การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ by Mind Map: การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ

1. การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจหนอง เลือด หรือเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนในปัสสาวะ หรืออาจตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ ในเลือด การตรวจด้วยรังสีวิทยา แพทย์อาจวินิจฉัยโรคกรวยไตอักเสบด้วยการอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (Voiding Cystourethrogram) เพื่อตรวจหาซีสต์ เนื้องอก หรือการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ

2. เกิดจากความผิดปกติที่ไต เช่น มีอาการอักเสบที่ไต จากโรคต่างๆ เช่น SLE, Scleroderma, Polyarteritis nodosa เบาหวาน Hypertension นิ่วในไต และอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น เนื้องอกของต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากมีการอุดตันในหลอดปัสสาวะ (Urethral Obstruction)

3. กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) คือ ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไตซึ่งอยู่ระหว่างไตกับท่อไต ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและเร่งด่วน เนื่องจากอาจทำให้ไตเสียหายถาวร หรือติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้

4. ปัสสาวะบ่อย แต่ครั้งละน้อยๆ มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด

5. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

6. เพศหญิง ผู้หญิงเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่า และอยู่ใกล้ช่องคลอดกับทวารหนัก -ผู้ที่ตั้งครรภ์ เพราะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น และความดันท่อไตสูงขึ้น หรือกรวยไตอาจอุดตันจากการถูกมดลูกกดเบียด ทำให้เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น ผู้ที่มีระบบทางเดินปัสสาวะอุดตันหรือมีโครงสร้างระบบทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติ ซึ่งทำให้ปัสสาวะไม่สะดวก เช่น ผู้ที่มีนิ่วในไต ระบบทางเดินปัสสาวะตีบ และผู้ชายที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต ผู้ที่กำลังติดเชื้อหรือเคยติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ที่มีเส้นประสาทหรือไขสันหลังรอบกระเพาะปัสสาวะเสียหาย ผู้ที่เคยใช้สายสวนปัสสาวะ เช่น เคยรับการผ่าตัด วินิจฉัยโรค หรือพักฟื้นในโรงพยาบาล ผู้ที่มีภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ ซึ่งปัสสาวะบางส่วนจะไหลย้อนจากกระเพาะปัสสาวะเข้าสู่ท่อไตและไตข้างใดข้างหนึ่งหรือไตทั้งสองข้าง โดยมักพบในเด็กเล็กที่มีความผิดปกติลักษณะนี้แต่กำเนิด ผู้ที่เคยได้รับการส่องกล้องหรือเคยรับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือดื่มน้ำน้อย ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานเกินไป ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียในกระดูก ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ แล้วเชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่กรวยไต หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เอดส์ หรือมะเร็ง รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่าย

7. Uninary tract infection หรือ UTI

7.1. กิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

7.2. เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย

7.3. ขณะที่ผู้ชายมีท่อปัสสาวะยาวกว่าและอยู่ห่างจากทวารหนัก โอกาสที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจึงมีน้อยกว่ามาก

7.4. สาเหตุ

7.4.1. การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี

7.4.2. การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

7.4.3. การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิงหากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี เช่น เช็ดทำความสะอาดจากด้านหลังมาด้านหน้า แทนที่จะเป็นจากด้านหน้าไปด้านหลังก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากช่อง

7.4.4. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

7.4.5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

7.5. อาการ ของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

7.5.1. รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด

7.6. ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน

7.7. การวินิจฉัย

7.7.1. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยการซักประวัติ

7.7.2. การตรวจปัสสาวะโดยส่งเพาะเชื้อ

7.8. วิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

7.8.1. การให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับชนิดของยา

7.8.2. การรักษาตามอาการหากจำเป็น เช่น ยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ

7.8.3. พยายามดื่มน้ำให้มากๆ

8. Nephrotic syndrome

8.1. สาเหตุ

8.1.1. 1. หน่วยไตอักเสบเรื้องรัง 2. เกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ได้แก่ 2.1 โรคของเนื้อเยื่อคอนเนคตีฟ เช่น เอสเอลอี (SLE) รูมาติค อาร์ไธรตีส (Rheumatic arthritis) 2.2 โรคที่เกิดกับหลายระบบของร่างกาย เช่น หลอดเลือดแดงหลายหลอดอักเสบ (Polyarteritis) 2.3 โรคติดเชื้อมักเกิดตามหลังต่อมทอนซิลอักเสบ 1-4 สัปดาห์ (โดยเฉลี่ย 10-14วัน) หรือพบในเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ขวบ ที่เป็นแผลพุพอง หรือฝีตามตัว 2.4 จากแบคทีเรีย เช่น โรคเรื้อน 2.5 จากปาราสิต เช่น มาลาเรีย 2.6 จากไวรัส เช่น ตับอักเสบจากไวรัส บี 2.7 โรคทางเมตาบอลิซึม เช่น เบาหวาน 2.8 เนื้องอก เช่น เนื้องอกของต่อมนํ้าเหลือง

8.2. อาการ

8.2.1. 1.อาการบวม บวมแบบกดบุ๋ม โดยระยะแรกบวมที่หนังตาและใบหน้าในตอนเช้า หายไปตอนบ่าย ถ้าเป็นมากจะบวมทั้งตัว (Anasarca) 2. มีไขมันในเลือดสูง โปรตีนในเลือดต่ำ 3. ปัสสาวะผิดปกติ คือ มีโปรตีนในปัสสาวะ 4. อาการของระบบทางเดินหายใจ หายใจลำบาก เนื่องจากมีน้ำในช่องท้อง (Ascitis) 5. อาการของระบบทางเดินอาหาร คือ เบื่ออาหาร ท้องเสียซึ่งเกิดจากมีอาการบวมของมิวโคซ่า

8.3. ลักษณะเด่น

8.4. การพยาบาล

8.4.1. 1.ป้องกัน หรือควบคุมการติดเชื้อ 2.ป้องกันการแตกของผิวหนัง 3.ป้องกัน หรือควบคุมอาการบวม 4.ป้องกันHypovolemiaและHypokalemia 5. ลดการสูญเสียพลังงาน ลดการทำงานของหัวใจ และลดอาการ Dyspnea 6.เสริมสร้างภาวะโภชนาการและส่งเสริมการเจริญเติบ โตและพัฒนาการของร่างกาย 7.ประคับประคองด้านจติ ใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว 8.เตรียมตวั ผู้ป่วยและครอบครัวในการกลับบ้าน

8.4.2. 1.มีโปรตีนในปัสสาวะมาก (Protinuria) มากกว่า 3.5 กรัม/วัน 2. อัลบูมินในเลือดตํ่า (Hypoalbuminuria) 3. บวม (Edema) 4. ไขมันในหลอดเลือดสูง (Hypercholesterolemia)

9. Acute glomerulonephritis

9.1. อาการ

9.1.1. 1.การปนเปื้อนของเซลล์เม็ดเลือดแดงในน้ำปัสสาวะ (Hematuria) จนกลายเป็นสีชมพู หรือสีโคล่า 2.เกิดอาการบวมน้ำที่บริเวณใบหน้า มือ เท้า หรือท้อง 3.มีความดันเลือดสูง 4.ปัสสาวะเป็นฟองเนื่องจากมีโปรตีนส่วนเกินปนออกมาในปัสสาวะ 5.อาการที่ปรากฏตามร่างกาย เช่น อ่อนล้า เหนื่อย เพลีย ปวดข้อ เป็นผื่นคัน หรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

9.1.2. สาเหตุ

9.1.2.1. การติดเชื้อโดยตรง แต่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้ออื่นๆของร่างกายที่พบบ่อยคือ Pharyngitis จาก - Streptococcus gr. A. (Post-streptococcal glomerulonephritis) หรือการติดเชื้อจากผิวหนัง และการติดเชื้ออื่นๆในเดึกจะพบได้บ่อยคือ Acutepost-streptococoal glomerulonephritis

9.2. การวินิจฉัยโรค

9.2.1. จากอาการและตรวจปัสสาวะพบมีเลือดและโปรตีนปนในปัสสาวะ มี Blood urea nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) ในเลือดสูง ซีด

9.3. การพยาบาล

9.3.1. การพยาบาล บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออก ชั่งน้ำหนักทุกวัน ตรวจปัสสาวะหา Specific gravity บันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิเพื่อป้องกันจากการติดเชื้อ ดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันผิวแตกจากอาการบวม สังเกตภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะไตวาย หัวใจล้มเหลว และมีอาการทางสมองเนื่องจากความดันเลือดสูง ติดตามผลการตรวจปัสสาวะเพื่อดูระดับ Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine (Cr) กระตุ้นการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง

10. Phimosis in childreng

10.1. อาการ

10.1.1. อาการปัสสาวะลำบากร้องปวดก่อนขับถ่ายปัสสาวะ - หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศโป่ง (ballooning)ขณะเบ่งถ่ายปัสสาวะ -หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศส่วนปลายบวมแดงอักเสบอาจมีสารคัดหลั่งสีเหลือง คล้ายหนองไหลออกมาร่วมด้วย (balanoposthitis) -ลำปัสสาวะมีขนาดเลก็มากหรือถ่ายปัสสาวะเป็นหยดๆไม่พุ่ง(truephimosis) -มีไข้หนาวสั่นปัสสาวะกระปริดกระปรอยปัสสาวะมีเลือดปน(urinarytract infection , UTI) - มีก้อนนูนใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (retained smegma) - หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศติดหัวอวัยวะเพศรูดแล้วเจ็บ (preputial adhesions) - รูดหนังหุ้มปลายแล้วดันกลับไม่ได้ (paraphimosis)

10.2. สาเหตุ

10.2.1. ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบตั้งแต่แรกเกิดที่แน่ชัด ส่วนภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบที่เกิดขึ้นตอนโตนั้นอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายองคชาตหรือผิวหนังหุ้มปลายองคชาต หรือการเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณองคชาตที่ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง จึงยากต่อการดึงให้เปิดขึ้น ทั้งนี้ การมีอายุมากขึ้นอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะนี้มากขึ้น เนื่องจากผิวหนังหุ้มปลายองคชาตมีแนวโน้มสูญเสียความยืดหยุ่นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีองคชาตแข็งตัวได้ยาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงเกิดภาวะปลายองคชาตอักเสบและติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไปก็เสี่ยงเกิดภาวะนี้ตามมาได้เช่นกันคคค

10.3. การรักษา

10.3.1. การรักษาภาวะ Phimosis นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของอาการ รวมถึงอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ร่วมด้วย แพทย์จะสอนผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีรูดเปิดผิวหนังหุ้มปลายองคชาตให้เด็กทีละน้อยเป็นประจำทุกวันจนกระทั่งเปิดได้เป็นปกติ หากปฏิบัติตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลอาจให้ผู้ป่วยใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เพื่อช่วยให้หนังหุ้มปลายนุ่มและรูดเปิดได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ที่ใช้ยาหรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการขลิบหนังหุ้มปลายซึ่งเป็นการผ่าตัดนำหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกและช่วยป้องกันการเกิดภาวะนี้ซ้ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการขลิบหนังหุ้มปลายอาจเข้ารับการผ่าตัดแยกหนังหุ้มปลายองคชาตออกจากปลายองคชาตแทน แต่ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบซ้ำได้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

11. ESRD

11.1. สาเหตุ

11.1.1. การรักษา

11.1.1.1. การรักษา จำกัดอาหารโปรตีน อาหารที่มีโปแตสเซียม จำกัดน้ำดื่ม การได้รับอาหารที่มีโปแตสเซียมที่มีคุณค่าสูง ยาลดความดันเลือด จำกัดเกลือ ให้ยาขับปัสสาวะ ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ เช่น Digoxin หรือทำ Hemodialysis, Continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD), Peritoneal dialysis หรืออาจต้องทำ Renal transplantation

11.2. อาการ

11.2.1. อาการ เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่ม บวมที่เท้า มือ และบริเวณก้นกบ ซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีรอยจ้ำเลือดที่ผิวหนังได้ง่าย หายใจเร็ว หายใจลำบาก ลมหายใจมีกลิ่นแอมโมเนีย มีอาการไอ เจ็บหน้าอกเวลาไอ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการท้องผูก ท้องเสีย เซื่องซึม สับสน ไม่รู้สึกตัว กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว กระดูกหักง่าย ปวดข้อ คันตามผิวหนัง ผิวหนังคล้ำ แห้ง แตก ในหญิงอาจมีประจำเดือนขาดหายไป ผู้ชายจะมีลูกอัณฑะเล็กลง

11.3. การวินิจฉัย

11.3.1. ตรวจพบมีอาการบวม ตรวจหาระดับครีอะตินินพบว่าสูง คำนวณค่าครีอะตินินเคลียรานซ์ (CCr) น้อยกว่า 10 มิลลิลิตรต่อนาที (แสดวงว่ามีการสูญเสียการทำหน้าที่ของไตหรือไตถูกทำลายอย่างรุนแรง) ตรวจเลือดหาอิเล็กโทรไลต์ ตรวจหาจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) Uric acid, Blood urea nitrogen (BUN) สูง Sodium สูง Potassium สูง Calcium ต่ำ Phosphorus สูง Magnesium สูง CCr ต่ำ Uric Acid สูง การถ่ายภาพรังสีพบว่าไตมีขนาดเล็กลง เจาะเนื้อไตเพื่อดูพยาธิสภาพ

11.4. การพยาบาล

11.4.1. ชั่งน้ำหนักทุกวัน ประเมินอาการบวม การหายใจ ดูแลเรื่องการจำกัดน้ำดื่ม อาหารเค็ม ดูแลให้ได้ยาขับปัสสาวะ ลดอาการคัน ผิวหนังแห้ง และผิวหนังบวม การทำ Dialysis ในชนิดต่างๆ แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในช่องท้อง

12. Pyelonephritis

12.1. อาการ

12.1.1. มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส รู้สึกหนาวสั่น เจ็บปวดบริเวณหลังหรือสีข้าง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีหนองหรือเลือดปนมากับปัสสาวะ หากเกิดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ อาจมีหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ

12.2. สาเหตุ

12.2.1. กรวยไตอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. Coli) ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอักเสบต่อเนื่องของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ บางกรณีเชื้อแบคทีเรียอาจแพร่กระจายเข้าสู่กรวยไตผ่านทางกระแสเลือดได้ โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อในข้อเทียมหรือลิ้นหัวใจเทียม

12.3. การวินิจฉัย

12.4. การรักษา

12.4.1. การรับประทานยาและดูแลอาการด้วยตนเองที่บ้าน การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นพื้นฐานการรักษากรวยไตอักเสบโดยทั่วไป ซึ่งแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะที่เจาะจงรักษาเชื้อแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งหากสามารถระบุชนิดของเชื้อโรคได้ หรืออาจให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างหากไม่สามารถระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรียได้ โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 10-14 วัน แม้อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วันแรกแล้วก็ตาม ทั้งนี้ แพทย์อาจให้ตรวจปัสสาวะซ้ำหลังการรักษา เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อแล้ว เพราะหากยังพบการติดเชื้อ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษากรวยไตอักเสบ ได้แก่ ลีโวฟลอกซาซิน ไซโพรฟล็อกซาซิน ซัลฟาเมท็อกซาโซล ไทรเมโทพริม และแอมพิซิลลิน

13. นางสาว อัจฉราภรณ์ ขอนทอง เลขที่87 ชั้นปีที่2