Get Started. It's Free
or sign up with your email address
IES6 by Mind Map: IES6

1. วัตถุประสงค์

1.1. เพื่อทำการประเมินว่าผู้มุ่งมั่นประกอบ วิชาชีพบัญชีสามารถพัฒนาตนเองให้มีระดับความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่เหมาะสม ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

2. หลักในการประเมิน

2.1. กิจกรรมการประเมินการออกแบบมาเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

2.1.1. ความน่าเชื่อถือของข้อสอบอัตนัยอาจเพิ่มขึ้นได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้คำที่กำกวมในคำถาม หรือคำสั่งของข้อสอบ

2.1.2. ความน่าเชื่อถือของการทดสอบเชิงวัตถุประสงค์อาจเพิ่มขึ้นได้ด้วยการทบทวนเนื้อหาของ ข้อสอบทั้งจากภายในและภายนอกก่อนที่ข้อสอบนั้นจะเสร็จสมบูรณ์

2.1.3. ความน่าเชื่อถือของการประเมินการปฏิบัติงานจริงอาจเพิ่มขึ้นได้ด้วยการคัดเลือก ผู้ประเมินที่มีความสามารถสูง

2.2. กิจกรรมการประเมินจะมีระดับความเที่ยงตรงสูง ก็ต่อเมื่อกิจกรรมนั้นสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัด ความเที่ยงตรงไม่ใช่ตัววัดที่สมบูรณ์

2.2.1. ความเที่ยงตรงที่แท้จริง

2.2.1.1. กิจกรรมการประเมินจะมีความเที่ยงตรงที่แท้จริง หากกิจกรรมการ ประเมินนั้นสามารถวัดผลในสิ่งที่ต้องการวัด

2.2.2. ความเที่ยงตรงในการคาดการณ์

2.2.2.1. มีความเที่ยงตรงในการคาดการณ์ สูงหากเนื้อหาของกิจกรรมการประเมินนั้นสัมพันธ์กับลักษณะของความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ ประกอบวิชาชีพเฉพาะเรื่องที่ต้องการประเมิน

2.2.3. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

2.2.3.1. มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสูง หากกิจกรรมการประเมินครอบคลุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งของความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ถูกประเมินอย่างเพียงพอ

2.3. การออกแบบกิจกรรมการประเมินที่จะเพิ่มความโปร่งใสนั้นมีหลายวิธี

2.3.1. เปิดเผยให้สาธารณชนทราบเนื้อหาที่อธิบายถึงความรู้ ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ใช้ในการประเมิน

2.3.2. สื่อสารให้พนักงาน ทราบอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกรอบการประเมินความรู้ความสามารถของพนักงานที่จะถูกประเมิน

2.3.3. การเตรียมการและการจัดการสอบอาจเพิ่มขึ้นได้จากการให้สารสนเทศเกี่ยวกับ การพัฒนา การให้คะแนน และการจัดการการสอบต่อสาธารณชน

2.4. การออกแบบกิจกรรมการประเมินที่จะเพิ่มความเพียงพอ

2.4.1. จัดกิจกรรมการประเมินเพื่อประเมินความรู้ความสามารถทางเทคนิค ทักษะทางวิชาชีพ และค่านิยม จริยธรรมและทัศนคติทางวิชาชีพ

2.4.2. แสดงความรู้ความสามารถที่หลากหลายเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพผ่านทักษะการ ทำงาน และค่านิยม จริยธรรม และทัศนคติทางวิชาชีพ

3. หลักฐานที่พิสูจน์ได้

3.1. หลักฐานที่เที่ยงธรรม พร้อมให้พิสูจน์ได้ และจัดเก็บเป็นลายลักษณ์อักษร หรือสื่ออิเลคโทรนิกส์

3.2. ตัวอย่างของหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้

3.2.1. ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการศึกษา

3.2.2. ผลสัฤทธิ์ของผลสำเร็จจากการสอบ

3.2.3. หลักฐานแสดงถึงความสำเร็จในการทำงานของผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีที่ออกโดยผู้ว่าจ้าง

4. ขอบเขตของมาตรฐาน

4.1. กำหนดสำหรับการประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีที่ต้องพัฒนาให้มีขึ้นก่อนที่จะ สิ้นสุดการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

4.2. นำเสนอต่อคณะกรรมการของสหพันธ์นักบัญชี ระหว่างประเทศ (IFAC) ทั้งนี้คณะกรรมการฯ มีความรับผิดชอบในการประเมินว่าผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีมีระดับความรู้ความสามารถที่เหมาะสมเมื่อสิ้นสุดการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

4.3. การเรียนรู้และการพัฒนาที่ผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีจะต้องใช้ในเบื้องต้นเพื่อพัฒนา ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของตนอันนำไปสู่การปฏิบัติงานในบทบาทผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชี

4.4. กำหนดในการประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

4.4.1. ระบุข้อกำหนดในการประเมินที่เกี่ยวกับเนื้อหาเฉพาะตามที่ระบุในการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

4.4.2. ระบุข้อกำหนดในการประเมินประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

4.4.3. ระบุข้อกำหนดการประเมินสำหรับผู้มุ่งมั่นเป็นผู้สอบบัญชีรับผิดชอบงาน

4.5. คำนิยามและคำอธิบายของคำศัพท์ที่สำคัญ ที่ใช้ในมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศและกรอบ มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นไปตามอภิธานคำศัพท์ของ คณะกรรมการมาตรฐานการศึกษาการบัญชีระหว่างประเทศ

5. การประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยง ผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเป็นทางการ

5.1. กิจกรรมการประเมินในระหว่าง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

5.1.1. การสอบประมวลความรู้ข้ามศาสตร์เมื่อสิ้นสุดการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

5.1.2. ชุดการสอบที่เน้นวัดความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะด้านตลอดระยะเวลาการ พัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

5.1.3. ชุดการสอบและชุดการประเมินการปฏิบัติงานจริงตลอดการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

5.2. กิจกรรมการประเมิน

5.2.1. ข้อสอบอัตนัย

5.2.2. ข้อสอบปากเปล่า

5.2.3. ข้อสอบแบบปรนัย

5.2.4. การทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์

5.3. ประเภทของกิจกรรมการประเมินที่ได้รับการคัดเลือกสูง

5.3.1. ความห่างไกลและการกระจายของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีทำงานอยู่

5.3.2. แหล่งข้อมูลทางการศึกษาและแหล่งข้อมูลอื่นที่มีของสมาชิกสหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศ

5.3.3. จำนวนและภูมิหลังของผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีที่ได้รับการประเมิน

5.3.4. โอกาสในการเรียนและการพัฒนาของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง

5.4. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการระบุระดับความรู้ความสามารถ

5.4.1. ความซับซ้อนและความหลากหลายในหน้าที่การงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องเกี่ยวข้อง

5.4.2. ความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสีย (เช่น สาธารณชน ผู้ว่าจ้าง หน่วยงานกำกับดูแล)

5.4.3. ความรู้ ความชำนาญพิเศษที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีควรมีสำหรับการ ทำงานในอุตสาหกรรมเฉพาะ

5.4.4. ระดับการตัดสินใจในวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องใช้ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ

5.4.5. ความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมในการท างาน