ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง by Mind Map: ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

1. อุณหภูมิ

1.1. อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เนื่องจากอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ ดังนั้นถ้าอุณหภูมิเหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์จะทำให้พืชมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง

1.1.1. 1.อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงเนื่องจากอัตราการหายใจและอัตราโฟโตเรสไพเรชันเพิ่มขึ้น การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จึงลดลงด้วย

1.1.2. 2.เมื่อุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงมากๆ จะมีผลทำให้สมบัติการเป็นเยื่อเลือกผ่านของเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ต่างๆที่จำเป็นต่อการทำงานของกระบวนการสังเคราะห็ด้วยแสงสูญเสียความสามารถไปด้วย ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง

1.1.3. 3.เมื่ออุณหภูมิสูงจะทำให้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเสียสภาพไป

2. อายุใบ

2.1. ในพืชที่อ่อนหรือแก่เกินไปจะมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำกว่าใบพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่ เพราะว่าใบที่อ่อนเกินไปการพัฒนาของคลอโรพลาสต์ยังไม่เจริญเต็มที่ส่วนใบที่แก่เกินไปจะมีการสลายตัวของกรานุมและคลอโรฟิลล์มีผลทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชลดลงไป จากที่ได้ศึกษมาแล้วว่าปริมาณน้ำในดินและความชื้นในอากาศมีผลต่อการปิดเเปิดปากใบของพืช การปิดเปิดปากใบจะมีผลต่อการแพร่ของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่แพร่เข้าออกจากปากใบ ดังนั้นปริมาณน้ำที่พืชได้รับจะมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

3. ปรมาณน้ำ

3.1. เมื่อพืชขาดน้ำอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง เนื่องจากปากใบของพืชจะปิดเพื่อลดการคายน้ำ ซึ่งทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แพร่เข้าสู่ปากใบได้ยาก

3.2. สำหรับในสภาพน้ำท่วมหรือดินชุ่มไปด้วยน้ำ ทำให้รากพืชขาดแก๊สออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจซึ่งมีผลกระทบต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง

4. รายชื่อสมาชิก ม.5/4 1.นายเกริกพล อยู่เจริญ เลขที่ 2 2.นายนนทกร มูลทะสิน เลขที่ 3 3.นายพศวัต เปี้ยปลูก เลขที่ 26 4.นายวีระพันธุ์ ดอนกิจภัย เลขที่ 31 5.นางสาวชลธิชา ใจคำต๋า เลขที่ 38 6.นายพีระเดช เดชะทา เลขที่ 44

5. แสงและความเข้มแสง

5.1. ไลท์คอมเพนเซชันพอยท์( light compensation point )

5.1.1. คาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยออกมาเนื่องจากการหายใจ เมื่อความเข้มของแสงเพิ่มขึ้นจนกระทั่งอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจเท่ากับอัตราการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จากการสังเคราะห์ด้วยแสงเรียกจุดที่ความเข้มแสง

5.2. จุดอิ่มตัวของแสง (light saturation point)

5.2.1. เมื่อให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นอัตราการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิจะเพิ่มขึ้น และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของแสงมากขึ้นเรื่อยๆ จะถึงจุดหนึ่งที่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของแสงแล้วอัตราการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิจะไม่เพิ่มขึ้น เราเรียกค่าความเข้มข้นของแสง

5.3. เนื่องจากพืชในที่ร่มมีอัตราการหายใจต่ำกว่าพืชที่อยู่กลางแจ้งจึงมีการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิ เป็นศูนย์ได้ที่ระดับความเข้มแสงต่ำ ดังนั้นพืชในที่ร่มจึงมีไลท์คอมเพนเซชันพอยท์ต่ำกว่าพืชที่อยู่กลางแจ้ง ในพืชส่วนใหญ่จะมีจุดอิ่มตัวของแสงในช่วงแสงประมาณ 300 – 1000 ไมโครmol ของโฟตอน

6. คาร์บอนได้ออกไซด์

6.1. ถ้ามีปริมาณแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์ต่ำมาก

6.1.1. ปริมาณการตึงคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าการหายใจระดับเซลล์ของพืช

6.2. ถ้ามีปริมาณแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์เพียงพอ

6.2.1. ปริมาณการตึงคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับการหายใจระดับเซลล์ของพืช

6.2.1.1. เรียกจุดว่า คาร์บอนไดออกไซด์คอมเพนเซชีนพอยท์ ( carbondioxide compensation point )

6.3. ถ้ามีปริมาณแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์สูงมาก

6.3.1. ปริมาณการตึงคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการหายใจระดับเซลล์ของพืช

6.3.1.1. และสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จนความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศสุทธิไม่เพิ่มขึ้น

6.3.1.1.1. เรียกค่าความเข้นข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ณ จุดนี้ว่า จุดอิ่มตัวของคาร์บอนไดออกไซด์ ( carbondioxide saturation point )

7. สารอาหาร

7.1. ธาตุแมกนีเซียมและไนโตรเจน

7.1.1. เป็นธาตุสำคัญในองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ การขาดธาตุเหล่านี้ส่งผลให้พืชเกิดอาการใบเหลืองซีดที่เรียกว่า

7.1.1.1. คลอโรซิส (chlorosis)

7.2. ธาตุเหล็ก

7.2.1. จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์และเป็นองค์ประกอบของไซโทโครมซึ่งเป็นตัวถ่ายอิเล็กตรอน

7.3. ธาตุแมงกานีสและคลอรีน

7.3.1. จำเป็นต่อกระบวนการแตกตัวของน้ำในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง การขาดธาตุอาหารต่างๆ ที่กล่าวมานี้จะมีผลให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงด้วย