นางฟอง ทิมทอง อายุ 89 ปี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นางฟอง ทิมทอง อายุ 89 ปี by Mind Map: นางฟอง ทิมทอง          อายุ 89 ปี

1. บ้านเป็นบ้านชั้นเดียวเป็นบ้านเช่า ภายในบ้านมีพื้นที่จำกัด ไม่มีพื้นที่บริเวณหน้าบ้าน ภายในบ้านจัดของไม่เป็นระเบียบ พื้นที่คับแคบและภายในบ้านแออัดการถ่ายเทอากาศไม่สะดวก ภายในบ้านมีแสงสว่าที่ไม่เพียงพอ ห้องน้ำไม่มีราวจับ โถส้วมมีลักษณะนั่งยอง

2. การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (The comprehensive Geriatric Assessment)

2.1. แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale) คะแนน 24 คะแนน แปลผล ผู้มีความเศร้าปานกลาง (Moderate depression)

2.2. แบบประเมินความสามารถเชิงปฎิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล (Chula ADL Index) คะแนน 3 คะแนน แปลผล ภาวะพึ่งพาทั้งหมด

2.3. แบบประเมินความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม Hendrich II คะแนน 5 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงสูงต่อการลื่น ตก หกล้ม

2.4. แบบประเมินภาวะโถชนาการเบื้องต้น (Mini Nutritional Asseessment) คะแนน 12 คะแนน แปลผล ภาวะโภชนาการปกติ

2.5. แบบประเมินสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) คะแนน 13 คะแนน แปลผล ไม่มีภาวะสมองเสื่อม

2.6. แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ( Barthe Activites of Daily Living ADL) คะแนน 16 คะแนน แปลผล ภาวะพึ่งพาเล็กน้อย

3. ประเมินลักษณะที่อยู่อาศัย และ สภาพแวดล้อม

4. ข้อมูลส่วนตัว

4.1. นับถือศาสนาพุทธ สถานภาพหม้าย การศึกษาสูงสุด ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่4 สมาชิกในครอบครัว 5 คน แห่งสวัสดิการ/การรักษาพยาบาล โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (บัตรผู้มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์) ที่อยู่ 24/158 ถนนศรีวิชัย 51ขวา หมู่ที่ 2 ตำบลมะขามเตี้ย จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84000

5. ปัญหาทางการพยาบาล

5.1. เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากประสิทธิภาพการมองเห็นและการเคลื่อนไหวลดลง

5.1.1. ข้อมูลสนับสนุน S : คุณยายบอกว่า “ตามองไม่ค่อยเห็น” O : แบบประเมินความเสร่ยงการพลัดตกหกล้ม Hendrich II 5 คะแนน แปลผล มีความเสี่ยงสูงต่อการลื่น ตก หกล้ม O : ห้องน้ำเป็นพื้นกระเบื้องลื่น ไม่มีราวจับในห้องน้ำ โถส้วมมีลักษณะนั่งยอง O : ขณะลุกเดดินต้องใช้มือช่วยค้ำ O : ทดสอบการมองเห็นพบว่า ไม่สามารรถมองเห็นสิ่งต่างๆในระยะ 2 ฟุตได้ชัดเจน

5.1.2. วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

5.1.3. เกณฑ์การประเมินผล ไม่เกิดการพลัดตกหกล้ม

5.1.4. กิจกรรมการพยาบาล 1.ประเมินความสามารถในการทรงตัว คือ ทำกิจกรรมดังต่อไปนี้คือ 1.1ลุกขึ้นยืน 1.2ยืนโดยไม่เกาะ 1.3นั่งโดยพิงพนัก 1.4นั่งลง 1.5การเคลื่อนย้าย 1.6ยืนนั่งหลับตา 1.7ยืนตัวตรงเท้าชิด 1.8ยกแขนขนานกับพื้นเอนตัวไปข้างหน้า1.9ก้มเก็บของจากพื้นขณะยืน 1.10หันมองหลัง 1.11หมุนตัว360องศา 2.แนะนำให้ดูแลรักษาจัดของเป็นระเบียบในบ้านโดยเฉพาะทางเดินไม่มีสิ่งกีดขวางโดยเฉพาะทางเดิน 3.แนะนำให้สวมเสื้อผ้าพอดี ไม่หลวมเกินไป กางเกงหรือผ้านุ่งไม่ยาวเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการสะดุดล้มได้ 4.แนะนำให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนท่าการเคลื่อนไหวช้าๆหรือใช้ไม้เท้าในการช่วยเดิน 5.แนะนำให้ผู้สูงอายุไม่ควรสวมถุงเท้าเดินเพราะมีโอกาสลื่นล้มได้ 6.แนะนำให้ผู้สูงอายุสวมรองเท้าที่พอดีกับเท้าและลักษณะพื้นรองเท้าไม่ลื่น ควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ยและขอบมน รองเท้าหุ้มส้น รองเท้าควรมีดอยางไม่ลื่น 7.แนะนำให้ภายในบ้านมีแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อให้มองเห็นสิ่งต่างๆชัดเจน 8.แนะนำให้ภายในห้องน้ำมีราวขับเพื่อช่วยในการทรงตัวของผู้สูงอายุ ชักโครกควรเป็นชนิดนั่งราบหรือนั่งห้อยขา ดูแลให้ภายในห้องน้ำแห้งอยู่เสมอ 9.แนะนำให้หาเก้าอี้รองสำหรับนั่งเข้าห้องน้ำแบบนั่งยองเพื่อลดอาการปวดเข่าและความดันโลหิตต่ำขณะเข้าห้องนน้ำ 10.แนะนำไม่ให้พื้นบ้านมีพรรม เสื่อหรือยางปูรองพื้น เนื่องจากทำให้สะดุดล้มได้ แนะนำให้เอาพรมออกหรือผ้ายางปูพื้นออก หรือแนะนำให้นำเทปกาว2หน้าติดพรมหรือผ้ายางปูพื้นไว้เพื่อลดการลื่น 11.แนะนำการออกกำลังกายเพื่อการทรงตัว -ยืนกางขาสองข้างเล็กน้อยลงน้ำหนักที่ขาทั้งสองข้างเท่าๆ กัน จากนั้นถ่ายเทน้ำหนักบนขาขวาและขาซ้ายสลับกัน 10 ครั้ง -ยืนกางขาเล็กน้อย เตะขาขวาไปข้างหน้าเฉียงด้านซ้ายแล้วกลับมายืนท่าตรง จากนั้นเปลี่ยนมาเตะขาซ้ายไปข้างหน้าไปทางขวาแล้วกลับมายืนท่าตรง ทำข้างละ 5 ครั้งสลับไปมา -นั่งบนเก้าอี้ ศีรษะตั้งตรง เท้าวางราบกับพื้น หันหน้าไปขวามสุดแล้วกลับมาในท่าตรงและเปลี่ยนมาหันหน้าไปทางด้านซ้ายจนสุดแล้วกลับมาท่าตรง ทำสลับ5ครั้งง ถ้ามีอาการมึนงงให้หยุด -นั่งบนเก้าอี้ เท้าวางราบกับพื้น ก้มศีรษะลำตัวลง เอามือจับที่เท้าทั้งสองข้าง จากนั้นยืดลำตัวตรงในท่านั่งและเริ่มหมุนตัวไปทางด้านขวา นำมือจับข้อเท้าขวา สลับกับหมุนตัวไปทางด้านซ้าย นำมือจับข้อเท้าซ้าย ทำสลับกัน 5 ครั้ง 12.แนะนำให้มีแผ่นกันลื่นภายในห้องน้ำเพื่อลดการลื่น หกล้มได้

5.2. มีภาวะท้องผูกเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพเเวดล้อม

5.2.1. ข้อมูลสนับสนุน S : คุณยายบอกว่า”ไม่ถ่ายเป็นเวลา 3 วัน” O : คลำท้องผู้สูงอายุมีลักษณะท้องที่แข็งตึง O : ฟังเสียง bowel sound ได้ 4 ครั้ง/นาที

5.2.2. วัตถุประสงค์ทางพยาบาล เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก

5.2.3. เกณฑ์การประเมิน ผู้สูงอายุสามารถขับถ่ายได้ปกติ ไม่มีอาการท้องผูก

5.2.4. กิจกรรมการพยาบาล 1.แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำวันละ1000-2000ลิตร เพื่อช่วยให้ใยอาหารดูดซึมน้ำได้ดี ทำให้อุจจาระพองตัว นุ่มและเบ่งออกง่าย รวมไปถึงลดการอุดตันของลำไส้ 2.แนะนำการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น มะละกอ ส้ม เป็นต้น เพื่อให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวลงและขับถ่ายง่าย 3.แนะนำให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวร่างกายหรืออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ 4.แนะนำพฤติกรรมการขับถ่าย ให้ถ่ายอุจจาระทันทีไม่อั้นอุจจาระ 5.แนะนำการนั่งถ่ายบนโถส้วมชักโครกควรโค้งตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย อาจมีเก้าอี้ตัวเล็กรองบริเวณขา เพื่อชันเข่าขึ้นมาเล็กน้อย ทำให้หัวเข่าอยู่ตำแหน่งที่สูงกว่าสะโพก ซึ่งเป็นท่าที่ช่วให้สะดวกแก่การขับถ่าย 6.รับประทานยาระบาย เช่น ยาระบายมะขามแขก

5.3. มีภาวะซึมเศร้าเรื่องจากประสิทธิภาพการมองเห็นลดลงทำให้ช่วยเหลือตนเองได้น้อย

5.3.1. ข้อมูลสนับสนุน S : คุณยายบอกว่า”ไม่อยากอยู่เป็นภาระคนอื่น” O: สีหน้าของผู้สูงอายุเครียด คิ้วขมวด เงีบขรึม O: คะแนนแบบประเมินความสามารถเชิงปฎิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล (Chula ADL Index) คะแนน 3 คะแนน แปลผล ภาวะพึ่งพาทั้งหมด O: คะแนนแบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activites of Daily Living : ADL) คะแนน 16 คะแนน แปลผล ภาวะพึ่งพาเล็กน้อย O: แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale) คะแนน 24 คะแนน แปลผล ผู้มีความเศร้าปานกลาง (Moderate depression)

5.3.2. วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล เพื่อบรรเทาอาการซึมเสร้าที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

5.3.3. เกณฑ์การประเมิน ผู้สูงอายุมีสีหน้าสดชื่น มีอาการซึมเศร้าลดลงหรือไม่พบอาการซึมเศร้า กิจกรรมการพยาบาล

5.3.4. กิจกรรมการพยาบาล 1.ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการรักษาเฉพาะทางของผู้สูงอายุเรื่องตา เพื่อตรวจความผิดปกติของตาที่เกิดขึ้น 2.แนะนำการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยทางร่างกายให้แข้งแรงแล้ว สภาพจิตใจยังดีขึ้นด้วย ทำให้เกิดความผ่อนคลายความเศร้า 3.แนะนำให้ผู้สูงอายุอย่าคาดหวังอะไรที่มากเกินไปทั้งในการทานและการปฎิบัติกิจกรรรมต่างๆ 4.แนะนำให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ผู้อายุชอบ เพราะจะช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้น 5.แนะนำให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆกับผู้อื่นเพราะจะทำให้เกิดกรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 6.แนะนำให้ผู้ดูแลรับฟังผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจเพราะจะทำให้ผู้สูงอายุสบายใจขึ้น

6. ข้อมูลทั่วไป

6.1. น้ำหนัก 48 กิโลกรัม ส่วนสูง 145 เซนติเมตร BMI = 22.82 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รอบเอว 89 เซนติเมตร