มีการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
มีการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ by Mind Map: มีการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ

1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1.1. 1.มีจุดแดง (จุดเลือดออกขนาดเท่าเข็มหมุด)

1.1.1. เลือดออกฝ่ามือฝ่าเท้า จะกดแล้วเจ็บ (Osler’s node )

1.1.2. จุดดำที่เรตินาเยื่อบุตา (Roth’s spot )

1.1.3. จุดเลือดออกบริเวณกระพุ้งแก้ม

1.1.4. จุดดำในเล็บ (Splinter hemorrhages)

1.2. 2.หัวใจเต้นเร็ว ม้ามโต ใช้เครื่องฟังตรวจ มักได้ยินเสียงฟู่ (murmur) ของหัวใจ

1.3. 3.มีการหลุดลอยของก้อน vegatation (เชื้อแบคทีเรียหลุดลอยไปในกระแสเลือด) ไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น หลอดเลือดแดง

1.4. 4.ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น WBC ต่ำ , ESR สูง

2. อาการและอาการแสดง

2.1. 1. มีภาวะการอักเสบของร่างกาย ( SIRS)

2.1.1. อุณหภูมิในร่างกาย≥ 38 องศาเซลเซียส (มีไข้สูง)

2.1.2. หนาวสั่น อ่อนเพลีย

2.1.3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

2.1.4. ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตามข้อ

2.2. 2..มีอาการเลือดออก เช่น มีเลือดกำเดาไหล หรือมีจุดแดงจ้ำเขียวขึ้นตามตัวผู้ป่วย

2.3. 3.มีอาการซีด (โลหิตจาง) ซึ่งจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ

2.3.1. ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีภาวะหัวใจวาย , อัมพาตครึ่งซึก , ภาวะไตวาย ร่วมด้วย

2.4. 4.ในรายที่เป็นชนิดเฉียบพลัน (Acute bacterial endocarditis) ผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้นรวดเร็ว และมีความรุนแรงแทรกซ้อนขึ้นรวดเร็ว

2.4.1. มักเกิดจากการติดเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส มักไม่มีประวัติความ พิการของลิ้นหัวใจมาก่อน

2.5. 5.ในรายที่เป็นชนิดเรื้อรัง (Subacute bacterial endocarditis) ผู้ป่วย มักมีอาการค่อยเป็นค่อยไปอย่างเรื้อรัง

2.5.1. บางคนอาจมีไข้นานเป็นแรมเดือน ซีด และผ่ายผอมลงเรื่อย ๆ มักเกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส

3. การรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือด

3.1. หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อทำการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ (hemoculture

3.2. ตรวจเอกซเรย์ ตรวจคลื่นหัวใจ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ

4. กิจกรรมการพยาบาล

4.1. 1.ให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อที่พบ ส่วนมากจะให้เพนิซิลลิน ชนิดฉีดในขนาดสูง ๆ นาน 4-8 สัปดาห์

4.2. 2.รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง

4.3. 3.ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยช่องปาก

4.4. 3.ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยช่องปาก

4.5. 5. ติดตามผลโลหิตวิทยา เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ

4.5.1. ค่า ESR

4.5.2. เม็ดโลหิตขาว (WBC) ได้แก่ ค่านิวโตรฟิล (นิวโทรฟิล)

4.6. 6.รักษาภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วมเช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวาย อัมพาต โลหิตจาง เป็นต้น

5. วิธีป้องกันเกิดโรคแทรกซ้อน

5.1. 1. ในกรณีถอนฟัน หรือสอดใส่เครื่องมือในทางเดินหายใจ จะให้อะม็อกซีซิลลิน ขนาด 50 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

5.1.1. (ผู้ใหญ่ 1 กรัม) ก่อนทำ 2 ชั่วโมง และหลังจากนั้นอีก 6 ชั่วโมงให้อีก 1 ครั้ง โดยลดขนาดลงเหลือครึ่งหนึ่ง

5.1.2. (ผู้ใหญ่ 3 กรัม) ก่อนทำ 1 ชั่วโมง และหลังจากนั้นอีก 6 ชั่วโมงให้อีก 1 ครั้งโดยลดขนาดยาเหลือครึ่งหนึ่ง

5.1.2.1. หรือให้อีริโทรไมซิน ขนาด 20 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

5.2. 2.ในกรณีสอดใส่เครื่องมือหรือสายสวนในทางเดินปัสสาวะให้อะม็อกซีซิลลินตามขนาดในข้อ 1 ร่วมกับฉีดเจนตาไมซินเข้ากล้ามหรือหลอดเลือดดำ

5.2.1. ขนาด 1.5 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมก่อนทำ30 นาทีและอีก 8 ชั่วโมงต่อมาฉีดซ้ำอีก 1 ครั้ง

5.3. 3.หมั่นสังเกตสุขภาพร่างกายของตัวเองอยู่เสมอเมื่อเกิดความผิดปกติ

6. ภาวะแทรกซ้อน

6.1. โรคหัวใจ

6.1.1. ลิ้นหัวใจถูกทำลาย

6.1.2. หัวใจวาย

6.1.3. หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

6.2. เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือมีการติดเชื้อในสมอง

6.3. ภาวะโลหิตจาง

6.3.1. เลือดออกง่าย

6.4. ไตวาย

6.4.1. ไตหยุดทำงาน

6.5. อัมพาตครึ่งซีก

6.6. ลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดภายในปอด

6.6.1. ปอดติดเชื้อ

6.7. โลหิตเป็นพิษ

7. ความหมาย

7.1. การอักเสบของเยื่อบุผนังด้านในหัวใจ (endocarditis) ถือเป็นภาวะร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษา อาจตายได้อย่างรวดเร็ว

7.2. พบมากในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

8. พยาธิสภาพ

8.1. ลิ้นหัวใจเป็นอวัยวะซึ่งไม่มีระบบเลือดที่มาเลี้ยงโดยตรง จึงไม่มีทางที่จะให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันเช่นเม็ดเลือดขาวเดินทางมาทำงานที่ลิ้นหัวใจได้

8.1.1. หากมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและก่อตัวเป็นก้อนเชื้อ (vegetation) ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดก้อนเชื้อนี้ได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกัน

8.1.1.1. การที่ลิ้นหัวใจไม่มีระบบเลือดมาเลี้ยงยังทำให้เป็นปัญหาในการรักษา เพราะยาจะไปถึงลิ้นหัวใจที่ติดเชื้อได้ยากเช่นกัน

8.1.1.2. ลิ้นหัวใจที่ปกติจะทำให้เลือดไหลผ่านได้โดยไม่ติดขัด แต่หากลิ้นหัวใจได้รับความเสียหาย เช่น จากไข้รูมาติก จะทำให้เลือดไหลผ่านอย่างไม่เป็นระเบียบ เพิ่มโอกาสที่เชื้อแบคทีเรียจะเกาะติดลิ้นหัวใจได้

9. เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อ

9.1. ซักประวัติเกี่ยวกับการผ่าตัดหรือความเจ็บป่่วยก่อนหน้านี้ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิด สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบได้

9.1.1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

9.1.2. ลิ้นหัวใจพิการ หรือมีลิ้นหัวใจเทียม

9.1.3. มีการใส่เครื่องมือแพทย์ เช่น pacemaker

9.1.4. เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ

9.2. แพทย์จะทำการฟังเสียงหัวใจ หากได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ อาจเป็นอาการหนึ่งที่แสดงว่าเป็นโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

9.2.1. การตรวจเลือด

9.2.2. การทำ endocardiogram

9.2.2.1. เป็นการใช้คลื่นเสียงในการสร้างภาพของภายในหัวใจ มำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจได้

10. สาเหตุการเกิดการติดเชื้อที่เบื่อบุหัวใจ

10.1. 1.เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่ สเตรปโตค็อกคัส และสแตฟฟีโลค็อกคัส

10.1.1. ใส่ลิ้นหัวใจเทียม

10.1.2. มีการใส่เครื่องมือแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น pacemaker

10.2. 2.ผู้ป่วยมักจะมีความพิการของลิ้นหัวใจอยู่ก่อน

10.2.1. ลิ้นหัวใจพิการจากโรคหัวใจรูมาติก

10.2.2. ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด

10.3. 3.เมื่อร่างกายมีการติดเชื้อ

10.3.1. เชื้อโรคก็จะผ่านกระแสเลือดเข้าไป ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหัวใจและลิ้นหัวใจ ในที่สุดเชื้อโรคก็จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย

10.3.1.1. เชื้อเข้าร่างกายขณะถอนฟัน เป็นโรคเหงือกอักเสบ

10.3.1.2. ฉีดเฮโรอีน (ด้วยเข็มไม่สะอาด) หรือใช้ยาเสพติดเข้าเส้น

10.3.1.3. ทำแท้งหรือติดเชื้อจากการผ่าตัด

10.3.1.4. มีสายสวนคาอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน