1. 6.กฎกระทรวง
1.1. คืออะไร?
1.1.1. กฎหมายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่กำหนดไว้
1.2. การตราขึ้น
1.2.1. พรบ.หรือพรก.ซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ ออกกฎกระทรวง จะเป็นผู้เสนอร่างกฎกระทรวงต่อครม. เมื่อครม.มีมติเห็นชอบแล้ว รมต.ว่าการกระทรวงนั้นประกาศใช้ร่างกฎกระทรวงนั้นเป็นกฎหมายได้ โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
2. 5.พระราชกฤษฎีกา
2.1. คืออะไร?
2.1.1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
2.2. การตราขึ้น
2.2.1. รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้อง เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อครม.ให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรธน. พรบ. หรือพรก.ที่เกี่ยวข้อง เมื่อครม.พิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. 4.พระราชกำหนด (พรก.)
3.1. คืออะไร?
3.1.1. กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
3.2. สถานการณ์ที่จะประกาศใช้
3.2.1. 1.พรก.ทั่วไป ออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
3.2.2. 2.พรก.เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ออกได้ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมี โดยต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
3.3. กระบวนการตรา
3.3.1. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่าง และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับ
4. 1.รัฐธรรมนูญ
4.1. คืออะไร?
4.1.1. กฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคหรือฉันพี่ฉันน้อง
4.2. ประเภท
4.2.1. เป็นลายลักษณ์อักษร
4.2.2. ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
4.2.2.1. กำหนดโดยจารีตประเพณี
4.2.2.2. กำหนดโดยหลักศีลธรรม
5. 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
5.1. คืออะไร?
5.1.1. เป็นเล่มแยกแจงรายละเอียดบทบัญญัติรธน.ให้ชัดขึ้น รธน.จะได้ไม่ยาวเกินไป และสะดวกต่อการแก้ไข
6. 3.พระราชบัญญัติ (พรบ.)
6.1. คืออะไร?
6.1.1. บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคล
6.2. การตราขึ้น
6.2.1. ทำได้ก็แต่ต้องผ่านคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้