ระบบคอมพิวเตอร์ Computer System

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ระบบคอมพิวเตอร์ Computer System by Mind Map: ระบบคอมพิวเตอร์ Computer System

1. System Analyst and Designer หมายถึง บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการออกแบบ และสร้างระบบประมวลผลข้อมูล ตั้งแต่การเตรียมข้อมูล กำหนดโครงสร้างข้อมูล วิธีการประมวลผล โดยออกแบบเป็นผังลำดับการทำงานจนกระทั่งได้ผลตามต้องการ

2. รายชื่อสมาชิก 1.นางสาวรินรดา สังข์รอด ม.4/13 เลขที่ 17 2.นางสาวกวินทรา ทองสินธุ์ ม.4/13 เลขที่ 18 3.นางสาวธนภรณ์ บุญสิทธิ์ ม.4/13 เลขที่ 19 4.นางสาวธัญวดี ใจห้าว ม.4/13 เลขที่ 20

3. people ware

3.1. User ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

3.2. Operator ผู้ควบคุมหรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3.3. System manager ผู้จัดการระบบ คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก

4. Computer System Meaning ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภท ทำงานร่วมกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

5. Procedure ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

5.1. 1.จอภาพแสดงความเตรียมพร้อมในการทำงาน

5.2. 2.สอดบัตรและ พิมพ์รหัสผู้ใช้

5.3. 3.เลือกรายการ

5.4. 4.เลือกจำนวนเงินที่ต้องการ

5.5. 5.รับเงิน

5.6. 6.รับใบบันทึกรายการและบัตร

6. Data / Information

6.1. ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจ เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า

6.2. สารสนเทศ (Information) ข่าวสารที่ได้จากข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวม และเรียบเรียง การนำ ข้อมูลดิบ (raw data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่ สามารถนำไปใช้งานได้ทันที

7. Programmer โปรแกรมเมอร์ (อังกฤษ: programmer) มีหน้าที่หลักคือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถ หมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลายของโปรแกรมเป็นอย่างมาก และทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ

8. Hardware

8.1. Input (หน่วยรับข้อมูล)คือสัญญาณหรือข้อมูลที่ระบบรับเข้ามา

8.2. Process (หน่วยประมวลผลกลาง)คือการจัดการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง เพื่อความสะดวกของผู้ใช้

8.3. Output (หน่วยแสดงผล)สัญญาณหรือข้อมูลที่ระบบส่งออกไป

8.4. Storage อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล

8.4.1. Primary storage (หน่วยความจำหลัก)เป็นส่วนที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ก่อนที่จะส่งไปยังหน่วยประเมิลผลกลางเพื่อทำการประมวลผลต่อไป

8.4.1.1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)

8.4.1.1.1. เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า

8.4.1.2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)

8.4.1.2.1. ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร

8.4.2. Secondary Storage (หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง) หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง

8.4.2.1. ฮาร์ดดิสก์

8.4.2.2. ดิสก์ไดร์ฟ

8.4.2.3. ซีดีรอม

8.4.2.4. ดีวีดีรอม

8.4.2.5. ทัมท์ไดร์ฟ

9. Software

9.1. Application Software โปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

9.1.1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะ อย่างที่เราต้องการเช่น โปรแกรมระบบเช่าซื้อ

9.1.2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป คือ โปรแกรมประยุกต์ โดยผู้ใช้คนอื่นๆสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่ไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ เช่น Photoshop

9.2. System Software โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้การติดต่อประสานกัน ระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา

9.2.1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์และสนับสนุนคำสั่ง สำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP

9.2.2. ยูทิลิตี้ (Utility Program) ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้นและการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส

9.2.3. ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ใน ส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์

9.2.4. ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำ หรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ว่าต้องการให้ทำอะไร