มรดกที่จับต้องได้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
มรดกที่จับต้องได้ by Mind Map: มรดกที่จับต้องได้

1. ศาสนสถาน

1.1. คือสถานที่ทางศาสนา ใช้ประกอบศาสนพิธี เช่น การอาราธนาศีลและสมาทานศีลในวัด และการละหมาดในมัสยิด เป็นต้น

1.1.1. ตัวอย่าง มัสยิดกรือเซะ (มลายู: Masjid Kerisek) หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปีในจังหวัดปัตตานี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัสยิดปิตูกรือบัน ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอทิกของชาวยุโรป และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง (คำว่า ปิตู แปลว่า ประตู กรือบัน แปลว่า ช่องประตูที่มีรูปโค้ง)

2. วัตถุทางโบราณคดี

2.1. สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ มีอายุกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป และเป็นประโยชน์ในทางศิลปะประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี เช่น พระพุทธรูป เทวรูป โครงกระดูก ศิลาจารึก.

2.1.1. ชื่อวัตถุ พระพุทธเจ้าเข้านิพพาน ศิลปะ รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ ขนาด กว้าง ๘.๗ ซ.ม. ยาว๒๐ ซ.ม. สูงพร้อมฐาน ๑๙.๕ ซ.ม. วัสดุ ทองเหลือง สถานที่เก็บรักษาห้องจัดแสดงอัฐบริขาร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ลักษณะ ประติมากรรมรูปหีบศพ ตั้งบนฐานสูงมีพระพุทธบาทยื่นออกมาออกมาจากหีบพระศพ มักประกอบไปด้วยรูปภิกษุสาวก แสดงการสักการบูชาหรืออยู่ในอากัปกิริยาต่างๆกัน ๓ – ๔ รูป มีคติเรื่องราวที่มาการสร้างตาม มหาปรินิพพานสูตรในคัมภีร์ทีฆนิกายมหาวรรค เมื่อครั้งที่พระมหากัสสปเถระ ได้ทำการสักการะบูชาพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ตั้งอธิษฐานขอให้พระบาททั้งสองของพระบรมศาสดาเคลื่อนจากหีบรองรับหัตถ์ทั้งสอง พระบาททั้งสองออกมาปรากฏอยู่ภายนอกเมื่อพระมหาเถระถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าพร้อมทั้งภิกษุบริวารและมหาชนได้ถวายนมัสการพระบาทยุคลทั้งสิ้นแล้ว พระบาททั้งสองก็กลับคืนเข้าสู่หีบพระศพดังเดิมเป็นอัศจรรย์