การพยาบาลผู้ป่วยจำกัดพฤติกรรม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพยาบาลผู้ป่วยจำกัดพฤติกรรม by Mind Map: การพยาบาลผู้ป่วยจำกัดพฤติกรรม

1. การจับล็อคผู้ป่วย ผู้ป่วยเอะอะส่งเสียงดังแต่พูดรู้เรื่อง ขัดขืนเล็กน้อย

1.1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยชวนพูดคุยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ทดลองเข้าใกล้ตัวผู้ป่วยเพื่อดูท่าทีว่าผู้ป่วยจะมีปฏิกิริยาอย่างไร กรณีถ้าผู้ป่วยเชื่อฟังอาจจะพาตัวไปได้เลย แต่ถ้าผู้ป่วยขัดขืนให้เข้าประชิดและจับล็อคทันทีก่อนที่จะพาตัวไป

2. ผู้ป่วยที่มีอาการระแวงไม่ให้ใครเข้าใกล้แต่ไม่ทำร้ายใคร

2.1. ให้เรียกชื่อผู้ป่วยแล้วลองพูดคุยกับผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งอาจได้ผล แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือต้องมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน คนที่ 1 ชวนคุย คนที่ 2 เข้าหาตัวผู้ป่วยขณะเผลอแล้วจับล็อค คนที่ 1 ต้องรีบเข้าช่วยทันทีแล้วพาไปที่หมาย

3. ผู้ป่วยที่เอะอะอาละวาดทำลายข้าวของแต่พอพูดรู้เรื่องและรับฟังอยู่บ้าง

3.1. ทดลองเรียกชื่อผู้ป่วยก่อน ถ้าไม่ร่วมมือต้องขอกำลังสนับสนุนเพื่อนร่วมทีมงาน ทีมงานที่จะเข้าหาผู้ป่วยต้องรู้หน้าที่ของตัวเองและประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา

4. เทคนิคที่สำคัญ

4.1. ทำงานเป็นทีมให้สำเร็จในครั้งเดียว “พร้อมเพรียง ฉับไว แต่ไม่ลนลาน”

4.2. ระมัดระวังผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ ห้ามล็อคคอผู้ป่วยเพราะอาจกดการหายใจ

4.3. ไม่ควรปล่อยมือจากผู้ป่วยโดยไม่ให้สัญญาณเพื่อนร่วมทีมโดยเด็ดขาด

5. ความหมาย

5.1. การทำให้ผู้ป่วยอยู่กับที่หรือในบริเวณจำกัด ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมหรืออารมณ์ของตนเองได้ อาจทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น

6. ขั้นตอนการปฎิบัติ

6.1. เตรียมอุปกรณ์

6.1.1. ผ้าผูกมัด ต้องมีความแข็งแรง เหนียว แต่นุ่ม ใช้ผูกข้อมือและข้อเท้า

6.1.2. เตียง

6.1.2.1. ควรเป็นเตียงที่สามารถจะผูกมัดได้ ควรผูกมัดผู้ป่วยในสถานที่ ๆ เป็นส่วนตัว เงียบ สงบ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่ถูกผูกมัดถูกรบกวน ถูกกระตุ้น

6.2. ทีมผู้ดูแล

6.2.1. ควรมี 5-6 คน

6.2.2. ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยไม่ใช่เพื่อลงโทษ

6.2.3. ต้องทำเป็นทีม ไม่ทำโดยลำพัง

6.3. ผู้นำทีมต้องแจ้งและอธิบายเหตุผลของการผูกมัดให้ผู้ป่วยทราบ ควรทำเมื่อผู้ป่วยเผลอหรือกำลังถูกชักชวนทำกิจกรรมอื่น

6.4. ผู้นำทีมต้องเป็นผู้ให้สัญญาณก่อนจับตัวผู้ป่วยทุกครั้ง ต้องจับแต่ข้อใหญ่ๆ ข้อศอก ข้อเข่า

7. ข้อพึงระวัง

7.1. ทีมผู้รักษาต้องมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วย มีความสม่ำเสมอทั้งคำพูด และสีหน้าท่าทาง

7.2. ให้นับถือว่าผู้ป่วยว่าเป็นบุคคลหนึ่ง ควรบอกผู้ป่วยทุกครั้งที่จะจำกัดพฤติกรรมทั้งพฤติกรรมและระยะเวลา

7.3. การจำกัดพฤติกรรมควรใช้คำพูด ถ้าไม่ได้ผลจึงใช้วิธีผูกมัดและจำกัดพฤติกรรม

7.4. ควรให้เวลาผู้ป่วยได้ซักถามข้อสงสัยก่อนผูกมัด

8. ผูกมัดผู้ป่วยอย่างเทคนิคโดย

8.1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย

8.2. ถ้าผู้ป่วยไม่ดิ้นรนมากนัก การผูกมัดข้อมือให้ลงข้างลำตัวทั้ง 2 ข้าง และผูกมัดข้อเท้าตรึงติดกับเตียงก็เพียงพอแล้ว การผูกมัดที่ดีควรใช้นิ้ว 2 นิ้ว สอดใต้ผ้าผูกมัดได้ ไม่ควรผูกแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้าไม่ดี ถ้าผู้ป่วยดิ้นรนมากอาจใช้เสื้อผูกมัดลำตัวร่วมด้วย

8.3. ตรวจเยี่ยมและประเมินผู้ป่วยที่ถูกผูกมัดเป็นระยะทุก 15 – 30 นาที ในเรื่องความปลอดภัยและความสุขสบาย เช่น การเปลี่ยนท่า การรับประทานอาหาร น้ำ และการขับถ่าย

8.4. เมื่อผู้ป่วยอาการสงบลง พูดคุยรู้เรื่อง ควบคุมตนเองได้ จึงยุติการ ผูกมัด