ภาวะฉุกเฉินจากสิ่งแวดล้อม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ภาวะฉุกเฉินจากสิ่งแวดล้อม by Mind Map: ภาวะฉุกเฉินจากสิ่งแวดล้อม

1. ภัยจากสัตว์

1.1. ผึ้ง ต่อ แตน ส่วนมากถ้าถูกต่อยจะมีอาการแพ้รุนแรง แมงมุม แมงป่อง ตะขาบ ส่วนมากไม่มีพิษ

1.2. งูมีพิษในประเทศไทย งูมีพิษในประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 7 สายพันธุ์หลักดังนี้ งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ งูทะเล

1.2.1. เมื่อถูกงูกัดควรปฏิบัติดังนี้ 1. รีบหางูที่กัดให้เจอ จำเป็นต้องตีให้ตายไว้ก่อนเพื่อนำไปให้แพทย์ดู 2. เค้นเลือดบริเวณที่โดนกัด ให้เลือดจากแผนถูกกัดออกมามากที่สุด (ห้ามใช้ปาดดูดเด็ดขาด) 3. ใช้ผ้าหรือเชือกรัดเหนือแผลที่ถูกกัด เพื่อชะลอไม่ให้พิษแล่นเข้าสู่หัวใจ 4. รีบพาผู้ถูกกัดไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และพยายามไม่ให้ผู้ถูกกัดหลับ 5. ห้ามให้ผู้ถูกกัดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้พิษแล่นเข้าสู่หัวใจเร็วขึ้น

2. ภัยจากกระแสไฟฟ้า

2.1. การโดนกระแสไฟฟ้าช็อกและการโดนฟ้าผ่ามีผลโดยตรงกับการทำงานของหัวใจ สมองและ กล้ามเนื้อต่างๆ

2.2. ปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความรุนแรงของการโดนไฟฟ้าช็อกนั้นขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย •ความรุนแรงของกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าแรงสูงยิ่งทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายผู้ที่สัมผัสมาก •ชนิดของกระแสไฟฟ้า •ระยะเวลาของการสัมผัสนาน กระแสไฟฟ้าจะทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ •ต้นกำเนิดของแหล่งพลังงานไฟฟ้า •ความต้านทานของร่างกายที่มีต่อกระแสไฟฟ้า นอกจากนั้นแล้วกระแสไฟฟ้ายังสามารถผ่านเข้าไปที่หัวใจ และกระตุ้นให้เกิด ventricular fibrillation (VF)

2.3. การโดนฟ้าผ่า (Lightning Strike)

2.3.1. อัตราการตายเนื่องจากการโดนฟ้าผ่าประมาณ 30% กรณีที่ผู้ป่วยรอดชีวิต อัตราความทุพลภาพสูงถึงประมาณ 70% การแสดงอาการของการโดนฟ้าผ่าในแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ในบางคนอาจมีอาการแค่เพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางคนอาจจะเสียชีวิตได้ทันที สาเหตุการตายอันดับหนึ่ง ของการโดนฟ้าผ่าคือหัวใจหยุดเต้น นอกจากนั้นการโดนฟ้าผ่ายังทำให้เกิดผลโดยตรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดการหลั่งสารcatecholamine และสามารถกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้ - ความดันโลหิตสูงมาก - หัวใจเต้นเร็ว - คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีการเปลี่ยนแปลง และการโดนฟ้าผ่ายังมีผลต่อระบบประสาททั้งในระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ทำให้มีเลือดออกในสมอง สมองบวม เส้นประสาทส่วนปลายผิดปกติและมักจะพบภาวะสมองขาดออกซิเจนเนื่องจากมีหัวใจหยุดเต้นได้บ่อยครั้ง

2.4. การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยที่โดนไฟฟ้าช็อกและฟ้าผ่า

2.4.1. ผู้ช่วยเหลือต้องรีบย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่ที่โดนไฟฟ้าช็อกหรือฟ้าผ่าโดยทันที ระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเฉพาะในการส่วนของกระดูกสันหลัง การผ่อนคลายและระบายความร้อนให้ผู้ป่วย ถอดเสื้อผ้า รองเท้า เข็มขัดของผู้ป่วยออกให้หมดและให้การรักษาแผลไหม้ทั้งภายนอก และ ภายในอย่างรวดเร็ว ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจถึงแม้ว่าจะพบว่าผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วก็ตาม ให้รีบทำการช่วยหายใจและกระตุ้นหัวใจในทันที เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอัตรารอดมากขึ้น ถ้าสามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและส่งผู้ป่วยต่อให้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาต่อไป

2.4.2. ถ้าไม่พบการเต้นของหัวใจ และการหายใจ ให้เริ่มต้นการ CPR ทันที และใช้เครื่อง automated external defibrillator (AED) สำหรับการตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และใช้การรักษาVF or VT แล้วจึงรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

3. อุบัติเหตุจากการตกน้ำหรือจมน้ำ

3.1. เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการสัมผัสกันของของเหลวกับอากาศในทางเดินหายใจ และทำให้ไม่สามารถสูดอากาศหายใจได้ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อจมน้ำคือ การขาดออกซิเจน มีความรุนแรงของการขาดออกซิเจนขึ้นอยู่กับการจมน้ำนานโอกาสรอดชีวิตนั้นก็จะน้อย

3.2. การกู้ชีพในผู้ป่วยจมน้ำ

3.2.1. ช่วยผู้ป่วยขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็ว โดยการใช้ยานพาหนะ โดยผู้ที่กระทำการช่วยเหลือต้องระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดกับตนเองด้วย

3.2.2. การช่วยเปิดทางเดินลมหายใจ การช่วยหายใจทางปากทำได้ยากอาจใช้วิธีการเป่าจมูกแทนได้

3.2.3. การกดหน้าอก ตรวจดูการหายใจในเบื้องต้น ถ้าพบว่าผู้ป่วยไม่หายใจได้เองตามปกติ ให้ช่วยเป่าปาก 2 ครั้ง หลังจากนั้น ให้เริ่มการกดหน้าอกและทำตามหลักการกู้ชีพ (CPR) เบื้องต้น ถ้าไม่พบสัญญาณชีพหลังจากการทำการกู้ชีพครบ 2 รอบควรติดเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจไว้ด้วย

3.2.4. การอาเจียนขณะช่วยกู้ชีพ กรณีที่ผู้ป่วยอาเจียนให้พลิกผู้ป่วยโดยให้ศีรษะ คอ และลำตัวหันไปพร้อม ๆ กันและใช้นิ้วมือ ผ้า หรือ suction ล้วงเอาอาเจียนออกมา

4. ภาวะฉุกเฉินจากความร้อน

4.1. ร่างกายสามารถปรับอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 36-38 C ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า40 C จะเริ่มมีการทางานของอวัยวะต่างๆผิดปกติไป

4.2. อาการที่เกิดจากความร้อน

4.2.1. ความเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง

4.2.1.1. การบวมแดด (Heat Edema)

4.2.1.2. ผดผื่นร้อน (Prickly Heat) รักษา antihistamine ทำความสะอาดเสื้อผ้า

4.2.1.3. ตะคริงแดด(Heat Cramps) อาการ ปวดและหดตัวของกล้ามเนื้อ รักษา แก้ไขภาวะขาดสารน้ำ fluid and salt replacement

4.2.1.4. อาการเป็นลมแดด (Heat Syncope) สาเหตุ postural hypo-tension จากการขาดสารน้ำ รักษา นำผู้ป่วยออกจากแหล่งความ ร้อน แก้ไขภาวะขาดสารน้ำ

4.2.1.5. อาการเพลียแดด (Heat Exhaustion) สาเหตุ สูญเสียน้ำและโซเดียม อาการ ปวดหัว วิงเวียน อาเจียน อ่อนเพลีย รักษา นำผู้ป่วยออกจากแหล่งความร้อน แก้ไขภาวะขาดสารน้ำ

4.2.2. ความเจ็บป่วยที่รุนแรง

4.2.2.1. โรคลมแดด (Heat Stroke) อาการแสดง อุณหภูมิร่างกายสูง (มากกว่า40องศา) ร่วมกับมีอาการการรับรู้ผิดปกติ การรักษา รีบนำผู้ป่วยออกจากแหล่งความร้อน ประเมิน A B C ให้ O2 และ สารน้ำ ทำการ cooling ทันที โดยการเปลี่ยนเสื้อผ้า ฉีดละอองน้า ใช้ลมเป่า ใช้ผ้าเย็น น้าแข็งประคบ