Mine Map ความสัมพันธ์เนื้อหาบทที่ 1- 3

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Mine Map ความสัมพันธ์เนื้อหาบทที่ 1- 3 by Mind Map: Mine Map ความสัมพันธ์เนื้อหาบทที่ 1- 3

1. ประเภทชีวิตกับสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ

1.1. 1.ธรรมชาติสร้างหรือทรัพยากรธรรมชาติ(Natural Environment or Natural Resource) ประกอบด้วนสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

1.1.1. 1.1 สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment)หรือสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (biological environment) เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น พืช(ป่าไม้) สัตว์(สัตว์ป่าหรือสัตว์น้ำ)

1.1.2. 1.2 สิ่งไม่มีชีวิต(Abiotic Environment)หรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ(physical environment) เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่มีชีวิต ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ทั้งมองเห็นได้และไม่ได้ เช่น ดิน น้พ อากาศ

1.2. 2.มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Make Environment) ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

1.2.1. 2.1 สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้(Concrete Environment) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1.2.1.1. สิ่งมีชีวิต เช่น พืชตัดต่อยีนหรือสัตว์ที่เกิดจากการโคลนนิ่ง

1.2.1.2. สิ่งไม่มีชีวิต เช่น หินสังเคราะห์ ไฟเบอร์กลาส เพาะเนื้อเยื่อพืช หัวเชื้อจุลินทรีย์

1.2.2. 2.2 สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ จัดเป็นสิ่งแวดล้อมทาวสัวคม เช่น กฎหมาย จารีตประเพณี วัฒนธรรม

2. การทำงานของชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่ซับซ้อน คือ 1.1 การหมุนเวียนธาตุอาหารแบบวัฏจักร 1.2 การถ่ายทอดสารอาหารผ่านห้วงอาหารหรือสายใยอาหาร 1.3 ความสัมพันธ์ 8 แบบ

2.1. 1.1 การหมุนเวียนธาตุอาหารแบบวัฎจักร ผ่านตัวกลาง อากาศ ดินและน้ำ

2.1.1. อากาศ(Atmosphere cycle) - ธาตุคาร์บอน(C) - ธาตุออกซิเจน(O) - ไนโตรเจน(N)

2.1.2. ดิน(Lithosperic cycle) - ธาตุฟอนฟอรัส(P) - ธาตุกำมะถัน(S)

2.1.3. น้ำ(Hydrologicycle) - ธาตุไฮโดรเจน

2.2. 1.2 การถ่ายทอดสารอาหารผ่านห้วงอาหารหรือสายใยอาหาร จำแนกตามบทบาทของแหล่งอาหาร มี 3 ประเภท

2.2.1. 1.ห่วงโซ่อาหารแบบจับกินหรือแบบผู้ล่า การถ่ายทอดแหล่งอาหารจากเหยื่อไปยังผู้ล่า

2.2.2. 2.ห่วงโซ่อาหารแบบกินซาก แหล่งอาหารมาจากเศษซากพืชหรือซากสัตว์ ไปยังสัตว์กินซาก ไปยังจุลินทรีย์

2.2.3. 3.ห่วงโซ่อาหารแบบพาราสิต แหล่งอาหารมาจากผู้ถูกอาศัย ถูกถ่ายทอดไปยังจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค

2.2.4. สายใยอาหาร ลักษณะการถ่ายทอดสารอาหารแบบห่วงโซ่อาหารจะเป็นเส้นตรงเท่านั้น แต่สายใยอาหารจะซับซ้อนอยู่ในห่วงโซ่ทั้ง 3 ประเภทไม่เป็นเส้นตรง

2.3. 1.3 รูปแบบความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ 8 รูปแบบ

2.3.1. 1.การพึ่งพา(Mutualism)(+,+) ได้ประโยชน์ทั้งคู่ แยกกันไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

2.3.2. 2.ได้รับประโยชน์ร่วมกัน(Protocooperation)(+ +) ได้รับประโยชน์ทั้งคู่ แยกกันอยู่ได้ ไม่มีผลกระทบ

2.3.3. 3.การเกื้อกูล(Commensalism)(+,0) สิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ประโยชน์ อีกสิ่งมีชีวิตไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

2.3.4. 4.ผู้ล่า(Predation)(+,-) สิ่งมีชีวิตหนึ่งเสียประโยชน์ คือ เหยื่อ แต่สิ่งมีชีวิตได้ประโยชน์ คือ ผู้ล่า

2.3.5. 5.ปรสิต(Parasitism)(+,-) สิ่งมีชีวิตเสียประโยชน์ คือ ผู้ให้อาศัย(host)และเป็นโรค แต่สิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ประโยชน์

2.3.6. 6.การไม่ได้และไม่เสียประโยชน์(Neutralism)(0,0) สิ่งมีชีวิตสองชนิดอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

2.3.7. 7.การแข่งขัน(Competition)(-,-) ต่างฝ่ายต่างเสีบประโยชน์ทั้งคู่

2.3.8. 8.อยู่ร่วมกันแบบเป็นปฎิปักษ์ต่อกัน(antagonistic)(-,0) สิ่งมีชีวิตไม่ได้และไม่เสียประโยชน์จากการหลั่งสารปฎิชีวนะของสิ่งมีชีวิตอีกชนิด

3. การประชาสัมพันธ์และการขยายนำไปปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการอนุรักษ์ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

3.1. การประชาสัมพันธ์และการขยายนำไปปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการอนุรักษ์ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้มนุษย์ตระหนักและเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญทรัพยากรธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหา ผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

4. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน

4.1. ขั้นตอนที่ 5 การสรุป/การวิเคราะห์ บ่งชี้ว่าสมมุติฐานที่วางไว้สอดคล้องกับผลการทดลองหรือไม่ หากการทดลองมีความตรงตามสมมุติฐานทุกครั้งจะเรียกความรู้นั้นว่า ทฤษฎีหรือกฎ

4.2. ขั้นตอนที่ 4 ทดลอง(Testing)เป็นการพิสูจน์สมมุติฐานว่าจริงหรือเท็จ

4.3. ขั้นตอนที่ 3 การตั้งสมมุติฐาน(Hypothesis) กรอบแนวคิดที่สอดคล้องกับปัญหา บูรณาการศาสตร์หลายๆศาสตร์ ลดขั้นตอนหลายชนิดและหลายครั้ง โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

4.4. ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล(Collecting data) รวมรวมองค์ความรู้ที่มีความสอดคล้องที่สนับสนุนกับปัญหาที่สังเกต

4.5. ขั้นตอนที่ 1 การสังเกตและตั้งปัญหา(Observe and Problem) สำรวจภาคสนามจริงทำให้ทราบถึงปัญหา ตั้งคำถามจากปัญหาที่เกิด

5. - ประโยชน์และความสำคัญ - สาเหตุและผลกระทบจากการไม่อนุรักษ์

5.1. ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ

5.1.1. - ช่วยควบคุมปริมาณและสัดส่วนชองโครงสร้างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ให้ทำงานร่วมกันได้ ไม่เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม - เป็นแหล่งปัจจัยสี่และปัจจัยห้า เป็นสิ่งอำนวยความสะดวก เพียงพอในดำรงชีวิตของมนุษย์

5.2. สาเหตุการเกิดวิกฤติการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

5.2.1. - การเพิ่มจำนวนของประชากร เกิดอุตสาหกรรม - การขยายตัวทางเศรษฐกิจ บริโภคทรัพยากรเกินความจำเป็นเพื่อความสะดวกสบาย - ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีเพิ่มการผลิต แต่ทรัพยากรถูกทำลายเร็วขึ้น - ประชากรมนุษย์ขาดความรู้ ทำลายทรัพยากรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ - มนุษย์ต้องการนำทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการนันทนาการ เช่น ล่าสัตว์เพื่อเป้นนำมาเป็นของประดับ - การสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น ตึก ถนน ส่งผลให้สัตว์ไม่มีแหล่งอาศัย -การดำเนินนโยบายของรัฐ รัฐมีกฎหมายที่ไม่ศักดิ์สิทธิ์พอ ทำให้ผู้คนละเมิดทำผิดได้ - ขาดการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์จะช่วยชี้ให้เหเนความสำคัญและผลกระทบ

5.3. ผลกระทบการไม่อนุรักษ์ทรัพยาการธรรมชาติ

5.3.1. - ผลกระทบทางตรงต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ หากเกิดภาวะมลพิษสิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งมีชีวิตลดลงและอ่อนแอ - ผลกระทบทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เมื่อเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ทำให้โครงสร้างความสัมพันธ์ในธรรมชาติได้รับผลกระทบ

6. แนวทางการอนุรักษ์ร่วมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

6.1. 1. การนำนวัตกรรมหัวจุลินทรีย์ร่วมกับเทคโนโลยีในการอนุรักษ์ นวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์ปฎิปักษ์หรือจุลินทรีย์โปรไบโอติกจากจุลินทรีย์ปฎิปักษ์เพื่อช่วยปรับสภาพดิน เพิ่มภูมิคุ้มกัน มีความปลอดภัย ช่วยลดมลพิษสิ่งแวดล้อม คงสภาพสมดุลธรรมชาติ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตช่วยในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต

6.2. 2. การแบ่งสัดส่วนการอนุรักษ์ทรัพยากรต่อการใช้ประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม สัดส่วนการอนุรักษ์ต่อการใช้ประโยชน์ คือ 40:60 40 ส่วน สำหรับตามบทบาทหน้า เช่น การหมุนเวียนธาตุสารประกอบ การถ่ายทอดสารอาหารและพลังงาน ตามแนวคิดหลักนิเวศวิทยา 60 ส่วน มนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต แปรรูป พัฒนาด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศ เช่น ใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อปรับสภาพดิน แปรรูปขยะร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์

6.3. 3. การประชาสัมพันธ์และการขยายนำไปปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการอนุรักษ์ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้มนุษย์ตระหนักและเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญทรัพยากรธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหา ผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

7. การนำนวัตกรรมหัวจุลินทรีย์ร่วมกับเทคโนโลยีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสอดคล้องกับหลักนิเวศวิทยาการอนุรักษ์ เช่น การถนอม การประหยัด การนำกลับมาใช้ใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพ

7.1. การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของทรัพยากรธรรมชาติตามหลักนิเวศวิทยาการอนุรักษ์

7.1.1. 1.การถนอม(การรักษา) เช่น การเก็บรักษาพื้นที่ดินในรูปการปลูกคลุมดิน

7.1.2. 2.การบูรณะฟื้นฟู(ปรับปรุง) เช่น การฟื้นฟูบ่อกุ้งโดยการใส่จุลินทรีย์

7.1.3. 3.นำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ทรัพยากร น้ำ ดิน ป่าไม้

7.1.4. 4.เพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนสำหรับนาเกลือ ประมง

7.1.5. 5.นำสิ่งอื่นมาทดแทน เช่น ใช้ไฟเบอร์แทนเหล็กในการประกอบรถยนต์

7.1.6. 6.สำรวจแหล่งทรัพยากร เช่น ค้นหาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานจากน้ำมัน

7.1.7. 7.ประดิษฐ์ของเทียม เช่น ใช้ซีเมนต์ก่อสร้างแทนไม้

8. การแบ่งสัดส่วนการอนุรักษ์ ทรัพยากรต่อการใช้ประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม

8.1. สัดส่วนการอนุรักษ์ต่อการใช้ประโยชน์ คือ 40:60 40 ส่วน สำหรับตามบทบาทหน้า เช่น การหมุนเวียนธาตุสารประกอบ การถ่ายทอดสารอาหารและพลังงาน ตามแนวคิดหลักนิเวศวิทยา 60 ส่วน มนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต แปรรูป พัฒนาด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศ เช่น ใช้ปุ๋ยชีวภาพเพื่อปรับสภาพดิน แปรรูปขยะร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์