Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กรณีศึกษา by Mind Map: กรณีศึกษา

1. ผู้ป่วยรายนี้อาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

2. ตรวจร่างกาย - Heart rate is 97 ครั้ง/นาที - Blood pressure= 150/90 mmHg. - O2 Saturation = 98 % ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ - Cholesterol = 280 mg/100ml - LDL-C = 138 mg/dl - HDL = 30 mg/dl - CPK-MB 230 U/ml - Tropinin T 0.15 mg/dl -creatinine 0.9mg/dl

3. สาเหตุมาจากผนังหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัวขึ้น (Atherosclerosis) ซึ่งเกิดเนื่องจากการมีไขมันไปเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือด เรียกว่า “ตะกรันท่อหลอดเลือด” (Artherosclerotic plaque) ซึ่งจะค่อย ๆ พอกหนาตัวขึ้นทีละน้อยจนช่องทางเดินของเลือดตีบแคบลง เลือดจึงไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง และในขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นในการเผาผลาญให้เกิดพลังงานเพื่อใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ (เช่น ในขณะที่ออกแรงมาก ๆ ในการทำงานหรือเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเมื่อมีอารมณ์รุนแรงหรือมีความเครียดสูง) หรือในขณะที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจน้อยลง (เช่น หลอดลือดหดตัวในขณะที่สูบบุหรี่หรือจากการมีความเครียดสูง เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารจำนวนมากหลังรับประทานข้าวอิ่มจัด ๆ หรือเมื่อเสียเลือดหรือโลหิตจาง) ผู้ป่วยก็จะเกิดอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วขณะ แต่เมื่อขจัดสาเหตุดังกล่าวออกไป (เช่น กำจัดความเครียด หยุดการใช้แรงและสูบบุหรี่) อาการเจ็บหน้าอกก็จะทุเลาไปเอง ซึ่งเราเรียกภาวะดังกล่าวนี้ว่า “โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ” (Angina pectoris)

4. หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

5. สมาชิกกลุ่มที่ 15 1. นางสาว พรธิดา ศรีลาชัย รหัส 601601048 2.นางสาว รวิวรรณ มุนธานี รหัส 601601060 3.นางสาว อรพิม นิลวดี รหัส 601601100

6. ชายไทยอายุ 65 ปี ให้ข้อมูลว่า มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อคืน ทำให้ต้องตื่นขึ้นกลางดึกประมาณตี 2 มีอาการเจ็บหน้าอกประมาณ 25-25 นาทีและมีเหงื่อออกร่วมด้วย ผู้ป่วยไม่อยากรบกวนคนในบ้านจึงนอนพัก อาการเจ็บหน้าอกทุเลาลง แต่เช้านี้เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก จึงอยากมาตรวจดูว่าเป็นอะไร

7. อาการเจ็บแน่นหน้าอก

8. เป็นผลมาจากความไม่สมดุลระหว่างความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจและปริมาณของออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะหลั่งสาร bradykininออกมา ไปกระตุ้นความเจ็บปวดที่ receptor ที่ผนังชั้นนอกของหลอดเลือดและที่กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเส้นประสาทรับรู้ จะส่งไปยัง dorsal root ของเส้นประสาทที่ไขสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก

9. ประวัติ ผู้ป่วยมีการสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 40 ปี วันละ 10 มวนต่อวัน และไม่มีเคยมีประวัติการเจ็บหน่าออกมาก่อน

10. สารนิโคตินเป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และยังไปทำลายเยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในของหลอดเลือดแดง, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นตัวทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่าเวลาปกติ จึงเกิดการขาดออกซิเจน เป็นผลทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น, ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์เป็นตัวทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง นอกจากนี้ควันบุหรี่ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกันมากขึ้น ทำให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มหรือก้อนได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งเสริมให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตันได้