ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ by Mind Map: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ

1. 5.ประเภทข้อมูล

1.1. 1. การจำแนกตามลักษณะของข้อมูลแบ่งได้ เป็น 2 ปะเภท 1.1 ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถ ระบุค่าเป็นตัวเลขได้ 2.2 ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นข้อมูลที่วัดค่า ออกมาป็นตัวเลข 2. จำแนกตามแหล่งที่มาของ ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภท 2.1 ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่เก็บจาก แหล่งข้อมูลโดยตรง 2.2 ข้อมูลทุติยภูมิเป็นข้อมูลที่ได้จาก แหล่งที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว 3. จำแนกตามมาตราวัด 3.1 มาตรานามบัญญัติเป็นมาตราวัดระดับสูงสุดต่ำคุณสุดสัญลักษณ์ หรือตัวเลขไม่มีความสามารถหมายในห้างหุ้นส่วนจำกัดเชิงปริมาณเป็นเพียงหัวเรื่อง: การจำแนกออกประเภทเท่านั้น 3.2 มาตราเรียงลำดับเป็นมาตราวัดที่จำแนก Thailand ข้อมูลออกเป็น กลุ่มโดยเป็นการเรียงลำดับสิ่งต่างๆตามลักษณะคุณหนึ่ง ๆ 3.3 มาตรา ความแตกต่างต่างประเทศ กันได้อย่างชัดเจนค่าที่ได้จากการวัดสามารถนำมาบวกลบกันได้ แต่นำมาคูณหรือหารไม่ได้ 3.4 จำนวนเงินที่เป็นศูนย์ของแท้ซึ่ง หมายถึง0 หมายถึงไม่มีอะไร ลบคูณหารได้

2. 6. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง

2.1. 6. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง 6.1 การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น เป็นการเลือกตัวอย่างโดยยึดความสะดวก หรือความเป็นไปได้ของสิ่งแวดล้อม 6.2 การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น คือ การที่ ทุกหน่วยของประชากรมีโอกาสได้รับเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่างเท่ากันหมด 6.3 การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นวิธีการเลือกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดโดยให้แต่ละหน่วยในประชากรมีโอกาสได้รับเลือกเป็นตัวอย่างเท่าๆ กัน 6.4 การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ 6.5 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้น ภูมิเป็นการสุ่ม ตัวอย่างโดยการแบ่งสมาชิกในประชากรออกเป็นประชากรย่อยอย่างน้อย 2 กลุ่มประชากรย่อย เรียกว่าแบ่งประชากรออกเป็นชั้น 6.6 การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยทำการแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่ม

3. 7 ขั้นตอนการดำเนินงานทางสถิติ

3.1. ขอบข่ายของระเบียบวิธีทางสถิติ จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมา วิเคราะห์ ซึ่งอาจจะประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และเป็นข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถเก็บได้จาก 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานทะเบียนหรือการบันทึก 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจได้แก่ 2.1 การสำมะโน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหน่วยในประชากรที่ทำการศึกษา 2.2 การสำรวจตัวอย่าง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพียงบางหน่วยของประชากร เพื่อที่จะได้ตัวแทนที่ดีของประชากร เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย 3. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้ หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ การส่งไปรษณีย์ การตอบแบบสอบถาม โทรศัพท์การชั่ง ตวง วัด นับ การสังเกต

4. 1.ความหมายของสถิติ

4.1. คือ ตัวเลขหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่รวบรวมได้หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการที่ใช้ในการศึกษาข้อมูล

5. 2. ขอบเขตและเนื้อหาสถิติ

5.1. แบ่งออกได้เป็น2ประเภท 2.1 สถิติพรรณนา คือ วิธีการทางสถิติที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล 2.2 สถิติอนุมาน คือ วิธีการทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาได้

6. 3.นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

6.1. -ประชากร คือ หน่วยทุกหน่วยที่เราสนใจจะทำการศึกษา เช่น คน สัตว์ สิ่งของ -ตัวอย่าง คือ หน่วยย่อยของประชากรที่จะให้ข้อเท็จจริงต่างๆที่เราสนใจศึกษา -ค่าสถิติ คือ ค่าที่คำนณได้จากข้อมูลที่เป็นตัวอย่าง เป็นตัวบ่งชี้ถึงลักษณะของตัวอย่าง

7. 4.บทบาทของสถิติสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆดังนี้

7.1. -ด้านธุรกิจ ต้องมีข้อมูลพื้นฐานการพยากรณ์ทั้งภายในองค์กรเพื่อใช้ในการวางแผนระยะสั้น -ด้านเศรษฐศาสตร์ ต้องใช้เทคนิควิธีการทางสถิติ ทฤษฎีการมาตัดสินใจช่วย -ด้านการเกษตร เป็นการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ เพื่อให้มีผลผลิตสูงขึ้น -ด้านการศึกษา สถิติการศึกษามีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและวางแผน -ด้านวิทยาศาสตร์ ใช้สถิติในงานวิเคราะห์ วิจัย -ด้านอุตสาหกรรม ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคภายในประเทศ -ด้านสาธารณสุข การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีสุขภาพที่ดีหน่วยงานของรัฐและเอกชน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลสถิติสาธารณสุข -ด้านการเมืองการปกครอง ใช้ในการสำรวจประชามติ ทำให้ทราบถึงสภาพความเป็นจริงสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของสังคม