1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Softwaer)
1.1. เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ
1.1.1. ซอฟต์แวร์สำเร็จ
1.1.1.1. แบ่งเป็น 5 กลุ่ม
1.1.1.1.1. 1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software)
1.1.1.1.2. 2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software)
1.1.1.1.3. 3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software)
1.1.1.1.4. 4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software)
1.1.1.1.5. 5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
1.1.2. ซอฟค์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1.1.2.1. ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2.1. คือ
2.1.1. ซอฟต์แวร์ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือการดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแผงแป้นอักขระ จอภาพ เมาส์ เครื่องพิมพ์ หน่วยความจำ เป็นต้น
2.2. ชนิดของ System Software
2.2.1. System Software มีด้วยกันหลายชนิด อาทิเช่น
2.2.1.1. Microsoft
2.2.1.1.1. window
2.2.1.2. apple
2.2.1.2.1. Mac OS
2.2.1.3. linux
2.2.1.3.1. เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยสามารถทำงานได้ทั้งแบบหลายงานพร้อมกัน และแบบที่ใช้พร้อมกันหลายๆคน และสนับสนุนการทำงานแบบหลายซีพียูด้วย รวมทั้งมีความสามารถแสดงผลได้ทั้งแบบข้อความ และแบบกราฟิกเช่นเดียวกับ Windowsโดยเรียกว่า X Window ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก ที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ ปัจจุบันมีการนำลีนุกซ์ไปใช้งานบนซีพียูต่างๆ เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) ระบบปฏิบัติการ Linux ถือกำเนิดขึ้นโดย Linus Torvalds ซึ่งได้ชักชวนให้โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ มาช่วยกันพัฒนาต่อโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งแจกจ่ายให้ใครต่อใครที่สนใจช่วยทดลองใช้ และทดสอบหาข้อผิดพลาดด้วย เป็นลักษณะที่เรียกว่า GPL (GNU Public License) โดยมีเงื่อนไขว่าผลงานที่ออกมา ก็จะต้องเผยแพร่ ให้ผู้อื่นเอาไปใช้ต่อได้ในลักษณะเดียวกันด้วย ระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนที่เรียกว่าเป็นตัว Linux จริงๆนั้นจะมีเพียง แก่น หรือ เคอร์เนล(kernel) ของระบบปฏิบัติการ ส่วนนี้จะเป็นตัวควบคุมเครื่อง และจัดสรรทรัพยากรต่างๆในระบบ เช่น ซีพียู หน่วยความจำ รวมทั้งการจัดการไฟล์และอุปกรณ์ต่างๆ
2.2.1.4. Unix
2.2.1.4.1. ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่ง ที่มีการใช้งานจะใช้ลักษณะพิมพ์คำสั่งเป็นหลัก ซึ่งดอสก็นำแนวทางนี้มาใช้เช่นกัน รูปแบบคำสั่งของยูนิกซ์จำได้ยาก แต่มีประสิทธิภาพในการทำงานในระดับฮาร์ดแวร์ที่สูงมาก ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการในยุคแรกๆตั้งแต่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆงานและมีผู้ใช้งานหลายๆคนในเวลาเดียวกันได้ ยูนิกซ์เป็นที่นิยมใช้กับระบบเครือข่ายต่างๆ ที่มีการใช้งานหลายๆงานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy ได้เผยแพร่ยูนิกซ์ไปยังมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ การพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จะเป็นการพัฒนาที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ทำให้สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกชนิด
2.2.1.5. IBM
2.2.1.5.1. Operating System/2 : OS/2
3. Malware
3.1. ความหมาย
3.1.1. malware (ย่อมาจาก "malicious software")ซึ่งจัดเป็นคำนามรวมหมายถึง ไวรัส หนอนอินเตอร์เน็ต และโทรจัน ที่มีพฤติกรรมรบกวนและสร้างความเสียหายแก่ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์
3.2. ชนิดของ Malware
3.2.1. Trojan
3.2.1.1. โปรแกรม ที่พบว่าเป็นประโยชน์หรือมีอันตรายน้อยแต่ได้ซ่อนโค้ดที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเสียหายและสำรวจข้อมูลในระบบที่กำลังทำงานอยู่ โปรแกรมโทรจันนั้นส่วนใหญ่จะส่งผ่านมายังผู้ใช้ทางอีเมล์ที่มีข้อความเชิง โน้มนามและไม่แสดงถึงภัยที่ซ่อนอยู่แต่อย่างใด ซึ่งเรียกพวกนี้ว่าเป็น Trojan code นอกจากนี้โทรจันยังทำการส่งพวกภัยอื่นๆในรูปของ malicious payload หรือการทำงานของโปรแกรมที่เรียกว่า task ของโทรจัน
3.2.2. Worm
3.2.2.1. หนอนอินเตอร์เน็ตที่ใช้การฝังตัวเองเข้ามากับโค้ดอันตราย ( malicious code)ที่สามารถแพร่กระจายไปได้เองโดยอัตโนมัติจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องจนทั่ว ระบบเครือข่ายผ่านทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขององค์กร โดยที่หนอนอินเตอร์เน็ตพวกนี้สามารถก่อพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อระบบได้ เช่น การแย่งใช้เครือข่ายหรือทรัพยากรของระบบ, และอาจทำให้ระบบหรือ service ล่มได้ นอกจากนี้พวกหนอนอินเตอร์เน็ตบางชนิดยังสามารถกระทำการได้เอง(execute)และแพร่กระจายไปในระบบโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องตอบสนองแต่อย่างใด ในขณะที่สิ่งแปลกปลอมประเภทอื่นจำเป็นต้องให้ผู้ใช้คลิกไฟล์โดยตรงเพื่อสั่ง ให้ worm code ทำงานและแพร่กระจาย ซึ่งพวกหนอนอินเตอร์เน็ตอาจมีการส่ง payload เพิ่มเข้ามาเพื่อใช้ในการทำซ้ำไฟล์(replication)
3.2.3. Virus
3.2.3.1. ไวรัสจะใช้โค้ดที่เขียนมากับเป้าหมายในการจู่โจมด้วยการทำซ้ำตัวเอง โดยพวกไวรัสจะพยายามแพร่กระจายจากเครื่องหนึ่งสู่อีกเครื่องหนึ่งโดยการแนบตัวมันเองมากับโปรแกรมหลักของระบบ(host program) และอาจทำความเสียหายแก่ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ หรือ ฐานข้อมูล เมื่อใดที่โปรแกรมหลักได้ทำงานตามคำสั่งและเมื่อนั้นโค้ดของไวรัสก็จะ run และติดเข้าไปกับ host โปรแกรมใหม่จากนั้นในบางครั้งก็จะส่ง payload เพื่อใช้ในการแพร่กระจายต่อไป ****payload หมายถึง คำศัพท์ที่เรียก action ต่างๆที่พวก malware ใช้จู่โจมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละครั้งที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นๆติดไวรัส
3.2.4. SpyWare
3.2.4.1. Spyware เป็นโปรแกรมที่แฝงมาขณะเล่นอินเตอร์เน็ตโดยจะทำการติดตั้งลงไปในเครื่องของเรา และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย และSpyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของท่านอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป แอดแวร์ Adware เป็นศัพท์เทคนิคมาจากคำว่า Advertising Supported Software แปลเป็นไทยได้ว่า "โปรแกรมสนับสนุนโฆษณา" โดยบริษัทต่าง ๆ จะพยายามโฆษณาสินค้าของตนเอง เพื่อที่จะได้ขายสินค้านั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองไปดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีตามเว็บต่าง ๆ เราก็จะเห็นโฆษณาสินค้าปรากฏขึ้นมาบ่อย ๆ ถ้าเราอยากให้โฆษณานั้นหายไปก็ต้องเสียเงินค่าลิขสิทธิ์ เพื่อไม่ให้มีโฆษณาขึ้นมากวนในอีกต่อไปมาได้ยังไง Spyware มีวิธีการในการเข้ามาในเครื่องเราหลายวิธี เช่น อาจใช้วิธีอย่างโจ่งแจ้ง เช่น ขอ Install ดื้อ ๆ เมื่อเราได้ตอบปุ่ม "ตกลง" ไปก็จะทำการติดตั้งลงมาที่เครื่อง ซึ่งบ่อยครั้งที่เรา ขี้เกียจอ่านแล้วก็คลิ๊กตอบ ๆ ไปอย่างรำคาญ บางตัวอาจมาในลักษณะของ Plug-in ให้คุณเอง เพื่อช่วยในการดูเว็บบางเว็บสมบูรณ์ขึ้น หรือแอบแฝง โดยเราไม่รู้ตัว เช่น แฝงมากับโปรแกรมฟรีต่าง ๆเกมส์ต่าง ๆ เป็นต้น อาการที่โดนสปายแวร์ หรือ แอดแวร์ 1.เน็ตช้าลงอย่างเห็นได้ชัด 2.หน้าหลักเปลี่ยนไป ไปเป็นเว็บบ้าเว็บบอที่ไม่รู้จัก 3.คอมพ์ช้าลงอย่างเห็นชัด เพราะว่ามันกินแรมมาก
3.2.5. Spam
3.2.5.1. สแปม คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมลในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาใน การกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และSMSสแปม การส่งสแปมเริ่มแพร่หลาย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กโทรนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชว นทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กโทรนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยัง ไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
3.2.6. Pishing
3.2.6.1. ฟิชชิ่งคือการฉ้อโกง ดังเช่นรูปแบบฟิชชิ่งแบบหนึ่งในอีกหลายๆรูปแบบ ที่พยายามหลอกล่อให้คุณจ่ายเงินจากกระเป๋าสตางค์ และมีเทคนิคหลอกลวงที่สมบูรณ์แบบ โดยใช้ความเชื่อถือของผู้คนทั่วไปที่มีต่อองค์กรใหญ่ๆที่จดทะเบียนถูกต้อง ตามกฎหมาย รูปแบบหลักๆของพิช ชิ่ง คือการที่ กลุ่มมิจฉาชีพปลอมแปลงโฮมเพจ ที่ดูเหมือนโฮมเพจที่ดูน่าเชื่อถือมีทั้งโลโก้และข้อมูลต่างๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะส่งไปตามสแปมอีเมล์ เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเข้ามาที่โฮมเพจ แต่ อะไรคือจุดประสงค์หลักเพื่อหลอกล่อให้บรรดาเหยื่อที่โดนสุ่มเลือกทั้งหลาย เข้าไปยังโฮมเพจที่ปลอมแปลงแล้ว? ไม่ยากเลย ก็เพื่อขโมยเงินของพวกเขาโดยการทำให้พวกเขาเปิดเผยข้อมูลของบัตรเครดิตการ์ด หรือข้อมูลทางการเงินอื่นที่อาจทำให้พวกเขาโจรกรรมได้ มีหลายกรณีที่โดนกลโกงรูปแบบนี้หลอกลวง โดยปุมเบราว์เซอร์จะใช้ชื่อเว็บไซต์ที่ถูกต้องหรือเว็บไซต์ที่คิดว่าจะใช้ งาน ตรงแถวหัวข้อหลักวิธีการสแปมประเภทนี้มักถูกหลอกได้ง่าย จาก ผลการสำรวจล่าสุดได้แสดงให้เห็นอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้เสียหายจากการพิช ชิ่งและเมล์สแปมสูงขึ้นมาก ด้วยระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน จำนวนผู้เสียหายเพิ่มขึ้น 42 เปอร์เซนต์ และผลสำรวจยังแสดงด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงส่วนใหญ่มักจะเป็นสถาบันทางการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเครดิตการ์ด เป็นต้น ใน ขณะนี้พิชชิ่งถือเป็นการคุกคามที่ยิ่งใหญ่ บริษัทธุรกรรมทางอินเตอเน็ตใหญ่ๆ เช่น ไมโครซอฟท์, อีเบย์, วีซ่า และ โฮลซีเคียวริตี้ ประกาศร่วมมือกันพยายามต่อต้านอัตราการเพิ่มขึ้นของการคุกคามนี้ ดัง นั้นโปรดระวังเมื่ออยู่ดีๆคุณก็ได้รับอีเมล์ถามคุณให้รับรองข้อมูลสำคัญอีก ครั้ง คุณไม่ควรทำการใดๆอีกตั้งแต่บัญชีนั้นยังว่างเปล่า และทางที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ถูกพิชชิ่งคือหลีกเลี่ยงอีเมล์สแปมทั้งหลายโดย สิ้นเชิง ซึ่งอีเมล์เหล่านี้จะล่อลวงคุณไปยังโฮมเพจหลอกๆเหล่านั้น โชค ร้ายที่มักจะมีอาชญากรรมเกิดขึ้นเป็นประจำ แล้วใครล่ะ จะช่วยให้ความเป็นธรรมกับคุณ แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เริ่มตั้งคุณค่าให้กับสิ่งต่างๆ และยิ่งทวีจำนวนมากขึ้นตั้งแต่มีการริเริ่มใช้จ่ายเงินเพื่อสินค้าและบริการ