ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)

1.1.1. เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกันหรืออาคารที่ใกล้กัน

1.1.2. ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ

1.2. เครือข่ายเมือง (Metropolises Area Network :MAN)

1.2.1. เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน

1.3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

1.3.1. เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมายมากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด

1.4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

1.4.1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล

1.4.2. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง

2. ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing)

2.1.1. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน

2.2. การแชร์ไฟล์

2.2.1. เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

2.3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)

2.4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ

2.5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)

3. การถ่ายโอนข้อมูล

3.1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission)

3.1.1. ส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต

3.2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)

3.2.1. สื่อสารทางเดียว (simplex)

3.2.1.1. ส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus)

3.2.2. สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex)

3.2.2.1. ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้

3.2.3. สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex)

3.2.3.1. สองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน

4. ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.1. การสื่อสาร

4.1.1. กระบวนการถ่านทอดหรือแลกเปลี่ยนสารหรือสื่อระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ

4.2. การสื่อสารข้อมูล

4.2.1. กระบวนการหรือวิธีการติดต่อข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์

4.3. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.3.1. การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์

4.4. Thailand ข้อมูลสื่อสารระบบผู้ซื้อสินค้า กรอภิธานศัพท์ประวัติศาสตร์โลก Thailand ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์โดบทางทหารผ่านสื่อตัวกลางที่ทางทหารผ่านอาจเป็นคุณสายเคเบิลในห้างหุ้นส่วนจำกัดหัวเรื่อง: การเชื่อมต่อหรือไม่ใช้ก็ได้คุณสาย ปัจจัยของระบบผู้ซื้อสินค้าสื่อสาร Thailand ข้อมูล มีดังนี้

4.4.1. ตรงเป้าหมาย

4.4.2. ความถูกต้อง

4.4.3. ความทันสมัย

4.4.4. ความคลาดเคลื่อน

5. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล

5.1. ข่าวสาร (Message)

5.1.1. ข้อมูลหรือสารสนเทศที่อาจเป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียงหรือวิดีโอ

5.2. ผู้ส่ง (Sender/Source)

5.2.1. อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลข่าวสาร

5.3. ผู้รับ (Receiver/Destination)

5.3.1. อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สำหรับรับข่าวสารจากผู้ส่ง

5.4. สื่อกลาง (Transmission Medium)

5.4.1. เป็นสื่อกลางที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากเครื่องส่งไปสู่เครื่องรับ

5.4.2. สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย

5.4.2.1. สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)

5.4.2.1.1. สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)

5.4.2.1.2. สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair :STP)

5.4.2.2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

5.4.2.2.1. เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะหรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน

5.4.2.3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable)

5.4.2.3.1. เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปแบบของแสง

5.4.3. สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย

5.4.3.1. คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)

5.4.3.1.1. สื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง

5.4.3.1.2. เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร

5.4.3.2. ดาวเทียม (Satellite)

5.4.3.3. แอคเซสพอยต์ (Access Point)

5.5. โพรโทคอล (Protocol)

5.5.1. กลุ่มของกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่างๆที่กำหนดขึ้นมา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้การสื่อสารบรรลุผล

6. ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล

6.1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)

6.1.1. เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือ ข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว

6.2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half-Duplex)

6.2.1. เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้

6.3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )

6.3.1. เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก