สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร by Mind Map: สารและการเปลี่ยนแปลงของสาร

1. สมบุติของสาร

1.1. หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสาร เช่น เนื้อสาร สี กลิ่น รส การนำไฟฟ้า การละลายน้ำ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความเป็นกรด-เบส เป็นต้น

1.2. 1.สมบัติทางกายภาพ หรือสมบัติทางฟิสิกส์ (physical properties) หมายถึง สมบัติของสารที่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองที่ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เข่น สถานะ เนื้อสาร สี กลิ่น รส ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การละลายน้ำ ความแข็ง

1.3. 2.สมบัติทางเคมี (chemical properties) หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีและองค์ประกอบทางเคมีของสาร เช่น การติดไฟ การผุกร่อน การทำปฏิกิริยากับน้ำ การทำปฏิกิริยากับกรด-เบส เป็นต้น

2. การจำแนกสาร

2.1. สารเนื้อเดียว

2.1.1. คือ สารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวและมีสมบัติเหมือนกันตลอด อาจประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้ แบ่งออกเป็นสารบริสุทธิ์และสารละลาย

2.2. สารเนื้อผสม

2.2.1. คือ สารที่มีองค์ประกอบภายในแตกต่างกัน หรือสารที่มีเนื้อไม่เหมือนกันทุกส่วน เช่น นํ้าคลอง พริกเกลือ นำผสมน้ำมัน

2.3. ของผสม

2.3.1. คือ สารที่เกิดจากการนำสารตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน โดยมีอัตราส่วนขององค์ประกอบไม่แน่นอน หลังผสมอาจจะเป็น สารเนื้อเดียวหรือสารเนื้อผสม

2.4. สารบริสุทธิ์

2.4.1. คือ สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว แบ่งเป็นธาตุและสารประกอบ สมบัติของสารบริสุทธิ์ เป็นสารที่มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวคงที่และมีช่วงการหลอมเหลวแคบ

2.5. สารไม่บริสุทธิ์

2.5.1. คือ สารที่เกิดจากการนำสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกันโดยมีอัตราส่วนไม่แน่นอน ไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี

2.6. สารแขวนลอย

2.6.1. คือ สารที่อนุภาคไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้ เนื่องจากอนุภาคมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-4cm. สามารถมองเห็นอนุภาคได้ชัดเจนและอนุภาคสามารถตกตะกอนได้

3. การแยกสาร

3.1. 1. การกรอง (filtration) เป็นการแยกสารที่มีอนุภาคต่างกััน โดยตัวถูกทำละลายไม่ละลายในตัวทำละลายและมีขนาดของวัตถุใหญ่การวัตถุที่ใช้กรอง เช่น ผงถ่านกับน้ำ ทรายกับน้ำ

3.2. 2.การตกผลึก (crystallization) เป็นการแยกตัวละลายออกจากสารละลายอิ่มตัวที่อุณภูมิสูง สารละลายอิ่มตัว คือ สารละลายที่มีตัวละลายอยู่ปริมาณมากจนไม่สามารถละลายได้อีก ณ อุณหภูมิหนึ่ง เช่น สารส้ม เกลือแกง กำมะถัน จุนสี

3.3. 3. การกลั่นแบบธรรมดา เป็นวิธีการแยกสารที่มีอุณภูมต่างกันมาก เช่น หินปูนกับน้ำ เกลือกันน้ำ

3.4. 4. การกลั่่นแยกลำดับส่วน (fractional distillation) เป็นการแยกสารละลายที่่มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน เช่น น้ำมันดิบ

3.5. 5. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ (steam distillation) นิยมใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆของพืช สารที่ต้องการแยกต้องไม่ละลายน้ำ ระเหยง่าย มีจุดเดือดต่ำ เช่นผิวมะกรูด ใบยูคาลิปตัส

3.6. 6.การสกัดด้วยตัวทำละลาย (solvent extraction) เป็นการแยกสารที่ต้องการออกจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ถั่วเหลือง ปาล์ม ถั่งลิสง เป็นต้น

3.7. 7. การแยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟี (chromatography) นิยมใช้แยกสารที่มีปริมาณน้อย สารที่ละลายได้ดีจะถูกดูดซับน้อยและเคลื่อนที่ไปได้ไกล เช่น สารที่มีสีผสมอยู่ โดยจะมีค่า Rf ไม่เกิน 1

4. สถานะของสาร

4.1. 1.ของแข็ง ( solid ) หมายถึงสารที่มีลักษณะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง และมีรูปร่างเฉพาะตัว เนื่อจากอนุภาคในของแข็งจัดเรียงชิดติดกันและอัดแน่นอย่างมีระเบียบไม่มีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ได้น้อยมาก ไม่สามารถทะลุผ่านได้และไม่สามารถบีบหรือทำให้เล็กลงได้ เข่น ไม้ หิน เหล็ก ทองคำ ดิน ทราย พลาสติก กระดาษ

4.2. 2.ของเหลว ( liquid ) หมายถึงสารที่มีลักษณะไหลได้ มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคในของเหลวอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง อนุภาคไม่ยึดติดกันจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะใกล้ และมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน มีปริมาตรคงที่ สามารถทะลุผ่านได้ เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมันพืช น้ำมันเบนซิน

4.3. 3.แก๊ส ( gas ) หมายถึงสารที่ลักษณะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก มีพลังงานในการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปได้ในทุกทิศทางตลอดเวลา จึงมีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคน้อยมาก สามารถทะลุผ่านได้ง่าย และบีบอัดให้เล็กลงได้ง่าย เช่น อากาศ แก๊สออกซิเจน แก๊สหุงต้ม

5. การเปลี่ยนแปลงของสาร

5.1. การละลาย

5.2. การเกิดสารใหม่