การใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ Transradial Catheterization

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ Transradial Catheterization by Mind Map: การใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ Transradial Catheterization

1. 3. กรณีที่เลือดไหลซึมไม่หยุด พยาบาลจะทำการ ห้ามเลือดโดยใช้เครื่องวัดความดันแบบใช้มือบีบ พันที่ต้นแขนข้างที่มีแผล แล้วใช้มือบีบให้ความดันขึ้น ไปอยู่ในตำแหน่งตัวเลขที่สูงกว่าความดันตัวบนของ ผู้ป่วย (systolic blood pressure) ประมาณ 20-40 มิลลิเมตรปรอท แล้วปลด TR Band ออกเพื่อทำการ กดแผลใหม่โดยใช้TR Band วางให้ตรงกับรอยแทง เข็มที่ข้อมือของผู้ป่วย แล้วใส่ลมเข้าไปใหม่จำนวน 12 cc หากพบว่าเลือดยังไม่หยุดพยาบาลจะแจ้งให้ แพทย์ทราบเพื่อให้การดูแลรักษาในขั้นตอนต่อไป

2. ก่อนทำหัตถการ แพทย์จะทำการทดสอบ ที่เรียกว่า Allen’s test ในผู้ป่วยทุกรายเพื่อทำการทดสอบการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงที่ข้อมือและนิ้ว ซึ่งหากพบว่าผลการทดสอบเป็น บวก หมายถึงระบบการไหลเวียนเลือดที่ข้อมือและการทำงานของเส้นเลือดปกติสามารถใส่สายสวนหัวใจทางหลอดเลือดแดงที่ ข้อมือได้ แต่หากผลการทดสอบเป็น ลบ ซึ่งหมายถึง ระบบไหลเวียนเลือดที่ข้อมือและการทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ ต้องพิจารณาหลอดเลือดแดงตำแหน่งอื่นเพื่อจะใส่สายสวนหัวใจ

3. ข้อจำกัดในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สายสวน หัวใจทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ

3.1. 1. ผู้ป่วยที่ทำการทดสอบ Allen’s test แล้ว ผลการทดสอบเป็นลบ

3.2. 2. ผู้ป่วยที่อาจต้องมีการรักษาด้วยเครื่องพยุงการ ทำงานของหัวใจ ( Intra-aortic balloon pump)

3.3. 3. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบการ ไหลเวียนเลือดของร่างกายส่วนบน ซึ่งในบางรายอาจ พบความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะ หลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) อย่างรุนแรง

3.4. 4. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาหลอดเลือดแดงที่ ข้อมือและแขนไว้เพื่อทำการรักษาอย่างอื่น เช่น ผู้ป่วย ที่ต้องฟอกไต (Hemodialysis) หรือต้องทำผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดให้หัวใจ (Coronary ArteryBypass Graph) หรือ CABG3

4. การเตรียมผู้ป่วยเพื่อการใส่สายสวนหัวใจ ทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ

5. การทดสอบ Allen’s test มีวิธีการ ทดสอบดังนี้

5.1. 1. ให้ผู้ป่วยวางมือลง และกำมือข้างที่ต้องการ ทดสอบ

5.2. 2. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งซ้ายและขวา กดลงบน หลอดเลือด radial artery และ ulnar artery โดยกดจนพบว่าเลือดไม่สามารถมาเลี้ยงได้จากการ กดหลอดเลือดแดงทั้งสองเส้นทำให้ผู้ป่วยมือซีดและ เย็นเนื่องจากไม่มีการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณ มือและนิ้วมือ

5.3. 3. ปล่อยนิ้วมือที่กดออกทีละข้าง แล้วสังเกตดู ว่ามือข้างที่ปล่อยจะกลับมาอุ่นและมีสีแดงเหมือนเดิมภายในกี่วินาทีหากพบว่าข้างที่ปล่อยมือแล้วมีสีแดง และอุ่นภายใน 8-10วินาที แสดงว่าให้ผลการทดสอบเป็นบวก แต่หากพบว่า เมื่อปล่อยมือแล้ว ไม่มีสีแดงกลับมาเหมือนเดิม มือยังเย็นและซีด หรือต้องใช้เวลานานกว่า 10 วินาทีเพื่อให้กลับมาเหมือนเดิม แสดงว่าให้ผลการทดสอบเป็น ลบ

5.4. หลังจากการทดสอบ Allen’s testและแพทย์เห็นว่าสามารถใส่สายสวนหัวใจ ทางหลอดเลือดที่ข้อมือได้สิ่งที่ต้องเตรียมต่อไปคือ

5.4.1. 1. ทำความสะอาดโดยการโกนขนบริเวณข้อมือ ข้างที่ทำ และบริเวณขาหนีบทั้งซ้ายและขวา เผื่อไว้ใน กรณีที่ทำหัตถการที่ข้อมือไม่สำเร็จ

5.4.2. 2. แพทย์จะกำหนดตำแหน่งที่แทงเข็ม แล้ว ฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณใต้ผิวหนังรอบๆ ตำแหน่งที่ จะแทงเข็ม

5.4.3. 3. หลังจากแทงเข็มแล้ว ค่อยๆ สอดสายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดงโดยมีเครื่อง Fluoroscopy บอกตำแหน่งของปลายสายสวน

5.4.4. 4. เมื่อใส่สายสวนไปถึงตำแหน่งหลอดเลือดแดง เอออตาร์แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจดูการตีบตัน ของหลอดเลือด กรณีที่พบว่ามีหลอดเลือดตีบตัน แพทย์สามารถขยายหลอดเลือดโดยใช้บอลลูนและใส่ ขดลวด (stent) ได้ทันทีโดยไม่ต้องแทงเข็มใหม่อีกครั้ง

5.4.5. 5. ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าTR Band ซึ่งมีลักษณะ คล้ายแถบกาว มีช่องสำหรับใส่ลมประมาณ 12 cc เพื่อใช้ลมเป็นตัวกดปากแผลเอาไว้ ป้องกันเลือดออก หลังจากทำหัตถการ2ชั่วโมง2 พยาบาลจะใช้Syringe ปล่อยลมโดยค่อยๆ ดูดลมเข้ามาใน Syringe แล้ว ปล่อยลมออกมาตามขั้นตอนดังนี

5.4.5.1. 1. เริ่มปล่อยลมครั้งแรก 3ccแล้วให้สังเกตว่า มีเลือดซึมออกมาจากปากแผลหรือไม่ หากพบว่าไม่มี เลือดซึม ให้ปล่อยลมครั้งละ 3 cc โดยห่างกันครั้งละ 15 นาทีจนกว่าจะปล่อยลมออกหมด

5.4.5.2. 2. กรณีที่ปล่อยลมออกมาแล้วพบว่ามีเลือดไหล ซึมออกมา ให้ใช้Syringeใส่ลมกลับเข้าไปใหม่ เท่ากับ จำนวนที่ปล่อย หรือจนกว่าจะพบว่าเลือดหยุดไหลซึม แล้วให้สังเกตการไหลซึมของเลือดต่อ

5.4.5.3. 4. หลังจากทำการปล่อยลม และสามารถอ่าน TR Band ออกได้แล้ว พยาบาลจะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ที่มีความเหนียว 2 ชั่วโมง แล้วทำแผลอีกครั้งโดยปิด พลาสเตอร์แบบบาง แล้วให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้

6. การปฏิบัติตัวภายหลังจำหน่ายออกจากโรง พยาบาล

6.1. 1. ไม่ควรบิดหรือหมุนข้อมือและทำงานที่ต้องใชข้อมือเช่น ใช้คอมพิวเตอร์ขับรถ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังทำหัตถการ

6.2. 2. ไม่ควรใช้ข้อมือข้างที่ทำหัตถการยกของหนัก เกิน 4.5 กิโลกรัม เป็นเวลา5วันภายหลังทำหัตถการ

6.3. 3. กรณีปวดแผลสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้

6.4. 4. อาจพบว่าบริเวณปากแผลมีก้อนเลือดเล็กๆ ประมาณเม็ดถั่วเขียว (small lump) เกิดขึ้น ซึ่งก้อน เลือดเหล่านั้นจะหายไปเองภายใน 2-4 สัปดาห์

6.5. 5. หากพบว่ามีเลือดซึมบริเวณปากแผล หรือมี ก้อนเลือดใต้ผิวหนังขนาดใหญ่ (Hematoma) ให้มา โรงพยาบาลก่อนวันนัดได

6.6. 6. หากผู้ป่วยมีไข้บริเวณแผลอักเสบ บวม แดง อาจเกิดการติดเชื้อที่แผลให้มาโรงพยาบาลก่อนวันนัดได้

7. ประโยชน์ของการใส่สายสวนหัวใจ ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ

7.1. 1. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่เกิดจาก การใส่สายสวนหัวใจทางหลอดเลือดแดงที่ขา 2. ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลนาน เนื่องจากภายหลังน้ำสายรัดข้อมือ (TR Band) ออก 2 ชั่วโมง ผู้ป่วยรถจำหน่ายออกจาก โรงพยาบาลได้2 3. ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะแทรกซ้อน 4. ภายหลังทำหัตถการผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตร ประจำวันเช่น เข้าห้องน้ำ หรือรับประทานอาหารเองได้ 5. กรณีที่ทำหัตถการแล้วพบว่ามีหลอดเลือด หัวใจตีบ แพทย์สามารถทำการขยายหลอดเลือดได้ ทันทีโดยไม่ต้องแทงเข็มใหม่อีกครั้ง 6. ให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สายสวนหัวใจทาง หลอดเลือดแดงที่ขา สามารถทำหัตถการสวนหัวใจ เพื่อทำการวินิจฉัย และให้การรักษาต่อไปได้ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยดังต่อไปนี้ 6.1. ผู้ป่วยที่นอนนานๆ ไม่ได้เช่น ผู้ป่วยที่ มีปัญหาปวดหลังเรื้อรัง ผู้ป่วยที่นอนนานแล้ว ปวดหลัง หรือในผู้ป่วยที่อ้วนมาก นอนนานๆ แล้วเหนื่อย 6.2 ผู้ป่วยที่นอนราบไม่ได้เลย ต้องนอน ศีรษะสูงตลอดเวลา เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจ ล้มเหลว นอนราบไม่ได้แต่มีความจำเป็นต้อง ตรวจสวนหัวใจหรือต้องขยายหลอดเลือดหัวใจ 6.3 ผู้ป ่วยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงที่ขา ตีบตัน หรือ คด โดยเปลี่ยนจากตำแหน่งของ หลอดเลือดแดงที่ขามาเป็นตำแหน่งของ หลอดเลือดแดงที่ข้อมือ

8. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใส่สายสวน หัวใจทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ

8.1. 1. ภาวะเลือดออกที่แผล (Bleeding) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีการใช้ยาต้าน การแข็งตัวของเลือดในการทำหัตถการเช ่น ยา Heparin,

8.2. 2. ภาวะมีก้อนเลือดใต้ผิวหนัง (Hematoma) เป็นภาวะที่มีเลือดมาสะสมรอบๆ เส้นเลือด ทำให้ เห็นเป็นก้อนเลือดนูนใต้ผิวหนัง

8.3. 3. ภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพองเทียม (Pseudoaneurysm) เป็นภ าว ะที่มีก้อนเลือด (Hematoma)3 รั่วออกมาจากหลอดเลือดแดง สาเหตุเกิดจากมีการ บาดเจ็บของหลอดเลือดแดง

8.4. 4. การทะลุระหว่างหลอดเลือดแดงและ หลอดเลือดดำ (Arteriovenous Fistular) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อสายสวนแทงเข้าไปที่หลอด เลือดแดงและทะลุไปยังหลอดเลือดดำ

8.5. 6. ภาวะความดันกล้ามเนื้อผิดปกติ (Compartment syndrome) สาเหตุเกิดจากการกดแผลเป็นเวลานาน ทำให้ เนื้อเยื่อบริเวณนั้นบวม ความดันในช่องกล้ามเนื้อเพิ่ม มากขึ้น เ

8.5.1. 5. ภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial Occlusion/Embolism) สาเหตุเกิดจากมีลิ่มเลือดมาอุดตันที่หลอดเลือด ขณะทำหัตถการเนื่องจากทหัตถการนาน ทำให้เลือด ไหลเวียนไม่สะดวก

8.6. 7. ภาวะแผลติดเชื้อ (Infection) เป็นภาวะที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคระหว่างทำหัตถการหรือทำการพยาบาล