โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ by Mind Map: โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

1. ใบเลี้ยงcotylodon

1.1. คือใบแรกที่อยู่ในเมล็ด ทำหน้าที่สะสมอาหารเพื่อเลี้ยงต้นอ่อน เช่น ใบเลี้ยงของพืช ใบเลี้ยงคู่พวกถั่วเหลือง ถั่วเขียว มะม่วง มะขาม หรืออาจทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารสะสมในรูปของเอนโดสเปิร์ม เพื่อเลี้ยงต้นอ่อนของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว ข้าวโพด มะพร้าว เป็นต้น

2. ใบเดี่ยว Simple leaf

2.1. ป็นใบที่ประกอบด้วยตัวใบเพียงใบเดียวที่ติดอยู่บนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น เช่น ใบมะม่วง ใบชมพู่

3. ใบประกอบ (Compound leaf

3.1. ป็นใบที่ประกอบด้วยใบเล็กๆ หลายๆ ใบ ติดอยู่กับก้านใบ 1 ก้าน ใบเล็กๆ แต่ละใบเรียกว่า ใบย่อย (Leaflet หรือ Pinna) ก้านของใบย่อยเรียกว่า ก้านใบย่อย ( Petiolule) และก้านใบใหญ่ที่เป็นช่วงอยู่ระหว่างก้านใบย่อยแต่ละใบ เรียกว่า ราคิส (Rachis : Gr. rhachis = กระดูกสันหลัง)

4. ก้านใบ (petiole)

4.1. ป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างตัวใบกับลำต้น มีลักษณะเป็นก้านสั้นๆ ในใบหญ้าก้านใบมักจะแบนบางโอบส่วนลำต้นไว้ ซึ่งนิยมเรียกว่ากาบ หรือ sheath พืชบางชนิดอาจไม่มีก้านใบ เรียกใบแบบนี้ว่า sessile leaf ถ้ามีก้านใบเรียกว่า petiolate

5. ใบสะสมอาหาร (Storage leaf)

5.1. เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่เก็บสะสมอาหาร จึงมีลักษณะอวบหนา ได้แก่ใบเลี้ยง (Cotyledon) และใบพืชอีกหลายชนิด เช่น ใบว่านหางจระเข้ หัวหอม หัวกระเทียม กาบกล้วย ส่วนกะหล่ำปลี เก็บอาหารสะสมไว้ที่เส้นใบ และก้านใบอนึ่งใบเลี้ยงเป็นใบแรกที่อยู่ในเมล็ดพืช บางชนิดมีใบเลี้ยงขนาดใหญ่เนื่องจากการสะสมอาหารไว้ โดยดูดอาหารมาจาก เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) เพื่อนำไปใช้ในการงอกของต้นอ่อน ใบเลี้ยงจึงมีลักษณะอวบใหญ่ ใบเลี้ยงยังมีหน้าที่ปกคลุมเพื่อป้องกันยอดอ่อนไม่ให้เป็นอันตราย ในพืชบางชนิดเมื่อยอดอ่อนแทงทะลุดินขึ้นมา และเมื่อพ้นดิน

6. หนาม (Leaf spine)

6.1. เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงเป็นหนาม เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ที่มากัดกิน พร้อมกับป้องกันการคายน้ำ เนื่องจากปากใบลดน้อยลงกว่าปกติ หนามที่เกิดอาจมีการเปลี่ยนแปลงทั้งใบกลายเป็นหนาม หรือบางส่วนของใบกลายเป็นหนามก็ได้ ตัวอย่างเช่น หนามของต้นเหงือกปลาหมอเปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบและหูใบ หนามของต้นกระบองเพชรเปลี่ยนแปลงมาจากใบ หนามมะขามเทศเปลี่ยนแปลงมาจากหูใบ หนามของศรนารายณ์ (หรือต้นร้อยปี) เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบ

7. ใบประดับ (Bract)

7.1. ใบประดับ (Bract) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไป ทำหน้าที่ช่วยรองรับดอกหรือช่อดอกอยู่บริเวณซอกใบและมักมีสีเขียวแต่อาจมีสีอื่นก็ได้ ใบประดับมิได้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของดอก ตัวอย่างเช่น กาบปลีของกล้วย กาบเขียง (ใบที่หุ้มจั่นมะพร้าวและหมาก) ของมะพร้าวและหมาก ซึ่งมีสีเขียว บางท่านจัดรวมใบดอกและใบประดับไว้เป็นชนิดเดียวกัน แต่ถ้ามีสีสวยงามเรียกว่า ใบดอกแล้วยังช่วยสร้างอาหารอีกด้วย

8. ใบไม้Foliage

8.1. ป็นส่วนที่สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบไม้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ตามลักษณะที่แตกต่างกัน

9. ใบย่อย leaflet

9.1. สังเคราะห์ด้วยแสง

10. ใบพิเศษ (specialized leaf)

10.1. ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่อื่น ๆ นอกเหนือจากการสร้างอาหาร หายใจ และคายน้ำ

11. ใบจับแมลง หรือ พืชกินสัตว์ carnirorus leaf

11.1. กับดักแมลง เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดักแมลง หรือสัตว์เล็ก ภายในกับดักจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหารจำพวก โปรตีน เช่นต้นกาบหอยแคลง หยาดน้ำค้าง สาหร่ายข้าวเหนียว หม้อข้าวหม้อแกงลิง

12. มือเกาะ (Leaf tendrill)

12.1. เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นมือเกาะเพื่อยึดและพยุงลำต้นให้ขึ้นสูง มือเกาะอาจเปลี่ยนมาจากใบบางส่วน หรือใบทั้งใบก็ได้ตัวอย่างมือเกาะของถั่วลันเตา ถั่วหอม บานบุรีสีม่วง มะระ ดองดึง หวายลิงกะทกรก

13. ใบเกล็ด (Scale leaf)

13.1. เป็นใบที่เปลี่ยนมาจากใบแท้ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ตาและยอดอ่อน ใบเกล็ดไม่มีสีเขียวเพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ เช่นใบเกล็ดของสนทะเล ที่เป็นแผ่นเล็ก ๆ ติดอยู่รอบ ๆ ข้อ ใบเกล็ดของโปร่งฟ้า เป็นแผ่นเล็ก ๆ ติดอยู่ตรงข้อเช่นเดียวกัน ใบเกล็ด ของขิง ข่า เผือก แห้วจีน เป็นต้น นอกจากนี้ใบเกล็ดบางชนิดยังสะสมอาหารไว้ด้วย ใบเกล็ดจึงมีขนาดใหญ่ เช่น หัวหอม หัวกระเทียม