ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา by Mind Map: ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา

1. ความหมายของปรัชญา

1.1. ความหมายโดยอรรถ

1.1.1. ปรัชญาเป็นวิชาแม่บทของวิชาการแขนงอื่นๆ และมีความสัมพันธ์กับวิชาทุกๆ สาขาด้วย

1.1.2. ทำหน้าที่สืบค้นเรื่องราวต่างๆที่มนุษย์ยังไม่รู้และสงสัย จนกระทั่งรู้ความจริงและมีคำตอบ

1.2. ความหมายตามรูปศัพท์

1.2.1. ไพทากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้เริ่มใช้คำนี้เป็นครั้งแรก

1.2.2. มาจากภาษากรีกว่า Philosophy

1.2.2.1. รวมคำเข้าด้วยกันแปลว่าความรักในความรู้ ความรักในความฉลาดความรักในความปราดเปรื่อง (Love of Wisdom)

2. สาขาของปรัชญา

2.1. 1.อภิปรัชญา (Metaphysics) หรือ ภววิทยา (Onthology)

2.1.1. เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความจริง (Reality) เพื่อค้นหาความจริงอันเป็นที่สูงสุด (Ultimate reality

2.1.2. ความจริงที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น จิตวิญญาณ รวมทั้งเรื่องของพระเจ้า

2.2. 2.ญาณวิทยา (Epistemology)

2.2.1. เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความรู้ (Knowledge)

2.2.2. ธรรมชาติของความรู้ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ซึ่งความรู้อาจจะได้มาจากแหล่งต่างๆ

2.3. 3.คุณวิทยา (Axiology)

2.3.1. 3.1 จริยศาสตร์ (Ethics)

2.3.1.1. คุณค่าแห่งความประพฤติ

2.3.1.2. หลักแห่งความดี

2.3.1.3. ความถูกต้อง

2.3.1.4. คุณค่าแห่งจริยธรรม

2.3.2. 3.2 สุนทรียศาสตร์ (Anesthetics)

2.3.2.1. คุณค่าความงามทางศิลปะ

2.3.2.2. จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

3. ปรัชญาพื้นฐาน หรือปรัชญาทั่วไป

3.1. 1. ลัทธิจิตนิยม (Idialism)

3.1.1. มีความเชื่อว่าสิ่งที่เป็นจริงสูงสุดนั้นไม่ใช่วัตถุหรือตัวตน

3.1.2. บิดาของแนวความคิดลัทธิปรัชญานี้ คือ พลาโต (Plato)

3.1.3. คุณวิทยา : คุณค่าความดีความงามมีลักษณะตายตัวคงทนถาวรไม่เปลี่ยนแปลง

3.1.4. ญาณวิทยา : ความรู้เกิดจากความคิดหาเหตุผล และการวิเคราะห์

3.1.5. อภิปรัชญา : ความจริงสูงสุดต้องพัฒนาคนในด้านจิตใจมากกว่าวัตถุ

3.1.6. สรุปว่า ปรัชญาลัทธิจิตนิยมเป็นการพัฒนาด้านจิตใจ ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ศิลปะต่างๆ

3.2. 2. ลัทธิวัตถุนิยม หรือสัจนิยม (Realism)

3.2.1. มีความเชื่อในโลกแห่งวัตถุ (The world of things)

3.2.2. บิดาของลัทธินี้คือ อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก

3.2.3. อภิปรัชญา : ความเชื่อว่าความจริงมาจากธรรมชาติสามารถสัมผัสจับต้องได้ และพิสูจน์ได้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

3.2.4. คุณวิทยา : เชื่อว่าธรรมชาติสร้างทุกสิ่งทุกอย่างมาดีแล้ว

3.2.5. ญาณวิทยา : เชื่อว่าธรรมชาติเป็นบ่อเกิดของความรู้

3.2.6. สรุปว่า ปรัชญาลัทธิวัตถุนิยม เน้นความเป็นจริงตามธรรมชาติ การศึกษาหาความจริงได้จากการสังเกต สัมผัสจับต้อง และเชื่อในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ

3.3. 3. ลัทธิประสบการณ์นิยม (Experimentalism)

3.3.1. สนใจในโลกแห่งประสบการณ์

3.3.2. การเปลี่ยนแปลงในผู้กระทำ กระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นครบถ้วนแล้วจากมนุษย์

3.3.3. ผู้นำของความคิดนี้ คือ วิลเลียม เจมส์(William, James) และจอห์น ดิวอิ้ (John Dewey)

3.3.4. อภิปรัชญา : สิ่งใดที่ทำให้สามารถได้รับ ประสบการณ์ได้ สิ่งนั้นคือความจริง

3.3.5. ญาณวิทยา : ความรู้เกิดจากการลงมือปฎิบัติ

3.3.6. คุณวิทยา : การประพฤติปฏิบัติทางด้านศีลธรรม จรรยา เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างและกำหนดขึ้นมาเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

3.3.7. สรุปว่า ปรัชญาลัทธิประสบการณ์นิยม เน้นให้คนอาศัยประสบการณ์ในการแสวงหาความเป็นจริงและความรู้

3.4. 4. ลัทธิอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)

3.4.1. การมีอยู่ของมนุษย์มีมาก่อนลักษณะของมนุษย์(Existence precedes essence)

3.4.2. ให้ความสำคัญแก่มนุษย์มากที่สุด มนุษย์มีเสรีภาพในสิ่งที่ทำความพอใจและจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก

3.4.3. อภิปรัชญา : ความจริงเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

3.4.4. คุณวิทยา: ทุกคนมีเสรีภาพตามที่ตนพอใจด้วยความสมัครใจ

3.4.5. ญาณวิทยา : การแสวงหาความรู้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

3.4.6. สรุปว่า ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่ให้ความสำคัญแก่มนุษย์ว่ามีความสำคัญสูงสุด

4. ปรัชญาการศึกษา

4.1. ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับการศึกษา

4.1.1. มุ่งศึกษาเรื่องของชีวิตหาความจริง

4.1.2. วิธีการที่พัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงาม

4.1.3. จัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา

4.2. ลัทธิปรัชญาการศึกษา

4.2.1. นิรันตรนิยม (Perennialism)

4.2.1.1. แนวคิดทางการศึกษา:ความสามารถในการใช้เหตุผล

4.2.1.2. หลักสูตร : กำหนดโดยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ 2 กลุ่ม

4.2.1.3. ครู : มีความเชื่อว่าเด็กเป็นผู้มีเหตุผล

4.2.1.4. ผู้เรียน : เป็นผู้มีเหตุผลมี สติ ถือว่าผู้เรียนมีความสนใจใคร่เรียนรู้มุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคลฝึกฝนคุณสมบัติที่มีอยู่โดยการสอน

4.2.1.5. โรงเรียน : เป็นเสมือนตัวกลางในการเตรียมผู้เรียนให้เกิดความก้าวหน้าที่ดี

4.2.1.6. กระบวนการเรียนการสอน ใช้วิธีท่องจำเนื้อหาวิชาต่าง ๆ

4.2.2. สารัตถนิยม (Essentialism)

4.2.2.1. ความสนใจในเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ ถือว่าเนื้อหาสาระต่าง ๆ เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม

4.2.2.2. แนวความคิดทางการศึกษา:

4.2.2.2.1. การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว

4.2.2.2.2. ควรจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ

4.2.2.2.3. องค์ประกอบของการศึกษา

4.2.3. พิพัฒนาการนิยม (Progessivism)

4.2.3.1. แนวความคิดทางการศึกษา

4.2.3.1.1. การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตผู้เรียน

4.2.3.2. จุดมุ่งหมายของการศึกษา

4.2.3.2.1. ผู้เรียนจะต้องพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

4.2.3.3. องค์ประกอบของการศึกษา

4.2.3.3.1. ครู: ทำหน้าที่ในการแนะแนวทางให้แก่ผู้เรียนแล้วจัดประสบการณ์ที่ดีที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน

4.2.3.3.2. นักเรียน : ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing)

4.2.3.3.3. หลักสูตร : ครอบคลุมชีวิตประจำวัน

4.2.3.3.4. โรงเรียน :ทำหน้าที่เป็นแบบจำลองสังคม

4.2.3.3.5. กระบวนการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง (Child centered) โดยให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด

4.2.4. ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)

4.2.4.1. แนวความคิดพื้นฐาน

4.2.4.1.1. ความรู้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา

4.2.4.2. จุดมุ่งหมายของการศึกษา

4.2.4.2.1. ให้ผู้เรียนนำความรู้ไปพัฒนาสังคมโดยตรง

4.2.4.3. องค์ประกอบของการศึกษา

4.2.4.3.1. หลักสูตร : เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร

4.2.4.3.2. ครู : ทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหา

4.2.4.3.3. ผู้เรียน : คือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม

4.2.4.3.4. โรงเรียน : มีบทบาทต่อสังคมโดยตรง

4.2.4.3.5. กระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และลงมือกระทำเอง

4.2.5. อัตถิภาวนิยม (Existentialism)

4.2.5.1. แนวความคิดพื้นฐาน

4.2.5.1.1. เชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์

4.2.5.2. แนวความคิดทางการศึกษา

4.2.5.2.1. การศึกษาจะต้องให้อิสระแก่ผู้เรียนที่จะเลือกสรรสิ่งต่างๆได้อย่างเสรี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและ

4.2.5.3. องค์ประกอบของการศึกษา

4.2.5.3.1. หลักสูตร :ไม่กำหนดตายตัว แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดีขึ้น

4.2.5.3.2. ครู :ทำหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัว

4.2.5.3.3. ผู้เรียน : มีความสามารถในตนเองมีเสรีภาพอย่างแท้จริง เป็นผู้ทีเลือกแนวทางที่จะพัฒนาตนเองด้วยตนเอง

4.2.5.3.4. โรงเรียน : ต้องสร้างบรรยากาศให้มีความน่าเรียน

4.2.5.3.5. กระบวนการเรียนการสอน เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด