ไฟฟ้าสถิต

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ไฟฟ้าสถิต by Mind Map: ไฟฟ้าสถิต

1. ตัวนำและฉนวนไฟฟ้า

1.1. ตัวนำไฟฟ้า คือ วัตถุที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปได้สะดวกตลอดเนื้อวัตถุโดยง่าย เช่น โลหะต่างๆ เบสและเกลือ เป็นต้น

1.2. ฉนวนไฟฟ้า คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปได้สะดวกหรือไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เช่น ยาง กระเบื้องเคลือบ แก้ว เป็นต้น

2. การทำให้วัตถุตัวนำเกิดไฟฟ้า

2.1. การขัดถู

2.1.1. การถูแก้วด้วยผ้าไหม

2.1.2. การถูแท่งอำพันด้วยผ้าขนสัตว์

2.2. การสัมผัส (แตะ)

2.2.1. การนำวัตถุที่มีประจุอิสระอยู่แล้วมาสัมผัสกับวัตถุที่เดิมเป็นกลาง จะทำให้วัตถุที่เป็นกลางนี้มีประจุไฟฟ้าอิสระ

2.2.2. เงื่อนไข

2.2.2.1. ประจุไฟฟ้าอิสระที่ตัวนำได้รับ จะเป็นประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันกับชนิดของประจุไฟฟ้าบนตัวนำที่นำมาสัมผัสเสมอ

2.2.2.2. การถ่ายเทประจุเป็นการถ่ายเทอิเล็กตรอนเท่านั้นและการถ่ายเทจะสิ้นสุดเมื่อศักย์ไฟฟ้า (ระดับไฟฟ้า) บนวัตถุที่แตะกันมีค่าเท่ากัน

2.2.2.3. ประจุไฟฟ้าอิสระบนตัวนำทั้งสองที่มาแตะกัน ภายหลังการแตะจะมีจำนวนเท่ากันหรืออาจไม่เท่ากันก็ได้ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความจุไฟฟ้าของตัวนำทั้งสอง

2.2.2.4. ประจุไฟฟ้ารวมทั้งหมดบนตัวนำทั้งสองภายหลังการแตะจะมีจำนวนเท่ากับประจุไฟฟ้าทั้งหมดก่อนแตะกัน

2.3. การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

2.3.1. การนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้าไปใกล้วัตถุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าจะทำให้เกิดประจุชนิดตรงกันข้ามบนตัวนำที่อยู่ใกล้วัตถุ

3. อิเล็กโทรสโคป

3.1. แบบลูกพิท

3.1.1. ลูกกลม ทำด้วยโฟมฉาบด้วยโลหะ ตัวลูกกลมแขวนด้วยเส้นด้ายเล็กๆ

3.2. แบบแผ่นโลหะ

3.2.1. แกนโลหะด้านในเชื่อมติดกับจานโลหะชนิดเดียวกันกับปลาย ล่างแท่งโลหะมีแผ่นโลหะบางๆติดไว้

4. สนามไฟฟ้า

4.1. แรงที่กระทำต่อประจุบวกขนาดหนึ่งหน่วยซึ่งวางไว้ตำแหน่งใดๆ คือสนามไฟฟ้า ณ ตำแหน่งนั้น

4.2. เส้นสนามไฟฟ้า

4.2.1. เพื่อแสดงทิศทางของสนามไฟฟ้าในบริเวณรอบๆจุดประจุ

5. กฏการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า

5.1. อะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเมื่ออะตอมสูญเสียอิเล็กตรรอนไปจะกลายเป็นอะตอมที่มีประจุบวก ส่วนอะตอมที่ไดัรับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นจักลายเป็นอะตอมที่มีประจุลบ โดยผลรวมของจำนวนประจุทั้งหมดของระบบที่พิจารณายังคงเท่าเดิม

6. ความหมาย

6.1. เป็นปรากฏการณ์ที่นำวัตถุมาทำการขัดสี หรือถู หรือเหนี่ยวนำกัน ทำให้วัตถุหนึ่งการสูญเสียอิเล็กตรอน ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน วัตถุที่สูญเสียอิเล็กตรอน จะมีประลบน้อยลง ทำให้แสดงอำนาจทางไฟฟ้าบวก ส่วนวัตถุที่ได้รับอิเล็กตรอน จะทำให้มีประจุลบมากขึ้น ทำให้แสดงอำนาจทางไฟฟ้าลบ

7. ประจุไฟฟ้า

7.1. ชนิดของประจุ

7.1.1. ประจุบวก : เกิดบนแท่งแก้ว เมื่อถูด้วยผ้าไหม

7.1.2. ประจุลบ : เกิดบนแท่งอำพัน เมื่อถูด้วยผ้าขนสัตว์

7.2. แรงกระทำที่เกิดระหว่างประจุ

7.2.1. แรงดึงดูดกัน : ประจุต่างชนิดกัน

7.2.2. แรงผลักกัน : ประจุชนิดเดียวกัน

7.3. วัตถุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก แต่ละอะตอมมีนิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก เรียกว่า โปรตอน อนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า นิวตรอน และบริเวณภายนอกนิวเคลียสมีอนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอน

8. การนำไปใช้ประโยชน์

8.1. เครื่องถ่ายเอกสาร

8.2. เครื่องพ่นสี

8.3. ไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุ

9. ตัวเก็บประจุและความจุไฟฟ้า

9.1. สัญลักษณ์

9.1.1. เป็นรูปขีดยาวสองขีดขนานกัน

10. ศักย์ไฟฟ้า

10.1. พลังงานศักย์ต่อประจุหนึ่งหน่วย