ยาต่อต้านอาการทางจิตเวชกลุ่มใหม่ (Atypical antipsychotic drugs)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ยาต่อต้านอาการทางจิตเวชกลุ่มใหม่ (Atypical antipsychotic drugs) by Mind Map: ยาต่อต้านอาการทางจิตเวชกลุ่มใหม่ (Atypical antipsychotic drugs)

1. ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

1.1. กลุ่มอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (EPS) ประจำเดือนผิดปกติ ความต้องการทางเพศลดลง น้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันโลหิตจากการเปลี่ยนท่า เม็ดเลือดขาวลดลง หัวใจเต้นเร็ว ชัก ง่วงซึม น้ำลายไหลออกมาก เมตาบอลิกซินโดรม โปรแลคตินหลั่งผิดปกติ

2. การพยาบาล

2.1. 1. ประเมินลักษณะอาการวิทยาของผู้ป่วย และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังได้รับยาต้านอาการจิตเวช รวมทั้งประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยไว้อย่างละเอียด 2. ให้ความรู้และสุขภาพจิตศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและเหตุผลของการรับประทานยา กลไกการออกฤทธิ์อย่างคร่าวๆ และผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วย ญาติ และครอบครัวเพื่อสร้างความตระหนักในการรับประทานยาอย่างตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยลืมรับประทานยาภายใน 3-4 ชั่วโมงให้รับประทานยาในมื้อนั้นได้เลย แต่หากเกิน 4 ชั่วโมงหรือถึงเวลายามื้อถัดไปให้งดมื้อยาที่ลืมโดยไม่เพิ่มขนาดยาที่รับประทาน 3. ติดตามประเมินผลข้างเคียงของการรับประทานยาและจัดการกับอาการข้างเคียงตามอาการที่เกิดขึ้น 3.1 เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากผลข้างเคียงของยา • ประเมินความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ • วิเคราะห์ปริมาณ ขนาดยาที่ได้รับ • จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด โล่ง แห้ง มีอุปกรณ์ช่วยพยุงตัว • เฝ้าระวัง และสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา • จัดให้พักผ่อนหลังรับประทานยา (ยาออกฤทธิ์) • ให้ทำกิจกรรมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย • กระตุ้นให้มีการออกกำลังกาย • ติดตามอาการเป็นระยะๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ข้างเคียง • รายงานพิจารณาการให้ยาแก้ฤทธิ์กรณีมีอาการมาก 3.2 เสี่ยงต่อการภาวะติดเชื้อเนื่องจากเม็ดเลือดขาวต่ำจากผลข้างเคียงของยา • ประเมินอาการของการติดเชื้อ เช่น ไข้ หรือเจ็บคอ • ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการตามแผนการรักษา • ก่อนให้ยาต้องมีการตรวจเลือดเพื่อประเมินจานวนเม็ดเลือดขาว ถ้าต่ำกว่า 3,500/ cumm จะให้ยาไม่ได้ • ตรวจ CBC ทุกสัปดาห์ติดต่อกัน 18 สัปดาห์ จากนั้นทุก 1 เดือน ถ้าเม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 2,000/ cumm ต้องหยุดยาทันที • ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย 3.3 ปฏิเสธการรับประทานยาเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษา • ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา สาเหตุ และปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยได้รับ กลไกการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแต่ละราย • เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก การรับรู้ตนเอง ปัญหาเมื่อได้รับยา เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถาม • รายงานอาการผู้ป่วยเพื่อการพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมขึ้น 4. ประเมินการปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง รวมทั้งการรับประทานยาภายหลังกลับไปอยู่บ้าน หากผู้ป่วยลืมรับประทานยาหรือปฏิเสธการรับประทานยา ผู้ดูแลควรเข้ามาช่วยกระตุ้นหรือจัดยาให้ผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีปัญหาในการจดจำขนาดของการรับประทานยา พยาบาลควรแนะนำให้ผู้ป่วยใช้กระดาษหรือกระดานบันทึกการรับประทานยา หรือใช้กล่องในการจัดยาเพื่อให้ได้รับขนาดยาที่ถูกต้องในแต่ละวัน

3. เอกสารอ้างอิง

3.1. วไลลักษณ์พุ่มพวง (2559) การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด, สิทธิในการใช้ยา, พวงเพชรเกสรสมุทร, นพพรว่องศิริ (แก้ไข), การพยาบาลจิตแพทย์ครั้งที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: สแกนอาร์ต.

4. สมาชิกกลุ่ม

4.1. 1. นางสาวรติรส ศรีกุล 59010137 2. นางสาวรุ่งเรือง เจริญเขต 59010143 3. นางสาววริศรา ไชยเคน 59010146 4. นางสาวรสา อุดมพันธ์ 59010254 5. นายวชิรวิทย์ ดาวเรือง 59010258 6. นางสาวศุภาพิชญ์ เชื้อจันทร์ 59010268 7. นายสุทิน ชาลี 59010275 8. นางสาวสิริยา สืบสุนทร 59010298

5. กลไกลการออกฤทธิ์

5.1. Serotonin - Dopamine Antagonist - ออกฤทธิ์แรงตัวรับ D2 ชนิดที่เดิน mesolimbic ผลลดPositive symptoms - ออกฤทธิ์แรงตัวรับ 5-HT2A และเพิ่มการหลั่ง dopamine ที่ mesocortical pathway ผลลดNegative symptoms - 5 HT2A antagonist ที่ nigrostriatal pathway ช่วยลดEPS และ Tardive dyskinesia - 5-HT2A antagonist ที่ tuberoinfundibular pathway ช่วยลด hyperprolactinemia

6. กลุ่มยา

6.1. 1.Risperidone

6.2. 2.Clozapine

6.3. 3.Quetiapine

6.4. 4. ยาใหม่กลุ่มอื่น ๆ 4.1Olanzapine 4.2paliperidone 4.3Ziprasidone

7. ขอขอบคุณค่ะ