การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น by Mind Map: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

1. 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปของการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge Based OTOP : KBO) เป็นการขยายผลการดำเนินงานให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยการนำความร่วม มือของสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ในชุมชน มาช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ด้อยโอกาสหรือผลิตภัณฑ์ระดับ 1-2 ดาว ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยจัดตั้ง KBO จังหวัด ครบ 75 จังหวัด และสนับสนุนให้ KBO จังหวัด ได้พัฒนากลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP

2. 1. การ สำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนา ซึ่งกรมฯ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมกลุ่มต่างๆ ทั้งในด้านเทคนิคการผลิต การตลาด บรรจุภัณฑ์ การเป็นผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง พัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ

3. 2. การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP ได้พัฒนาคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสูงขึ้นตามเกณฑ์การคัดสรร ต่างๆ เป็นการสร้างระบบการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศส่งผลให้ผู้ผลิตมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับดาวจนถึงระดับพรีเมี่ยมต่อไป

4. 6. การส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับภูมิภาค โดยส่งเสริมให้มีการจำหน่ายสินค้าOTOP สลับภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดและเป็นการระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมและสร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน …………….. กรมการพัฒนาชุมชนได้ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและสนับสนุนให้เครือข่ายองค์ความรู้ ( KBO) จังหวัด เป็นศูนย์กลางช่วยเหลือการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดระดับประเทศในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สามารถระบายสินค้าได้มากที่สุด ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลโดย กอ.นตผ.ได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ปีละ 3 ครั้ง คือ งาน OTOP Midyear งานศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกล ด้วยพระบารมี และ งาน OTOP CITY ….แนวคิดและ หลักการ…………..“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่เน้นกระบวนการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ ในแต่ละหมู่ บ้าน ชุมชนหรือ ตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชนได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมา พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่เป็น ที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

5. ่4. การดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นและพัฒนาหมู่บ้านให้มีความพร้อมในการรอง รับนักท่องเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชน จากการบริการด้านการท่องเที่ยว และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อเผยแพร่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน

6. 5. การพัฒนาเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน จัดทำแผนการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน รักษ์สิ่งแวดล้อมของเยาวชน รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และบันทึกองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ต่อไปส