เครื่องมือพื้นฐาน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เครื่องมือพื้นฐาน by Mind Map: เครื่องมือพื้นฐาน

1. เครื่องมือสำหรับการวัด

1.1. ไมโครมิเตอร์(micrometer) เป็นเครื่องมือวัดขนาดสิ่งของที่มีขนาดเล็กที่มีความเเม่นยำสูง

1.1.1. แบ่งเป็น

1.1.1.1. ไมโครมิเตอร์วัดภายนอก(outsidemicrometer) เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด ลักษณะเป็นปากกาหนีบวัตถุ ใช้วัดความหนา ความกว้าง หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด ทรงกลม หรือวัตถุใด ๆ ที่ต้องการ

1.1.1.2. ไมโครมิเตอร์วัดภายใน (inside micrometer) ใช้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูเปิดและท่อ

1.1.1.3. ไมโครมิเตอร์วัดความลึก (depth micrometer) ใช้วัดความลึกของช่องเปิด

1.1.2. การใช้งาน ไมโครมิเตอร์ทำงานโดยใช้หลักการของสกรู ซึ่งเป็นเครื่องมือกลอย่างง่ายที่ย่อระยะทางยาวไว้บนตัวเกลียวของสกรู การขันสกรูให้ขยับออกหรือเข้าเพียงระยะทางสั้น ๆ ย่อมหมายถึงระยะทางบนเกลียวได้เคลื่อนที่ไปมาก ระยะทางที่เคลื่อนได้บนเกลียวนี้ สามารถนำไปขยายให้เป็นค่าความยาวที่อ่านได้โดยอาศัยหลักการของสกรูเปลี่ยนระยะ (differential screw) ซึ่งเป็นสกรูสองชุดเชื่อมต่อกันแน่นด้วยตัวยึด เมื่อสกรูตัวแรกเลื่อน สกรูตัวหลังจะเลื่อนด้วยระยะทางเท่ากับสกรูตัวแรก แต่อาจมีระยะทางตามเกลียวสูงหรือต่ำกว่าก็ได้ โดยมากมักจะให้สกรูตัวแรก คือตัวที่ต่อกับปากกามีขนาดเล็กกว่าสกรูตัวหลังที่ต่อกับมาตรวัด

1.2. เวอร์เนียคาลิเปอร์(vernier caliper) เป็นเครื่องมือวัดขนาดอย่างละเอียด

1.2.1. การใช้งาน ปิดขากรรไกรเบา ๆ บนสิ่งที่คุณต้องการที่จะวัด หากคุณกำลังวัดบางสิ่งบางอย่างให้แน่ใจว่าแกนของส่วนหนึ่งจะตั้งฉากกับคาลิปเปอร์ กล่าวคือให้แน่ใจว่าคุณมีการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเต็มรูปแบบ เวอร์เนียมีขากรรไกรคุณสามารถวางรอบวัตถุและขากรรไกรด้านอื่น ๆ ที่ทำเพื่อให้พอดีกับภายในวัตถุ เหล่านี้ขากรรไกรรองสำหรับการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของวัตถุ นอกจากนี้ยังมีบาร์แข็งยื่นออกมาจากคาลิปเปอร์ในขณะที่คุณเปิดที่สามารถใช้ในการวัดความลึก

1.3. ไม้บรรทัดวัดองศาหรือใบวัดมุม(Protractor) เป็นเครื่องมือวัดขนาดมุมของชิ้นงานเป็นองศาที่มีความละเอียด

1.3.1. การใช้งาน ส่วนใบวัดมุมที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน จะมีการแบ่งสเกลตัวเลขขององศาออกเป็น 2 วง คือ วงในและวงนอก โดยเริ่มจากด้านซ้ายและด้านขวา ตั้งแต่ 0 องศา ไปถึง 180 องศา แต่ละช่องสเกล มีค่า 1 การสร้างสเกลตัวเลของศา 2 วงดังกล่าวทำให้สามารถอ่านค่ามุมแหลมและมุมป้านได้ในเวลาเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องนำค่าที่อ่านได้มาลบออกจากมุม 180 องศา เช่น ใบวัดมุมสมัยเก่าที่มีตัวเลขแบ่งสเกลองศาเพียงวงเดียว

2. เครื่องมือสำหรับการตัด

2.1. ในการใช้งานต้องเลือกให้เหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับประเภทของงาน

2.2. ประเภท

2.2.1. คีม

2.2.1.1. คีมปากแหลม

2.2.1.1.1. เป็นคีมขนาดเล็ก มีปากยาว

2.2.1.1.2. ใช้บีบ ตัดหรืองอวัสดุขนาดเล็กที่ไม่แข็งมาก เช่น ลวดเส้นเล็ก

2.2.1.1.3. เหมาะสำหรับพื้นที่ปฏิบัติงานที่เล็กและแคบ

2.2.1.2. คีมตัดปากเฉียง

2.2.1.2.1. เป็นเครื่องมือสำหรับการตัดวัสดุชิ้นเล็กที่ไม่แข็ง เช่น สายไฟ เส้นลวด

2.2.1.2.2. สามารถใช้จับหรือดัดงอวัสดุได้ บางตัวจะมีร่องไว้สำหรับปลอกสายไฟ

2.2.2. เลื่อยและปากกาตัด

2.2.2.1. เลื่อยรอ

2.2.2.1.1. ใช้ตัดแต่งไม้ มีฟันละเอียดใช้สำหรับตัดแต่งให้ผิวหน้าไม้ที่ถูกตัด ให้ผิวหน้าเรียบ หรือเลื่อยตัดแต่งผิวหน้า ปากไม้ระหว่างแนวต่อของการเข้าไม้ให้มีแนวต่อที่ชนกันได้สนิท

2.2.2.2. เลื่อยจิ๊กซอ

2.2.2.2.1. เป็นเลื่อยไฟฟ้า ใช้สำหรับตัดไม้ที่ทำงานโดยใช้ใบเลื่อย ซึ่งมีฟันละเอียดเคลื่อนที่ขึ้นลงและตัดชิ้นงานไปตามแนวที่ต้องการ ใช้ตัดชิ้นงานได้ทั้งแนวตรงและแนวโค้ง เนื่องจากใบเลื่อยมีขนาดเล็กและบาง

2.2.2.3. ปากกาตัดกระจก

2.2.2.3.1. มีลักษณะคล้ายปากกา มีหัวที่ทำด้วยวัสดุที่มีองค์ประกอบของเพชร มีความแข็งแกร่งมาก ใช้สำหรับตัดกระจก

2.2.2.4. เลื่อยไฟเบอร์

2.2.2.4.1. เป็นเครื่องมือตัดความเร็วสูงที่นิยมใช้มากในงานซ่อมและงานผลิต เนื่องจากมีความสะดวกและรวดเร็ว แผ่นใบเลื่อยทำจากหินเจียจึงเหมาะกับการตัดโลหะต่างๆ

2.2.2.5. เลื่อยวงเดือน

2.2.2.5.1. เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในงานตัดทั้งแบบตัดตรงและตัดเอียง ตัดซอยและเซาะร่องชิ้นงาน ฟันเลื่อยทำจากวัสดุคาร์ไบด์ที่มีความแข็งและช่วยรักษาคม

2.2.2.6. เลื่อยตัดเหล็ก

2.2.2.6.1. ใช้ตัดเหล็กหรือโลหะต่างๆ โดยใช้ใบเลื่อยที่มีฟันละเอียดและน็อตหางปลาไว้สำหรับขันใบเลื่อยให้แน่นและตึงก่อนใช้งาน ในการตัดชิ้นงานต้องไม่ใช้แรงมากหรือตัดเร็วเกินไปเพราะใบเลื่อยอาจจะหักได้

3. เครื่องมือสำหรับการเจาะ

3.1. สว่านมือ

3.1.1. ประเภทแหล่งพลังงาน

3.1.1.1. แบบใช้แบตเตอรี่

3.1.1.2. แบบใช้ไฟฟ้า

3.1.2. แบ่งตามกลไก

3.1.2.1. แบบธรรมดา

3.1.2.1.1. ใช้สำหรับงานเจาะวัสดุเท่าไป เช่น เหล็ก ไม้

3.1.2.2. แบบโรตารี

3.1.2.2.1. รูปลักษณ์ไม่แตกต่างจากแบบธรรมดา มีกลไกพิเศษสำหรับช่วยผ่อนแรง ส่วนใหญ่ใช้เจาะปูน ต้องใช้ดอกสว่านเฉพาะสว่านโรตารีเท่านั้น

3.2. ดอกสวานสำหรับงานประเภทต่างๆ

3.2.1. ดอกสว่านสำหรับเจาะไม้

3.2.2. ดอกสว่านสำหรับเจาะปูน

3.2.3. ดอกสว่านสำหรับเจาะเหล็ก

3.2.4. ดอกสว่านสำหรับเจาะกระเบื้อง

3.2.5. ดอกสว่านสำหรับเจาะแก้ว

3.2.6. ดอกสว่านเอนกประสงค์สำหรับเจาะวัสดุได้หลายประเภท