังคลอด

9.1.1.1. โดยทั่วไปจะทำภายใน 48 ชั่งโมงหลังคลอด เนื่องจากมีความสะดวก ผ่าตัดง่ายและไม่เสียเวลาอยู่โรงพยาบาลนานกว่าการคลอดตามปกติ หากจำเป็นอาจทำหลังจากนี้ได้ แต่ไม่ควรเกิน 7 วันหลังคลอด

9.1.2. การทำหมันหลังแท้ง

9.1.2.1. สามารถทำได้ทันทีหลังการแท้งที่ไมมี่ภาวะแทรกซ้อน

9.2. 2.การทำหมันแห้งหรือการทำหมันหญิงในขณะที่ไม่ตั้งครรภ์

10. วิธิการทำหมันหญิง

10.1. 1.การผ่าตัดหน้าท้อง (Laparotomy)

10.1.1. การลงแผลผ่าตัดบริเวณเหนือหัวหน่าว จากนั้นหาท่อนำไข่เพื่อทำการผูกและตัด (A) ท่อนำไข่บางส่วนออกทั้ง 2 ข้าง

10.1.2. จัดท่านอนหงาย ให้ยาชาเฉพาะที่

10.1.3. ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที

10.2. 2.การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopy)

10.2.1. เป็นการใช้จี้ไฟฟ้าจี้ท่อนำไข่ร่วมกับตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออกบางส่วน หรือใช้อุปกรณ์รัดท่อนำไข่ ใช้คลิปหนีบท่อนำไขทั้ง 2 ข้างให้เกิดการอุดตัน

10.2.2. จัดท่านอนศรีษะต่ำ และดมยาสลบ

10.2.3. ห้ามทำในบุคคลที่มีโรคหัวใจหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบไหลเวียน

10.3. 3.) การทำหมันแบบ Essure

10.3.1. เป็นการสกัดกั้นไม่ให้ไข่กับสเปิร์มมาเจอกัน โดยใช้วัตถุขนาดเล็กที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือนิกเกิลที่มีลักษณะเป็นขดลวด 2 ขด (ข้างละ 1 ขด) สอดเข้าไปในท่อนำไข่ โดยใช้กล้องส่องตรวจโพรงมดลูก ใส่เข้าไปทางช่องคลอด ผ่านปากมดลูก ซึ่งกล้องที่ใส่เข้าไปนี้สามารถหมุนเข้าไปอุดท่อนำไข่ได้ เพื่อสร้างปฏิกิริยากระตุ้นให้ร่างกายสร้างพังผืดขึ้นมาปิดท่อนำไข่

10.3.2. ใช้เวลาในการทำประมาณ 5 นาที , ไม่ต้องพักฟื้น

10.3.3. ผู้ทำหมันสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อรอให้ร่างกายสร้างพังผืดขึ้นมาปิดท่อรังไข่ได้ทั้งหมดก่อน

10.4. 4.) การทำหมันโดยการตัดมดลูกในเพศหญิง (Hysterectomy)

10.4.1. เป็นการผ่าตัดเพื่อเอามดลูกออกไปจากร่างกาย แต่ไม่ได้หมายความรวมถึงการตัดรังไข่ออกด้วย ซึ่งเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้แบบถาวร