สอบสังคม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สอบสังคม by Mind Map: สอบสังคม

1. ขันธ์ 5

1.1. รูปขันธ์

1.1.1. ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย

1.2. เวทนาขันธ์

1.2.1. ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ

1.3. สัญญาขันธ์

1.3.1. ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่น เสียงดัง รูปสวย กลิ่นหอม รสหวาน ร้อน และดีใจ

1.4. สังขารขันธ์

1.4.1. กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ

1.5. วิญญาณขันธ์

1.5.1. ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6

1.5.1.1. บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป

1.5.1.2. อายตนะ 6

1.5.1.2.1. หู

1.5.1.2.2. ตา

1.5.1.2.3. จมูก

1.5.1.2.4. ลิ้น

1.5.1.2.5. กาย

1.5.1.2.6. ใจ

2. โลกธรรม 8

2.1. การมีลาภ

2.1.1. การได้มาซึ่งทรัพย์สิน เงิน ทอง โภชนะ และปัจจัยทั้งหลายตามสิ่งที่ตนปราถนา

2.2. การมียศ

2.2.1. การได้มานามที่เขาตั้งให้ เพื่อเป็นนามกำหนดในบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม

2.3. การมีคำสรรเสริญ

2.3.1. คำกล่าวที่เขาพูดถึงตนด้วยความบริสุทธิ์ใจในการเชิดชูต่อความดีหรือสิ่งที่ตนได้กระทำเพื่อผู้อื่น

2.4. การมีความสุข

2.4.1. ความอิ่มเอิบใจในสิ่งที่ได้มาตามความปรารถนาทั้ง 3 ประการ ข้างต้น นอกจากนี้ ความสุขที่มีนั้น ยังครอบคลุมถึงความสุขทางใจในด้านอื่นๆ

2.5. การเสื่อมลาภ

2.5.1. ความไม่เที่ยง และไม่คงอยู่ของลาภที่ได้มาทั้งปวง ลาภเหล่านั้น เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ย่อมมีวันลดน้อย

2.6. การเสื่อมยศ

2.6.1. ความไม่เที่ยง และไม่คงอยู่ของยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้มาทั้งปวง

2.7. การมีคำนินทา

2.7.1. คำกล่าวที่ผู้อื่นกล่าวถึงตนในทางเสื่อมเสีย คำเหล่านี้ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของทุกคน

2.8. การมีควาทุกข์

2.8.1. ความหม่อนหมองหรือขมขื่นใจที่เกิดจากการเสื่อมในลาภ ในยศ และในคำถูกกล่าวนินทา นอกจากนั้น

3. ปาปณิกธรรม 3

3.1. จักขุมา

3.1.1. การรู้จักสินค้า ดูสินค้าเป็น สามารถคำนวณราคากะทุนเก็งกำไรได้อย่างแม่นยำ

3.2. วิธูโร

3.2.1. รู้แหล่งซื้อแหล่งขายรู้ความเคลื่อนไหวหรือความต้องการของตลาด มีความสามารถในการจัดซื้อจัดจำหน่าย

3.3. นิสสยสัมปันโน

3.3.1. มีพร้อมด้วยแหล่งทุนเป็นที่อาศัย หมายถึงทำตัวเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจใสหมู่แหล่งทุนใหญ่

3.4. ความหมาย

3.4.1. คือหลักของการเป็นพ่อค้า หรือคุณสมบัติของพ่อค้า

4. กรรม 12

4.1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

4.1.1. กรรมให้ผลในปัจจุบันคือ ภพนี้ได้แก่กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตามกรรมนี้ให้ผลเฉพาะในชาตินี้เท่านั้น ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาตินี้ ก็กลายเป็นอโห- สิกรรม ไม่มีผลต่อไป

4.2. อุปปัชชเวทนียกรรม

4.2.1. กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ได้แก่ กรรมดีก็ตาม

4.3. อปราปริยเวทนียกรรม

4.3.1. กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่ทำในขณะชวน

4.4. อโหสิกรรม

4.4.1. กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ซึ่งไม่ได้โอกาสที่จะให้ผล ภายในเวลาที่จะออกผลได้ เมื่อผ่านล่วงเวลานั้นไปแล้ว

4.5. ชนกกรรม

4.5.1. กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ได้แก่ กรรมคือเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม

4.6. อุปัตถัมภกกรรม

4.6.1. ได้แก่กรรมพวกเดียวกับชนกกรรม ซึ่งไม่สามารถให้เกิด วิบากเอง แต่เข้าช่วยสนับสนุน หรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม

4.7. อุปฆาตกกรรม

4.7.1. กรรมฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรม ซึ่งให้ผลบีบคั้นผลแห่ง ชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม

4.8. ครุกรรม กรรมหนัก

4.8.1. กรรมฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังแรง เข้าตัดรอนความ สามารถของกรรมอื่น ที่มีกำลังน้อยกว่าเสีย

4.9. พหุลกรรม

4.9.1. กรรมดีหรือกรรมชั่ว ที่ประพฤติมาก หรือทำบ่อยๆสั่งสมเคยชินเป็นนิสัย เช่น คนมีศีลดี หรือเป็นคนทุศีล

4.10. อาสันนกรรม

4.10.1. กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ได้แก่ กรรมที่กระทำ หรือระลึกขึ้นมาใน เวลาใกล้จะตาย

4.11. กตัตตากรรม

4.11.1. กรรมที่ทำด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นๆ โดยตรง เป็นกรรมที่เบา

5. อปริหานิยธรรม 7

5.1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

5.1.1. เป็นการประชุมพบปะปรึกษาหารือกิจการงานต่าง ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

5.2. พร้อมเพรียงกันประชุม

5.2.1. ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการประชุมและการทำกิจกรรมทั้งหลายที่พึงกระทำร่วมกัน หรือพร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันบ้านเมือง

5.3. ไม่บัญญัติ

5.3.1. เป็นการไม่เพิกถอน ไม่เพิ่มเติม ไม่ละเมิดหรือวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อันมิได้ตกลงบัญญัติไว้ และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติไว้แล้ว

5.4. ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่

5.4.1. ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ยาวนาน ดังนั้นเราต้องให้เกียรติ ให้ความเคารพนับถือ และรับฟังความคิดเห็นของท่าน

5.5. ไม่ข่มเหงสตรี

5.5.1. เป็นการให้เกียรติและคุ้มครองสตรี มิให้มีการกดขี่ข่มเหงรังแก

5.6. เคารพบูชาสักการะเจดีย์

5.6.1. การให้ความเคารพศาสนสถาน ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่องเตือนความจำ ปลุกเร้าให้เราทำความดี

5.7. ให้การอารักขาพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ทรงศีล

5.7.1. เป็นการจัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครอง อันชอบธรรม แก่บรรพชิต ผู้ทรงศีลทรงธรรมบริสุทธิ์

6. นิวรณ์ 5

6.1. กามฉันทะ

6.1.1. ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่

6.2. พยาบาท

6.2.1. ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่

6.3. ถีนมิทธะ

6.3.1. ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม

6.4. อุทธัจจะกุกกุจจะ

6.4.1. ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ

6.5. วิจิกิจฉา

6.5.1. ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใจ

7. อธิปไตย 3

7.1. อัตตาธิปไตย

7.1.1. การถือตนเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นที่ตั้ง

7.2. โลกาธิปไตย

7.2.1. การถือโลกเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดถือกระแสของโลกเป็นประมาณ

7.3. ธัมมาธิปไตย

7.3.1. การถือธรรมคือความถูกต้องเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดความถูกต้องเป็นหลัก

8. ภาวนา 4

8.1. กายภาวนา

8.1.1. การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี

8.2. สีลภาวนา

8.2.1. การเจริญศีล, พัฒนาความประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย

8.3. จิตภาวนา

8.3.1. การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ

8.4. ปัญญาภาวนา

8.4.1. การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ

9. อุปาทาน 4

9.1. กามุปาทาน

9.1.1. ยึดติดในกามความพอใจ

9.2. ทิฏฐุปาทาน

9.2.1. ยิดติดในความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อของตนเอง

9.3. สีลัพพตุปาทาน

9.3.1. ยิดติดในความประพฤติ ธรรมเนียมปฏิบัติ ผู้ยึดติดย่อมพบกับความเสื่อมคือหลงทางเสียเวลาไปกับการปฏิบัติที่ผิด

9.4. อัตวาทุปาทาน

9.4.1. ยึดติดในตนเอง

10. วิตก 3

10.1. เนกขัมมวิตก

10.1.1. ความนึกคิดในทางเสียสละ ความนึกคิดที่ปลอดจากกาม คือ ไม่ติดในการปรนเปรอสนองความอยากของตน

10.2. อพยาบาทวิตก

10.2.1. ความนึกคิดที่ปลอดจากการพยาบาท หรือความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา คือไม่คิดขัดเคืองหรือพยาบาทมุ่งร้ายบุคคลอื่น

10.3. อวิหิงสาวิตก

10.3.1. ความนึกคิดที่ปลอดจากการเบียดเบียน ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย

11. โภคอาทิยะ 5

11.1. ใช้จ่ายทรัพย์

11.1.1. นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข

11.2. ใช้ทรัพย์นั้น

11.2.1. บำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข

11.3. ใช้ป้องกันภยันตราย

11.3.1. หรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย

11.4. ทำพล

11.4.1. สงเคราะห์ญาติ,ต้อนรับแขก,บำรุงราชการ (เสียภาษี), บำรุงเทวดา (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีของสังคม) และ ทำนุบำรุงให้บุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว

11.5. บำรุงสมณพราหมณ์

11.5.1. พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง ไม่ประมาทมัวเมา ผู้ที่จะดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม

12. อริยวัฑฒิ 5

12.1. ศรัทธา

12.1.1. มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล

12.2. ศีล

12.2.1. รักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ของชาวพุทธทั่วไป

12.3. สุตะ

12.3.1. ความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยการฟังซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ

12.4. จาคะ

12.4.1. รู้จักเสียสละ แบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น

12.5. ปัญญา

12.5.1. มีความรู้อย่างกว้างขวาง รู้ชัดเจน และรู้จริง เป็นความรู้ทั้งในวิชาชีพ วิชาสามัญ หรือรู้เท่าทันโลก

13. พระสัทธรรม 3

13.1. ปริยัตติสัทธรรม

13.1.1. คำสอนที่แสดงไว้เป็นหลักสำหรับการศึกษาเล่าเรียนจนเกิดความรู้ความเข้าใจแล้วนำไปสอนผู้อื่นต่อได้

13.2. ปฏิปัตติสัทธรรม

13.2.1. การนำคำสอนไปปฏิบัติให้สูงขึ้นเป็นลำดับ

13.3. ปฏิเวธสัทธรรม

13.3.1. มรรคผลนิพพาน เป็นผลจากการปฏิบัติตามคำสอน

14. อุบาสกธรรม 5

14.1. ต้องมีศรัทธา

14.1.1. มีความเชื่อตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา มั่นคงต่อพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งอันสูงสุด

14.2. ต้องมีศีล

14.2.1. การรักษาศีล๕,๘และตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพระพุทธศาสนา ศีล ๕ มีดังนี้

14.3. ต้องไม่ถือมงคลตื่นข่าว ให้เชื่อกฏแห่งกรรม ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว

14.3.1. ต้องมุ่งหวังผลจากการกระทำและการงานที่ทำที่เป็นไปตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่หวังผลจาก หมอดู

14.4. ต้องไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้

14.4.1. ต้องไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา ให้หมั่นสร้างบุญในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก

14.5. ต้องกระทำการสนับสนุนในพระพุทธศาสนานี้เป็นเบื้องต้น

14.5.1. ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา เช่น ตักบาตรทุกเช้า ไปวัดทำบุญ ฟังธรรม

15. วุฒิธรรม 4

15.1. สัปปุริสสังเสวะ

15.1.1. หมายถึงการคบคนดีมีความสามารถ “หาครูบาอาจารย์ที่ดีให้พบ” ครูผู้รู้ ผู้ทรงคุณงามความดี มีความประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ การเลือกครูดีนั้น

15.2. สัทธัมมัสสวนะ

15.2.1. “ฟังคำสอนครูบาอาจารย์ให้ชัด” เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว สิ่งสำคัญอันดับที่สองก็คือ ตั้งใจฟังคำสั่งสอนของท่าน เอาใจใส่เล่าเรียน

15.3. โยนิโสมนสิการ

15.3.1. “ตรองคำครูบาอาจารย์ให้ลึก” เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว ได้ฟังคำครูชัดเจนทำใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาให้เห็นเหตุผลคุณโทษในสิ่งที่ได้เล่าเรียนสดับฟังนั้น

15.4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ

15.4.1. “ทำตามครูบาอาจารย์ให้ครบ” ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฎิบัติธรรมถูกหลัก สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของธรรมทั้งหลายที่สัมพันธ์กัน

16. การบริหารจิต

16.1. จุดประสงค์นำทาง

16.1.1. 1. บอกวิธีการฝึกสมาธิตามหลักอานาปาณสติและข้อดีของการฝึกสมาธิตามหลักอาณาปาณสติได้ 2. บอกวิธีการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการได้ถูกต้อง

16.2. ความหมาย

16.2.1. การรักษาคุ้มครองจิต การฝึกฝนอบรมจิตหรือการทำจิตให้สงบ สะอาด ปราศจากความวุ่นวายเดือดร้อน ให้มีความเข้มแข็ง มีสุขภาพจิตดี และให้นำมาใช้ปฏิบัติงานได้ดี

17. โยนิโสมนสิการ

17.1. ความหมาย

17.1.1. การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาท