หน่วย 8 จริยธรรมธุรกรรมตลาดอิเล็กทรอนิกส์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หน่วย 8 จริยธรรมธุรกรรมตลาดอิเล็กทรอนิกส์ by Mind Map: หน่วย 8 จริยธรรมธุรกรรมตลาดอิเล็กทรอนิกส์

1. 1.จริยธรรมในระบบสารสนเทศโดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วสามารถแบ่งเป็น 4 ประเด็น

1.1. 1.1ความเป็นส่วนตัว(InformationPrivacy)หมายถึงสิทธิที่จะอยู่ตามลําพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่นสิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคลกลุ่มบุคคลและองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว

1.2. 1.2ความถูกต้อง(InformationAccuracy)ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวมจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลนั้นคุณลักษณะที่สําคัญประการหนึ่งคือความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วยโดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ดังนั้นในการจัดทําข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้นข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนําเข้าฐานข้อมูลรวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอนอกจากนี้ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองด้วย

1.3. 1.3ความเป็นเจ้าของ(InformationProperty)สิทธิความเป็นเจ้าของหมายถึงกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้เช่นคอมพิวเตอร์รถยนต์หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา(ความคิด)ที่จับต้องไม่ได้เช่นบทเพลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆได้เช่นสิ่งพิมพ์เทปซีดีรอมเป็นต้น

1.4. 1.4การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกําหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดําเนินการต่างๆกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูลตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบเป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัวในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบหากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้วการผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

2. 2.จริยธรรมทางธุรกิจจินตนา บุญบงการ (2545) ในการดําเนินธุรกิจ นอกจากจะให้ความสําคัญกับความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานแล้ว ธุรกิจได้ให้ความสําคัญกับรูปแบบและวิธีการของการปฏิบัติงานที่จะให้เกิดความสําเร็จดังกล่าวควบคู่กันเสมอมาทั้งนี้โดยยึดถือความมีจริยธรรม ซึ่งรวมถึงความยุติธรรมและคุณธรรมเป็นหลักในการทําธุรกรรมและติดต่อสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย จริยธรรมในการทําธุรกิจเป็นข้อปฏิบัติที่ธุรกิจยึดถือปฏิบัติ ตามในการปฏิบัติหน้าที่ของตน