การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ by Mind Map: การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

1. อาจมีการตรวจอื่น ๆ ทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจย้อมเชื้อ หรือการเพาะเชื้อ

2. Acute Glomerulonephritis

2.1. เป็นการอักเสบของไตและกรวยไตทั้งสองข้าง เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน

2.2. สาเหตุ

2.2.1. ไตอักเสบเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ อาจเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ หรือบางครั้งอาจไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยบางประการที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในหน่วยไตได้

2.3. อาการ

2.3.1. 1.การปนเปื้อนของเซลล์เม็ดเลือดแดงในน้ำปัสสาวะ (Hematuria) จนกลายเป็นสีชมพู หรือสีโคล่า

2.3.2. 2.เกิดอาการบวมน้ำที่บริเวณใบหน้า มือ เท้า หรือท้อง

2.3.3. 3.มีความดันเลือดสูง

2.3.4. 4.ปัสสาวะเป็นฟองเนื่องจากมีโปรตีนส่วนเกินปนออกมาในปัสสาวะ

2.3.5. 5.อาการที่ปรากฏตามร่างกาย เช่น อ่อนล้า เหนื่อย เพลีย ปวดข้อ เป็นผื่นคัน หรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

2.4. การวินิจฉัย

2.4.1. การตรวจปัสสาวะ

2.4.2. การตรวจเลือด

2.4.3. การเจาะเก็บเนื้อเยื่อไต (Kidney Biopsy)

2.5. การรักษา

2.5.1. ให้ยาปฏิชีวนะ

2.5.2. ควบคุมอาหารเค็ม น้ำ และโปรตีน

2.5.3. ให้ยาขับปัสสาวะและยาลดความดันเลือดเพื่อควบคุมความดันเกลือ

2.5.4. ให้พักผ่อน

2.5.5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

2.6. ภาวะแทรกซ้อน

2.6.1. โรคไตเรื้อรัง

2.6.2. ไตวายเฉียบพลัน

2.6.3. โปรตีนรั่วในปัสสาวะ

2.6.4. ความดันโลหิตสูง

2.7. หลักการพยาบาล

2.7.1. บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออก

2.7.2. ชั่งน้ำหนักทุกวัน

2.7.3. ตรวจปัสสาวะหา Specific gravity

2.7.4. บันทึกสัญญาณชีพ

2.7.5. ดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันผิวแตกจากอาการบวม

2.7.6. สังเกตภาวะแทรกซ้อน

3. Urinary tract infection

3.1. เป็นภาวะที่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

3.2. ปัจจัยเสี่ยง

3.2.1. ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก

3.2.2. มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศในช่วงตั้งครรภ์ และช่วงวัยหมดประจำเดือน

3.2.3. ใช้เจลหล่อลื่น หรือถุงยางอนามัยที่ไม่สะอาด

3.2.4. การใช้สายสวนปัสสาวะ

3.2.5. ผู้หญิงที่ใช้การคุมกำเนิดด้วยการใส่ฝาครอบปากมดลูก

3.2.6. ผู้หญิงที่คุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิ

3.2.7. มีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเบาหวาน

3.3. อาการ

3.3.1. ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อย ๆ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ

3.3.2. ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะบ่อยครั้ง หรืออั้นปัสสาวะไม่ได้

3.3.3. ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ อาจมีสีขุ่น หรือมีเลือดปน

3.4. การวินิจฉัย

3.4.1. ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่าง ๆ ประวัติเพศสัมพันธ์

3.4.2. การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะดูเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง อาจตรวจภายในในผู้ป่วยหญิง

3.4.3. การตรวจทางทวารหนักในผู้ชายเพื่อตรวจคลำต่อมลูกหมาก

3.5. การรักษา

3.5.1. การใช้ยาปฏิชีวนะ

3.5.2. การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

3.5.3. ดื่มน้ำมาก ๆ มากกว่าปกติ

3.5.4. การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการ คลื่น ไส้ อาเจียน และการ

3.6. ภาวะแทรกซ้อน

3.6.1. กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

3.6.2. ท่อปัสสาวะอักเสบ

3.6.3. กรวยไตอักเสบ

3.6.4. มีการติดเชื้อซ้ำ

3.6.5. เกิดความเสียหายที่ไตอย่างถาวร

3.6.6. โอกาสเสี่ยงกับผู้ตั้งครรภ์

3.6.7. เกิดการตีบแคบที่ท่อปัสสาวะ

3.6.8. เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย

3.7. การป้องกัน

3.7.1. 1.ดื่มน้ำมาก ๆ 6-8 แก้วต่อวัน

3.7.2. 2.หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์

3.7.3. 3.ไม่ควรอั้นปัสสาวะนาน ๆ

3.7.4. 4.ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดให้ถูกวิธี ด้วยการเช็ดจากทางด้านหน้าไปด้านหลัง

3.7.5. 5.ควรปัสสาวะทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์

3.7.6. 6.ไม่ควรแช่น้ำในอ่างอาบน้ำนานเกิน 30 นาที

4. ESRD

4.1. ภาวะที่ไตทั้งสองข้างสูญเสียการทำงาน จนไม่สามารถขับของเสียในร่างกายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะได้ ไม่สามารถควบคุมสมดุลของน้ำ และสมดุลของเกลื่อแร่ต่าง ๆ

4.2. สาเหตุ

4.2.1. เกิดจากความผิดปกติที่ไต เช่น มีอาการอักเสบที่ไต

4.2.2. จากโรคต่าง ๆ เช่น SLE, Scleroderma, Polyarteritis nodosa เบาหวาน Hypertension นิ่วในไต

4.2.3. อาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น เนื้องอกของต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ นิ่วใน

4.2.4. ทางเดินปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่ออก

4.3. อาการ

4.3.1. เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่ม

4.3.2. ซีด อ่อนเพลีย

4.3.3. หายใจลำบาก

4.3.4. เบื่ออาหาร คลื่นไส้

4.3.5. อาการท้องผูก ท้องเสีย

4.4. การวินิจฉัย

4.4.1. ตรวจพบมีอาการบวม

4.4.2. ตรวจหาระดับครีอะตินินพบว่าสูง

4.4.3. คำนวณค่าครีอะตินินเคลียรานซ์ (CCr) น้อยกว่า 10 มิลลิลิตรต่อนาที ตรวจเลือดหาอิเล็กโทรไลต์

4.4.4. ตรวจหาจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) Uric acid, Blood urea nitrogen (BUN) สูง Sodium สูง Potassium สูง Calcium ต่ำ Phosphorus สูง Magnesium สูง CCr ต่ำ Uric Acid สูง

4.4.5. การถ่ายภาพรังสีพบว่าไตมีขนาดเล็กลง เจาะเนื้อไต

4.5. การรักษา

4.5.1. 1.จำกัดอาหารโปรตีน อาหารที่มีโปแตสเซียม

4.5.2. 2.จำกัดน้ำดื่ม

4.5.3. 3.ยาลดความดันเลือด

4.5.4. 4.จำกัดเกลือ ให้ยาขับปัสสาวะ

4.5.5. 5.ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ

4.5.6. 6.อาจต้องทำ Renal transplantation

4.6. หลักการพยาบาล

4.6.1. 1.ชั่งน้ำหนักทุกวัน

4.6.2. 2.ประเมินอาการบวม การหายใจ

4.6.3. 3.ดูแลเรื่องการจำกัดน้ำดื่ม อาหารเค็ม

4.6.4. 4.ดูแลให้ได้ยาขับปัสสาวะ ลดอาการคัน ผิวหนังแห้ง และผิวหนังบวม

4.6.5. 5.การทำ Dialysis ในชนิดต่าง ๆ

4.6.6. 6.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

4.6.7. 7.ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในช่องท้อง

5. Phimosis in children

5.1. ภาวะที่ผิวหนังบริเวณปลายองคชาตหดตัวจนไม่สามารถดึงให้เปิดขึ้นได้ดังปกติ

5.2. สาเหตุ

5.2.1. ไม่ทราบสาเหตุของภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบตั้งแต่แรกเกิดที่แน่ชัด การเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณองคชาตที่ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง จึงยากต่อการดึงให้เปิดขึ้น

5.3. อาการ

5.3.1. ปลายองคชาตและหนังหุ้มปลายองคชาตอักเสบ ทำให้มีอาการบวมแดงและรู้สึกเจ็บปวด

5.3.2. ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลำบาก

5.3.3. รู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ

5.3.4. รู้สึกเจ็บปวดเมื่อองคชาตแข็งตัว

5.4. การวินิจฉัย

5.4.1. ปัสสาวะลำบาก

5.4.2. รู้สึกเจ็บปวดบริเวณองคชาต

5.5. การรักษา

5.5.1. ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของอาการ รวมถึงอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก รูดเปิดผิวหนังหุ้มปลายองคชาตให้เด็กทีละน้อยเป็นประจำทุกวันจนกระทั่งเปิดได้เป็นปกติ

5.5.2. อาจให้ผู้ป่วยใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เพื่อช่วยให้หนังหุ้มปลายนุ่มและรูดเปิดได้ง่ายขึ้น การขลิบหนังหุ้มปลาย

5.6. ภาวะแทรกซ้อน

5.6.1. เจ็บ บวมแดง หรือปัสสาวะลำบาก

5.6.2. เสี่ยงเกิดมะเร็งองคชาตมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

5.7. การป้องกัน

5.7.1. ดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นทุกวันในระหว่างอาบน้ำ

5.7.2. ดึงหนังหุ้มปลายองคชาตให้เปิดออกอย่างช้า ๆ และล้างทำความสะอาดผิวหนังข้างใต้

6. Pyelonephritis

6.1. ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไตซึ่งอยู่ระหว่างไตกับท่อไต ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบ

6.2. สาเหตุ

6.2.1. 1.การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. Coli)

6.2.2. 2.การอักเสบต่อเนื่องของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ

6.2.3. 3.การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

6.2.4. 4.บางกรณีเชื้อแบคทีเรียอาจแพร่กระจายเข้าสู่กรวยไตผ่านทางกระแสเลือดได้

6.3. อาการ

6.3.1. 1.มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส

6.3.2. 2.รู้สึกหนาวสั่น

6.3.3. 3.เจ็บปวดบริเวณหลังหรือสีข้าง ปวดท้อง

6.3.4. 4.คลื่นไส้ อาเจียน

6.3.5. 5.ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ

6.3.6. 6.ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีหนองหรือเลือดปนมากับปัสสาวะ

6.3.7. 7.หากเกิดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ อาจมีหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ

6.4. การวินิจฉัย

6.4.1. การตรวจร่างกายหาอาการไข้ ปัสสาวะขุ่น กดเจ็บบริเวณท้อง และอาการอื่น ๆ

6.4.2. การตรวจปัสสาวะ

6.4.3. การตรวจเลือด

6.4.4. การตรวจด้วยรังสีวิทยา

6.5. การรักษา

6.5.1. การรับประทานยาและดูแลอาการด้วยตนเองที่บ้าน

6.5.1.1. 1.ให้ยาปฏิชีวนะ อาจให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างหากไม่สามารถระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรียได้ โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 10-14 วัน แม้อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน

6.5.1.2. 2.อาจให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล และไอบูโพรเฟน

6.5.2. การรักษาในโรงพยาบาล

6.5.2.1. 1.ฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ร่วมกับการให้น้ำเกลือและยาแก้ปวดลดไข้

6.5.2.2. 2.ติดตามอาการโดยตรวจปัสสาวะและเลือดอย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 10-14 วัน

6.6. ภาวะแทรกซ้อน

6.6.1. ภาวะความดันโลหิตสูง

6.6.2. การเกิดแผลเป็นหรือฝีในไต

6.6.3. ภาวะไตวายเฉียบพลัน

6.7. การป้องกัน

6.7.1. 1.ดื่มน้ำมาก ๆ

6.7.2. 2.ไม่กลั้นปัสสาวะ

6.7.3. 3.ปัสสาวะทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์

6.7.4. 4.ผู้หญิงควรเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศและทวารหนักจากด้านหน้าไปด้านหลัง

6.7.5. 1.ฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ร่วมกับการให้น้ำเกลือและยาแก้ปวดลดไข้

6.7.6. 5.ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศหญิง

6.7.7. 6.ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจปัสสาวะในช่วงสัปดาห์ที่ 12-16 ของการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อใน ระบบทางเดินปัสสาวะ อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและทารกในครรภ์ได้

7. Nephrotic syndrome

7.1. เป็น glomerular disease ชนิดหนึ่งเกิดจาก glomerular permeability ต่อ plasma protein เสียไป และรั่วออกมาทางปัสสาวะจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวม ร่วมกับภาวะ hypoalbuminemia และ hyperlipidemia

7.2. สาเหตุ

7.2.1. 1. หน่วยไตอักเสบเรื้องรัง

7.2.2. 2. เกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น SLE, Rheumatic arthritis, Polyarteritis, ตับอักเสบจากไวรัส บี, เบาหวาน, เนื้องอก

7.2.3. 3. โรคติดเชื้อต่าง ๆ

7.3. อาการ

7.3.1. 1. บวม หนังตา บวมที่ขา หน้าเท้า ตาตุ่มด้านใน ท้องบวม หรือตัวบวมทั้งตัว

7.3.2. 2. มีไขมันในเลือดสูง โปรตีนในเลือดต่ำ

7.3.3. 3. ปัสสาวะผิดปกติ

7.3.4. 4. หายใจลำบาก

7.3.5. 5. เบื่ออาหาร ท้องเสีย

7.4. การวินิจฉัย

7.4.1. 1.การซักประวัติ อาการและตรวจร่างกายอย่างละเอียด

7.4.2. 2.การตรวจหาค่าอัลบูมินในปัสสาวะ

7.4.3. 3.การตรวจเลือด ตรวจซีรั่มอีลบูมิน < 2.5มก/ดล.,ซีรั่มโคลเลสเตอรอล >450-1500 มก/ดล. ซีรัมโซเดียมต่ำกว่าปกติ

7.4.4. 4.พบ Fribrinogen และ factor V,VI,VII,X เพิ่มขึ้น ทำให้เลือดแข็งตัวง่ายขึ้น

7.5. การรักษา

7.5.1. ยาขับปัสสาวะ

7.5.2. ยากดภูมิคุ้มกัน

7.5.3. ยาลดคอเลสเตอรอล

7.5.4. ยาควบคุมความดันโลหิต

7.6. ภาวะแทรกซ้อน

7.6.1. 1.Hypovolemia

7.6.2. 2.การติดเชื้อ

7.6.3. 3.Thrombosis

7.6.4. 4.ไตวายเฉียบพลัน

7.6.5. 5.ไตวายเรื้อรัง

7.6.6. 6.การเจริญเติบดตและภาวะพร่องออร์โมนอื่น

7.7. หลักการพยาบาล

7.7.1. 1. ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อ

7.7.2. 2.ป้องกัน หรือควบคุมอาการบวม

7.7.3. 3. ป้องกันภาวะโปแตสเซียมสูง (Hyperkalemia)

7.7.4. 4. ลดความดันโลหิต

7.7.5. 5. สังเกตการณ์เกิดภาวะแทรกซ้อน

7.7.6. 6.เสริมสร้างความแข็งแรงและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย

7.7.7. 7.อำนวยความสุขสบายของร่างกาย

7.7.8. 8.ประคับประคองด้านจติ ใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

7.7.9. 9. เตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองที่บ้าน