ทารกแรกเกิด

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทารกแรกเกิด by Mind Map: ทารกแรกเกิด

1. 3.1 การสร้าง IgM ยังไม่สมบูรณ์ ได้รับ IgG จากมารดาขณะอยู่ในครรภ์น้อย และไม่ได้รับ IgA จากน้ำนมมารดา เนื่องจากในระยะแรกมักจะถูกงดนมทางปาก 3.2 เม็ดเลือดขาวมีน้อย จึงทำให้หน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรค (Phagocytosis) ไม่สมบูรณ์ 3.3 ผิวหนังและเยื่อบุปกป้องการติดเชื้อได้น้อยเนื่องจากผิวหนังของทารกเกิดก่อนกำหนดเปราะบาง Epidermis และ Dermis ยึดกันอย่างหลวมๆ จึงถูกทำลายได้ง่าย

2. ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

2.1. สาเหตุ

2.1.1. ด้านมารดาเช่นความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น มารดาเป็นHT

2.1.2. ด้านทารก เช่น ทารกแฝด พิการหรือติดเชื้อแต่กำเนิด

2.1.3. ด้านรก เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด

2.2. ทารกเกิดก่อนกำหนด (Premature infant)

2.2.1. ลักษณะ

2.2.2. การพยาบาลทารกแรกเกิดก่อนกำหนด

2.2.2.1. 1. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิกายให้อยู่ในระดับปกติได้

2.2.2.1.1. 1.1 ศูนย์ควบคุมความร้อนใน Hypothalamus ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ 1.2 พื้นที่ผิวกาย (Surface area) มีมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ทำให้สูญเสียความร้อนได้ง่าย 1.3 ไขมันใต้ผิวหนัง (Brown fat) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตความร้อนที่สำคัญ มีจำนวนน้อย Brown fat จะมีอยู่บริเวณสะบักและคอ รอบหลอดลม หลอดอาหาร หัวใจ ต่อมหมวกไต ฯลฯ ของทารก 1.4 ต่อมเหงื่อยังไม่ทำงาน ทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี

2.2.2.2. 2. การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของปอด และระบบประสาท กล้ามเนื้อต่างๆ

2.2.2.2.1. 2.1 ศูนย์ควบคุมการหายใจใน Medulla ยังเจริญไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อช่วยการหายใจไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ (Periodic breathing) 2.2 ปอดพัฒนาไม่เต็มที่ เส้นเลือดฝอยมีน้อย ขาดสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) ทำให้ถุงลมขยายตัวได้น้อยและช้า เมื่อหายใจเข้าและเมื่อหายใจออกถุงลมจะแฟบได้ง่าย ทำให้ทารกหายใจลำบาก 2.3 ฮีโมโกลบินของทารกเป็น Hb-F ซึ่งจับออกซิเจนได้ดี แต่ปล่อยให้เซลล์ได้น้อย 2.4 รีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการไอมีน้อย และหายใจทางปากยังไม่ได้

2.2.2.3. 4. เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของระบบทางเดินอาหาร

2.2.2.3.1. 4.1 รีเฟลกซ์ของการดูดกลืนมีน้อย 4.2 น้ำย่อย ต่างๆ ที่ใช้ย่อยอาหารมีไม่เพียงพอ การสร้างน้ำดีได้น้อย การย่อยอาหารโดยเฉพาะพวกไขมันทำได้ไม่ดีจึงเกิดท้องอืดได้ง่าย 4.3 Cardiac sphincter ปิดไม่สนิท เกิดการสำรอกนมได้ง่าย 4.4 ทารกเกิดก่อนกำหนดมีความต้องการพลังงานสูงกว่าทารกแรกเกิดครบกำหนด คือ ต้องการ 105 – 130 แคลอรี่/กก./วัน (Wilson, 1999) 4.5 มีภาวะต่างๆ ที่ทำให้ทารกใช้พลังงานในร่างกายมากกว่าปกติ เช่น ภาวะที่มีอุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่าปกติ ภาวะหายใจลำบาก เป็นต้น

2.2.2.4. 5. เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

2.2.2.4.1. ทารกเกิดก่อนกำหนดมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย ซึ่งหมายถึง ระดับน้ำตาลในพลาสม่าต่ำกว่า 40 mg% (เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, 2549) เนื่องจากสาเหตุดังนี้ 5.1 Glycogen สะสมที่ตับไว้น้อย จึงสลายเป็นกลูโคสได้น้อย 5.2 ไม่ได้รับกลูโคสจากมารดาภายหลังเกิด 5.3 การใช้กลูโคสเพิ่มขึ้นจากภาวะหายใจลำบาก การขาดออกซิเจน อุณหภูมิกายต่ำ 5.4 การสร้างกลูโคสจากโปรตีน (Glucogenesis) เกิดขึ้นได้น้อย

2.2.2.5. 6. เสี่ยงต่อการมีเลือดออกในอวัยวะและภาวะโลหิตจางได้ง่ายจากสาเหตุ

2.2.2.5.1. 6.1 ผนังเส้นเลือดพัฒนาไม่สมบูรณ์และขาด Connective tissue จึงเปราะบางง่าย 6.2 มีเส้นเลือดมาเลี้ยงที่ Ventricle ของสมองมากมาย แต่เส้นเลือดเปราะบาง เสี่ยงต่อการเกิด Intraventricular hemorrhage ได้ เช่น เมื่อทารกมีเลือดไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว หรือทารกมีภาวะการเป็นกรด หรืออุณหภูมิกายต่ำ เป็นต้น 6.3 Prothrombin และ Hematogenous-factor ต่ำ ขาดวิตามินเค เลือดจึงแข็งตัวได้ยาก 6.4 เหล็กที่ได้รับจากมารดาใน 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์มีจำนวนน้อย 6.5 Hb-F ของทารกมีชีวิตสั้น ประมาณ 80 – 90 วัน

2.2.2.6. 7. เสี่ยงต่อการเกิดความไม่สมดุลของสารน้ำ อิเลคโตรลัยท์และกรด- ด่าง ได้ง่าย

2.2.2.6.1. ไตยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ Glomerular filtration rate (GFR) ต่ำ มีภาวะ Negative sodium balance ในช่วง 1-3 สัปดาห์แรก จึงเกิดภาวะ Hyponatremia ได้ง่าย เนื่องจากเสียโซเดียมทางหลอดไต ทารกส่วนใหญ่ยังทำให้ปัสสาวะเข้มข้น (Concentrate) ไม่ได้เท่าผู้ใหญ่ ไตของทารกมีขีดจำกัดในการขับกรดออกจากร่างกาย เมื่อได้รับกรดมาก

2.2.2.7. 8.เสี่ยงต่อการแตกทำลายของผิวหนังได้ง่าย เนื่องจาก

2.2.2.7.1. 8.1 ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว 8.2 ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและทารกมักจะได้รับหัตถการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด (Invasive procedure) 8.3 ผิวหนังยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ มีชั้น Stratum corneum น้อย ผิวหนังชั้น Epidermis และ Dermis อยู่กันอย่างหลวมๆ มี Keratin เคลือบผิวหนังน้อยทำให้ผิวหนังบาง การซึมผ่านของผิวหนัง (Permeability) และการสูญเสียน้ำทางผิวหนังเพิ่มขึ้น (วีณา จีระแพทย์ และเกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, 2550)

2.2.3. 3. เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากการขาดภูมิต้านทานโรค

3. 1. น้ำหนักน้อย 2. รูปร่างรวมทั้งแขนขามีขนาดเล็ก 3. ศีรษะจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว กะโหลกศีรษะนุ่ม รอยต่อกะโหลก ศีรษะ และขม่อมกว้าง 4. เปลือกตาบวมและนูนออกมา ตามักปิดตลอดเวลา 5. ผิวหนังบางสีแดงและเหี่ยวย่น มองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังได้ชัดเจน มักบวมตามมือและเท้า ไขมันคลุมตัว (Vernix caseosa) มีน้อยหรือไม่มีเลย 6. พบขนอ่อน (Lanugo hair) ได้ที่บริเวณใบหน้า หลังและแขน ส่วนผมมีน้อย 7. การเจริญของกระดูกหูมีน้อย ใบหูอ่อนนิ่มเป็นแผ่นเรียบ งอพับได้ง่าย 8. ลายฝ่ามือฝ่าเท้ามีน้อยและเรียบ เล็บมือเล็บเท้าอ่อนนิ่มและสั้น 9. มีกล้ามเนื้อ และไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous fat) น้อย ผิวหนังเหี่ยวย่น 10. กล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงยังเจริญไม่ดี กระดูกซี่โครงค่อนข้างอ่อนนิ่ม ขณะหายใจอาจถูกกระบังลมดึงรั้งเข้าไปเกิด Intercostal retraction 11. หัวนมมีขนาดเล็ก หรือมองไม่เห็นหัวนม 12. ท้องป่อง เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง 13. ขนาดของอวัยวะเพศค่อนข้างเล็ก ในเพศชายลูกอัณฑะยังไม่ลงในถุงอัณฑะ รอยย่นบริเวณถุง (Rugae) มีน้อย ในเพศหญิงเห็นแคมเล็กชัดเจน 14. ความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่ดี ทารกมักจะเหยียดแขนและขาขณะนอนหงาย มีการเคลื่อนไหวน้อย การเคลื่อนไหวสองข้างไม่พร้อมกัน และมักเป็นแบบกระตุก 15. เสียงร้องเบา และร้องน้อยกว่าทารกแรกเกิดครบกำหนด 16. Reflex ต่าง ๆ มีน้อยหรือไม่มี 17. หายใจไม่สม่ำเสมอ มีการกลั้นหายใจเป็นระยะ (Periodic breathing) เขียว และหยุดหายใจได้ง่าย (Apnea)

4. การจำแนกประเภท

4.1. ตามน้ำหนัก

4.1.1. (LBW infant) คือ ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500

4.1.1.1. Very low birth weight คือ น้ำหนักต่ำกว่า 1,500 กรัม

4.1.1.2. Extremely low birth weight (ELBW) คือน้ำหนักต่ำกว่า 1,000 กรัม

4.1.2. (NBW infant) คือ ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิด 2,500 กรัม

4.2. ตามอายุครรภ์

4.2.1. (Preterm infant) คือ ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์< 37 สัปดาห์

4.2.2. (Term or mature infant) คือทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์ > 37 สัปดาห์ - 41 สัปดาห์

4.2.3. (Posterm infant) ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์ > 41 สัปดาห์

4.3. การกำหนดอายุครรภ์

4.3.1. 1.วิธีของสูติแพทย์

4.3.1.1. การคำนวณตามประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP) ของมารดา

4.3.1.2. วัดขนาดศีรษะ (Biparietal diameter) และความยาวของกระดูก Femur ของทารกในครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)

4.3.2. 2.วิธีของกุมารแพทย์

4.3.2.1. กำหนดอายุครรภ์ทารกที่เกิดออกมาแล้วจากการตรวจร่างกายของทารก ซึ่งมาตรฐานที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ วิธีของ New Ballard Scoring System

4.3.2.1.1. อาจมีความคลาดเคลื่อนได้  2 สัปดาห์

4.3.3. 3. การจำแนกตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ (Intrauterine growth chart)

4.3.3.1. กราฟที่ได้จากน้ำหนักของทารกในอายุครรภ์ต่างๆ ของทารกปกติ การจำแนกประเภทของทารกชนิดนี้ทำได้ โดยนำน้ำหนักแรกเกิดและอายุครรภ์ของทารกเทียบกับ Intrauterine growth chart

4.3.3.1.1. ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักเหมาะสมกับอายุครรภ์ [AGA]) หมายถึงทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักอยู่ระหว่างเปอร์เซนไทล์ที่ 10-90