มรดกที่จับต้องไม่ได้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
มรดกที่จับต้องไม่ได้ by Mind Map: มรดกที่จับต้องไม่ได้

1. “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” หมายถึง การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์และความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีการพิจารณาเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เท่าที่สอดคล้องกับบทบัญญัติที่มีอยู่ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเท่านั้น รวมทั้งข้อกำหนดให้มีการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนทั้งหลาย กลุ่มชน และปัจเจกบุคคล และต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

2. มรดกที่จับต้องไม่ได้แบ่งออกได้ดังนี้

2.1. ๑. เรื่องราวข้อมูลความรู้ด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นมุขปาฐะและการแสดง ออกในด้านต่าง ๆ

2.1.1. เช่น สุภาษิต คำปริศนา พังเพย นิทาน เรื่องเล่า เพลงกล่อม เด็ก ตำนาน มหากาพย์ ร้อยกรอง บทสวด บทเพลง ฯลฯ

2.2. ๒. ศิลปะการแสดง (Performing arts) หมายรวมถึง ดนตรี การแสดงละครและนาฏศิลป การเต้นรำ ร่ายรำ และการแสดงออกในพิธีกรรม และเพลงร้องพื้นบ้าน

2.2.1. เช่น พิธีกรรม งานเทศกาล

2.3. ๓. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และ งานเทศกาลต่าง ๆ

2.3.1. เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณี ลอยกระทง ประเพณีบุญบั้งไฟ การละเล่น ผีตาโขน ฯลฯ

2.4. ๔. ความรู้และวิถีปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติ และจักรวาล

2.4.1. เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงนิเวศวิทยา องค์ความรู้ของ ชนพื้นเมือง ชาติพันธุ์ ชีวภาพ ชาติพันธุ์ พฤกษศาสตร์ ระบบการรักษาโรคแบบดั้งเดิม ตำราปรุงยาสมุนไพร พิธีกรรม วิถีการกินอยู่ การถนอมอาหาร ความเชื่อ ศาสตร์อันลึกลับ

2.5. ๕. งานช่างฝ ีม ือดั ้งเด ิม (Traditional craftsmanship) หมายถึง ทักษะ และองค์ความรู้ที่ แสดงออกมาจากงานช่างฝ ีม ืองานศ ิลปหัตถกรรม และส ิ่งประด ิษฐ์ของบรรพชน

2.5.1. เช่น ผ ้าและผล ิตภัณฑ์จากผ ้า เคร ื่อง จักสาน เคร ื่องรัก เคร ื่องปั้นด ินเผา เคร ื่องโลหะ เคร ื่องไม ้ อัญมณ ี เคร ื่องประดับ งานศ ิลปกรรม พื้นบ้าน ฯลฯ

3. ตัวอย่าง

3.1. ประเพณีลงแขกเก็บเกี่ยวข้าว กิจกรรมนี้สำนักงานเกษตรอำเภอยะหริ่ง ร่วมกับ อบต.ตะโละ และกลุ่มเกษตรกรทำนา จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม เสริมสร้างความรัก ความสามัคคีของชุมชน ตลอดจนเป็นการลดต้นทุนควบคู่กับการส่งเสริมพัฒนาการผลิตข้าวได้มีการแข่งขันเก็บเกี่ยวข้าว มีเกษตรกรจากหมู่บ้านต่างๆ เข้าแข่งขัน 18 ทีม และหลังจากพิธีเปิดงานแล้วได้มอบรางวัลให้กับเกษตรกรผู้ชนะการแข่งขันเก็บเกี่ยวข้าว สถานที่จัดงาน บ้านป่าศรี หมู่ที่ 3 ตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี