สารละลาย (Solution)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สารละลาย (Solution) by Mind Map: สารละลาย (Solution)

1. การเตรียมสารละลาย

1.1. การเตรียมจากสารบริสุทธิ์

1.1.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

1.1.1.1. Simulation โดยจาก simulation จะมีให้เลือกเติมตัวละลายในสถานะของแข็งลงในตัวทำละลาย แล้วจึงวัดความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตี จะเห็นได้ว่าก่อนเติมตัวละลาย ตัวทำละลายมีความเข้มข้นเป็น 0 และเมื่อเติมตัวละลาย สารละลายมีความเข้มข้นขึ้น (ดังลิงค์ที่แนบในลูกศร)

1.1.1.2. แบบจำลอง ให้นักเรียนลองวาดปริมาณสารที่ถูกเติมลงมาในตัวทำละลายตามโจทย์ที่ครูให้ แล้วอธิบายความสัมพันธ์เพื่อเพิ่มความเข้าใจ พร้อมทั้งจำแนกปริมาณตัวละลายเดิม ตัวละลายที่ใส่เข้ามาใหม่ ปริมาณตัวทำละลาย และความเข้มข้นของสารละลายใหม่

1.1.1.3. แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น

1.2. การเจือจางสารละลาย

1.2.1. สื่อที่ใช่ในการสอน

1.2.1.1. Simulation โดยจาก simulation จะมีให้เลือกเติมสารละลายลงในตัวทำละลาย แล้วจึงวัดความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตี จะเห็นได้ว่าก่อนเติมสารละลาย ตัวทำละลายมีความเข้มข้นเป็น 0 และเมื่อเติมตัวละลาย สารละลายมีความเข้มข้นขึ้น (ดังลิงค์ที่แนบในลูกศร)

1.2.1.2. การทดลอง โดยนำบิกเกอร์มา 2 ใบ ใบที่ 1 มีสารละลายน้ำแดงอยู่จำนวนหนึ่ง ส่วนใบที่ 2 มีแต่ตัวทำละลายคือน้ำเปล่า จากนั้นลองให้นักเรียนปิเปตสารละลายจากบิกเกอร์ใบที่ 1 มาบิกเกอร์ใบที่ 2 สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งให้นักเรียนอธิบาย และคำนวณว่าความเข้มข้นของบิกเกอร์ใบที่สองมีค่าเท่าใดหลังจากเติมสารละลายลงไป (โดยที่สารละลายทั้ง 2 บิกเกอร์มีปริมาตรเท่ากัน)

1.2.1.3. แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น

2. สมบัติของสารละลาย

2.1. จุดเดือด

2.1.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

2.1.1.1. การทดลอง การทำลองที่ 1 นำสารละลายเอทานอลต้มในสารละลายกลีเซอรอล โดยทำการวัดอุณหภูมิของตัวทำละลายที่ต้มเดือดเปรียบเทียบ กับอุณหภูมิของสารละลายที่ต้มเดือด แล้วจึงให้นักเรียนอภิปรายและวิเคราะห์ผลการทดลองร่วมกัน จะได้ว่าจุดเดือดของสารละลายจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดเดือดตัวทำละลาย การทดลองที่ 2 ใช้ตัวละลายเดิมใส่ลงในตัวทำละลายใหม่และทำการทดลองเช่นเดิม และใช้ตัวทำละลายเดิม แต่เปลี่ยนตัวละลาย จากนั้นอภิปรายและวิเคราะห์เปรียบเทียบผลที่ได้ จะได้ว่าจุดเดือดของสารละลายขึ้นอยู่กับชนิดตัวทำไม่ใช่ชนิดตัวละลาย

2.1.1.2. พาวเวอร์พ้อยท์ ทำภาพประกอบความเข้าใจ สรุปเป็นคีย์เวิดที่เข้าใจง่าย

2.1.1.3. แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึั้น

2.2. จุดหลอมเหลว

2.2.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

2.2.1.1. การทดลอง การทำลองที่ 1 นำนำแข้.และเกลือมา โดยทำการวัดอุณหภูมิของน้ำแข็งก่อนใส่เกลือลงไป หลังจากนั้นจึงทำการใส่เกลือลงไปแล้ววัดอุณหภูมิ หลังจากนั้นอภิปรายและวิเคราะห์ผลที่ได้

2.2.1.2. พาวเวอร์พ้อยท์ ทำภาพประกอบความเข้าใจ สรุปเป็นคีย์เวิดที่เข้าใจง่าย

2.2.1.3. แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึั้น

3. รายชื่อผู้จัดทำ

3.1. นางสาวเกศกมล บุญถนอม

3.2. รหัสนิสิต 6114600452

4. ความเข้มข้น

4.1. ร้อยละ

4.1.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

4.1.1.1. การทดลอง โดยใช้น้ำแดงผสมลงในน้ำเปล่า โดยแก้วที่ 1 และแก้วที่ 2 มีความเข้มข้นเท่ากันแต่ปริมาตรไม่เท่ากัน ส่วนแก้วที่ 3 ปริมาตรของสารละลายาเท่ากันปริมาตรของแก้วใบที่ 1 แต่ความเข้มข้นไม่เท่ากัน จากนั้นให้เด็กนักเรียนอภิปรายว่าเกิดอะไรขึ้น

4.1.1.2. ใช้การทำกิจกรรม หรือการเล่นเกมส์ โดยอาจจะใช้จำนวนลูกบอลสีที่แตกต่างกัน โดยอาจจะนำลูกบอลสีแดง 3 ลูก ผสมอยู่กับลูกบอลสีขาว 7 ลูก จากนั้นลองถามนักเรียนว่า "จงหาเปอร์เซนต์ของจำนวนลูกบอลสีแดงว่ามีทั้งหมดกี่เปอร์เซนต์" แล้วให้นักเรียนอภิปรายผลหลังการเล่นเกมส์ โดยลูกบอลสีแดงคือจำนวนตัวละลาย ลูกบอลสีขาวคือจำนวนตัวทำละลาย และจำนวนลูกบอลทั้งหมดคือสารละลายนั่นเอง

4.1.1.3. ตารางจำแนก โดยประกอบด้วยช่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปริมาณตัวละลาย 2. ปริมาณตัวทำละลาย 3. ปริมาณสารละลาย 4. ความเข้มข้นในหน่วยร้อยละ โดยหน่วยนักเรียนจะต้องเป็นคนเขียนเอง

4.2. ส่วนในล้านส่วน

4.2.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

4.2.1.1. พาวเวอร์พ้อยท์ นำภาพประกอบพร้อมการบรรยายของครูเพื่อให้นักเรียนสามารถเห็นถึงประโยชน์ของการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณโลหะหนักในแหล่งน้ำ ปริมาณจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร เป้นต้น

4.2.1.2. ใช้การทำกิจกรรม หรือการเล่นเกมส์ โดยอาจจะใช้จำนวนของลูกปัดสีต่างกัน เช่น อาจจะนำลูกปัดสีน้ำเงินจำนวน 3 เม็ด ใส่ลงไปในกล่องที่มีลูกปัดสีขาวอยู่จำนวน 150 เม็ด จากนั้นลองให้นักเรียนหาเปอร์เซนต์ หรือในร้อยส่วนของลูกปัดสีน้ำเงิน จากนั้นจึงให้นักรเรียนหาจำนวนลูกปัดสีน้ำเงินในล้านส่วน

4.2.1.3. ตารางจำแนก โดยประกอบด้วยช่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปริมาณตัวละลาย 2. ปริมาณตัวทำละลาย 3. ปริมาณสารละลาย 4. ความเข้มข้นในหน่วยล้านส่วน โดยหน่วยนักเรียนจะต้องเป็นคนเขียนเอง

4.3. ส่วนในพันล้านส่วน

4.3.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

4.3.1.1. พาวเวอร์พ้อย (เช่น เดียวกันกับส่วนในล้านส่วนแต่เปลี่ยนเป็นในพันล้านส่วน)

4.3.1.2. ใช้การทำกิจกรรม หรือการเล่นเกมส์ (เช่น เดียวกันกับส่วนในล้านส่วนแต่เปลี่ยนเป็นในพันล้านส่วน)

4.3.1.3. ตารางจำแนก (เช่น เดียวกันกับส่วนในล้านส่วนแต่เปลี่ยนเป็นในพันล้านส่วน)

4.3.1.4. แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

4.4. โมลาริตี

4.4.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

4.4.1.1. Simulation ซึ่งจาก simulation หากให้นักเรียนลองใส่ตัวทำละลายลงในน้ำและวัดความเข้มข้นของสารละลายจะได้หน่วยความเข้มข้นออกมาในหน่วยโมลาริตี แต่หากปล่อยน้ำออกจนหมดเหลือเพียงแต่ตัวทำละลายเท่านั้นก็จะวัดความเข้มข้นของสารละลายไม่ได้ ดังนั้นจึงให้นักเรียนอภิปรายว่าเป็นเพราะเหตุใด จนกระทั่งนักเรียนรู้ว่าความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตีประกอบด้วยจำนวนตัวละลายในสารละลายนั่นเอง (ซึ่งมีลิงค์ของ Simulation ประกอบตามลูกศร)

4.4.1.2. พาวเวอร์พ้อยท์ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของหน่วยต่าง ๆ เช่น โมล สามารถหามาได้จาก 1. น้ำหนัก 2. ปริมาตร 3. อนุภาค แล้วแปลงมาเป็นหน่วยโมลได้อย่างไร รวมถึงปริมาตรในหน่วย 1l = 1dm3 = 1000cm3 เป็นต้น

4.4.1.3. ตารางจำแนก โดยประกอบด้วยช่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปริมาณตัวละลาย (mol) 2. ปริมาณตัวทำละลาย 3. ปริมาณสารละลาย (l) 4. ความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตี

4.4.1.4. แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

4.5. โมแลลิตี

4.5.1. สื่อที่่ใช้ในการสอน

4.5.1.1. พาวเวอร์พ้อยท์ ประกอบด้วยภาพที่เข้าใจง่าย อาจจะเป็นจำนวนตัวละลายค่าหนึ่งในตัวทำละลาย เช่นน้ำ 1000 g หรือ 1 kg แล้วจึงแปลงออกมาเป็นความเข้มข้นในหน่วยโมแลริตี จากนั้นอาจจะยกตัวอย่าง น้ำเกลือขึ้น โดยใช้การถามเด็กประกอบว่าน้ำเกลือเกิดจากอะไร เด็กก็จะตอบว่า น้ำ กับ เกลือ ซึ่งน้ำคือตัวทำละลาย และเกลือคือตัวละลาย ดังนั้นก็จะได้สูตรในการคำนวณออกมา คือ สารละลาย = ตัวทำละลาย + ตัวละลาย เพื่อใช้ในการแปลงหน่วยโมแลริตีเป็นหน่วยความเข้มข้นอื่น ๆ

4.5.1.2. ตารางจำแนก โดยประกอบด้วยช่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ปริมาณตัวละลาย (mol) 2. ปริมาณตัวทำละลาย (kg) 3. ปริมาณสารละลาย 4. ความเข้มข้นในหน่วยโมแลริตี

4.5.1.3. แบบฝึกหัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

4.6. เศษส่วนโมล

4.6.1. สื่อที่ใช้ในการสอน

4.6.1.1. การทำกิจกรรม หรือการเล่นเกมส์ เช่น การนำลูกบอลสีต่าง ๆ กัน ดังนี้ 1. สีแดงจำนวน 2 ลูก 2. สีขาวจำนวน 5 ลูก และ 3. สีเขียวจำนวน 3 ลูก จากนั้นจึงถามนักเรียนว่า จำนวนลูกบอลสีแดง ขาว และ เขียวอยู่จำนวนเท่าไหร่ในทั้งหมด และหากให้นักเรียนลองหาเป็นเปอร์เซนต์ก็จะได้ร้อยละโดยโมล

4.6.1.2. แบบฝึกหัด เพื่อให้เข้าใจเศษส่วนโมลมากยิ่งขึ้น