การพยาบาลในระยะที่ 3 ของการคลอด

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพยาบาลในระยะที่ 3 ของการคลอด by Mind Map: การพยาบาลในระยะที่ 3 ของการคลอด

1. ความหมาย

1.1. เริ่มจากทารกคลอดจนถึงรกและเยื่อหุ้มทารกคลอดหมด ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-15 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที ทั้งในครรภ์แรกและครรภ์หลัง

2. การประเมินอาการและอาการแสดงของรกลอกตัว

2.1. Uterine sign

2.1.1. มดลูกจะเปลี่ยนแปลงจากแบนเป็นกลมขนาดจะเล็กลง

2.1.2. มดลูกจะหดตัวแข็ง

2.1.3. ตำแหน่งของมดลูกจะสูงขึ้นเหนือระดับสะดือประมาณ 0.5 เซนติเมตร

2.1.4. เคลื่อนไหวไปมาได้ เพราะไม่ได้อยู่ในช่องเชิงกราน

2.1.5. ลักษณะหน้าท้องเป็นสองลอน ส่วนมากลอนบนจะเป็นมดลูกมีลักษณะแข็งและเอียงไปทางขวา เนื่องจากทางซ้ายเป็นลำไส้ ส่วนลอนล่างจะเป็นรกมีลักษณะนิ่ม

2.2. Cord sign

2.2.1. สะดือจะมีการเคลื่อนต่ำของสายสะดือ เนื่องจากรกลอกตัว เคลื่อนต่ำมาอยู่บริเวณมดลูกส่วนล่าง

2.2.2. สายสะดือจะเหี่ยว คลายเกลียว และไม่มี Pulsation

2.2.3. การทดสอบสายสะดือ (cord test) โดยใช้มือกดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าและโกยมดลูกขึ้นไปข้างบน สายสะดือจะไม่เคลื่อนตามเข้าไปในช่องคลอดอีก

2.3. Vulva sign

2.3.1. มีเลือด

2.3.1.1. รกเริ่มลอกตัวจากบริเวณขอบล่างของรก เป็นการลอกตัวแบบเมททิวส์ ดันแคน (Matthews Dancan’s method )

2.3.2. ไม่มีเลือด

2.3.2.1. รกเริ่มลอกตัวบริเวณตรงกลาง เป็นการลอกตัวแบบชูสท์ (Schultze’s method)

3. การพยาบาล

3.1. ป้องกันการตกเลือด

3.1.1. ขณะรอรกลอกตัวไม่ควรใช้มือคลึงมดลูก เพราะจะกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว ทำให้ปากมดลูกปิด (Cervical cramp) ทำให้รกไม่สามารถคลอดผ่านมดลูกออกมาได้

3.1.2. ตรวจดูกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง ถ้าพบว่ากระเพาะปัสสาวะเต็ม ควรกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะ ถ้ามารดาไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้อาจพิจารณาสวนปัสสาวะให้

3.1.3. หลังจากที่รกคลอดแล้วควรคลึงมดลูกทุก 15 นาที เพื่อกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว

3.1.4. ฉีดยาเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด WHO แนะนำให้ฉีดขณะไหล่หน้าคลอด

3.2. ป้องกันการติดเชื้อ

3.2.1. ผู้ทำคลอดควรให้การพยาบาลโดยใช้หลัก Sterile technique

3.3. ให้ความอบอุ่นแก่ผู้คลอด

3.3.1. ควรให้ความอบอุ่นแก่ผู้คลอด โดยหาผ้าห่มมาคลุมบริเวณหน้าอกและแขน หรือปิดแอร์

3.4. การทำคลอดรกและเยื่อหุ้มทารก การทำคลอดรก

3.4.1. Modified Crede’maneuver

3.4.2. Brandt-Andrew maneuver

3.4.3. วิธีการดึงสายสะดืออย่างมีการควบคุม (controlled cord traction)

3.4.4. วิธีดึงสายสะดือ (cord traction)