ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม Orem's Nursing Theory

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม Orem's Nursing Theory by Mind Map: ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม Orem's Nursing Theory

1. จุดเน้น/ข้อตกลงเบื้องต้น Assumptins

1.1. ให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องในการดูแลตนเองที่เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ

1.1.1. การกระทำให้/การกระทำ

1.1.1.1. พยาบาลต้องช่วยผู้ป่วยในการหาข้อมูลตัดสินใจ วางแผนกระทำและจะต้องบอกผู้ป่วยในการหาผลรายงานว่ามีอะไรบ้างแก่พยาบาล

1.1.2. การชี้แจ้ง

1.1.2.1. เป็นวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจเลือกได้

1.1.3. การสนับสนุน

1.1.3.1. เป็นวิธีการส่งเสริมความพยายามให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้

1.1.4. การสอน

1.1.4.1. โดยสอนในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการเรียนรู้ มีความพร้อมและมีการวางแผนเป้าหมาย เลือกวิธีการดูแลร่วมกัน

2. แนวทางการประยุกต์ใช้

2.1. ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวินิจฉัยและพรรณนา ( Diagnosis and Prescription )

2.1.1. เป็น ขั้นตอนที่ระบุถึงความพร่องในการดูแลตนเอง

2.1.1.1. โการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการดูแลตนเอง

2.1.1.2. พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถกับความต้องการการดูแลตนเอง

2.2. ขั้นตอนที่ 2 ขั้นวางแผน ( Design and Plan )

2.2.1. เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องเมื่อทราบถึงความพร่องในการดูแลตนเอง

2.2.1.1. เลือกระบบการพยาบาลให้เหมาะสม แล้วนำมาวางแผน

2.2.1.2. มีการกำหนดเป้าหมายหรือผลลัพท์ทางการพยาบาล

2.3. ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติการพยาบาลและควบคุม ( Regulate and Control )

2.3.1. เป็นขั้นตอนที่พยาบาลนำกิจกรรมไปลงมือปฏิบัติตามแผนการพยาบาล

2.3.1.1. มีจุดมุ่งหมาย คือการบรรลุความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด ( TSCD )

2.3.1.2. การประเมินผลลัพท์ทางการพยาบาลว่ามีประสิทธิภาพหรือ ไม่

2.3.1.3. ปกป้องหรือพัฒนาความสามารถหรือไม่

2.3.1.4. นำข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่การประเมินสภาวะอีกครั้ง

3. ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี

3.1. ผู้ก่อตั้ง คือ Dr.Dorothea E. Orem

3.2. ริเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปีค.ศ. 1958

3.3. จากประสบการณ์การทำงาน พบว่า

3.3.1. พยาบาลไม่สามารถบอกความและวัตถุประสงค์ของพยาบาลได้อย่างชัดเจน

3.3.2. การจัดหลักสูตรมีความยากลำบากในการกำหนดขอบเขต

4. แนวคิดหรือหลักการสำคัญ

4.1. การดูแลตนเองเป็นการกระทำที่จงใจ

4.2. เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบุคคลในการดำรงชีวิต สุขภาพและความผาสุก

4.3. การดูแลตนเองสามารถเรียนรู้ได้จากที่

4.3.1. บ้าน

4.3.2. โรงเรียน

4.3.3. ประสบการณ์

4.4. บุคคลมีความจำเป็นในการพัฒนาความรู้ ทักษะ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลตนเองและสุขภาพ

5. มโนมติหลัก/อภิกระบวนทัศน์ Metaparadigm

5.1. บุคคล

5.1.1. เป็นผู้ที่มีศักยภาพและสามาถกระทำตามที่ได้ตั้งใจไว้ (Deliberate action)

5.1.2. มีความสามารถที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง

5.1.3. วางแผนจัดระบบการดูแลตนเองได้ดี

5.1.4. มีความเป็นพลวัตร คือเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

5.2. สุขภาพ

5.2.1. คนที่มีสุขภาพดีทำหน้าที่ทั้งด้านสรีระ จิตสังคม

5.2.2. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น

5.2.3. ต้องดูแลตนเองในระดับที่เพียงพอและต่อเนื่อง

5.3. สิ่งแวดล้อม

5.3.1. บุคคลกับสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแยกออกจากกันได้

5.3.2. มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน

5.3.3. มีทั้งสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ทางสังคม วัฒนธรรมและชุมชน

5.4. การพยาบาล

5.4.1. เป็นการบริการสุขภาพ เน้น

5.4.1.1. การดูแลของบุคคล

5.4.1.2. ความสามารถและความความต้องการ

5.4.2. เป็นการช่วยปฏิบัติกิจกรรมการดูแลแทนบุคคล

5.4.2.1. เมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถกระทำได้

5.4.2.2. ช่วยให้บุคคลสามารถดูแลตนเองได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง