Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Bell's palsy by Mind Map: Bell's palsy

1. การพยาบาล

1.1. ควรตรวจดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยให้สะอาด เนื่องจากผู้ป่วยปากเบี้ยวอาจมีน้ำลายน้อย ทำให้อาหารไปติดสะสมอยู่บริเวณดังกล่าวและนำไปสู่โรคเหงือกอักเสบและฟันผุ

1.2. ช่วยเหลือผู้ป่วยให้ดูแลรักษาดวงตาที่เปลือกตาปิดไม่สนิทโดยหยอดน้ำตาเทียมระหว่างวัน และใช้ขี้ผึ้งป้ายตาตอนกลางคืนเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ รวมทั้งใส่ที่ปิดตาหรือแว่นตากันลม เพื่อป้องกันดวงตาเกิดแผล

1.3. ให้ผู้ป่วยฝึกทำการบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ฝึกเกร็งหรือคลายใบหน้า เพื่อเสริมความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อและกระตุ้นให้ฟื้นตัวจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ อาจใช้น้ำมันหรือครีมนวดหน้าผาก แก้ม และริมฝีปาก เพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้า

2. การวางแผนการจำหน่าย

2.1. ให้ความรู้เรื่องโรค สาเหตุการเกิดโรค การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

2.2. แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแพทย์สั่งและมาตรวจตามนัดเสมอ แต่หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ได้เลยไม่ต้องรอตามนัด

2.3. ในรายที่ต้องได้รับกายภาพบำบัด ควรไปรับการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์

2.4. ขณะอยู่บ้าน พยายามบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าด้ายการฝึกแยกเขี้ยว ยิงฟัน แล้วใช้มือยกมุมปากข้างที่เป็นอัมพาตขึ้นตามไปด้วย ทำวันละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 5-10 นาที

2.5. ให้กำลังใจ ดูเรื่องภาพลักษณ์

3. การวินิจฉัย

3.1. ซักประวัติ และตรวจร่างกาย ตรวจช่องปาก หู คอ จมูก และดวงตา

3.2. ตรวจการทำงานของประสาท (Electromyography ; EMG) เพื่อสนับสนุนว่ามีการทำงานผิดปกติของประสาทใบหน้าจริง

3.3. การตรวจเลือด หรือการตรวจภาพอวัยวะ เช่น สมอง (เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ MRI) มักเป็นการตรวจเมื่อแพทย์สงสัยสาเหตุจากโรคอื่น เช่น โรคเนื้องอกสมองอัมพาต อัมพฤกต์จากโรคหลอดเลือดสมอง

4. การรักษา

4.1. ให้ยากลุ่มสเตอรอยด์ เป็นเวลานาน 7 - 10 วัน มักจะมีอาการฟื้นและหายได้อย่างดีถึงร้อยละ 94 การใช้ยากลุ่มนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากมีผลข้างเคียงค่อนข้างอันตราย ไม่ควรซื้อยาทานเอง

4.2. ยาในกลุ่มวิตามินบีรวม หรือยาที่มีฤทธิ์รักษาเส้นประสาทส่วนปลาย

4.3. ยาป้ายตาที่เป็นยาปฏิชีวนะ ทาข้างที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตาได้รับการระคายเคืองจนเกิดการอักเสบ

5. สาเหตุ

5.1. ผลข้างเคียงของโรคบางโรค ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง

5.2. การติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะเชื้อเริม หรืออาจเคยติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจนำมาก่อน เช่น ไข้หวัดใหญ่

5.3. การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด

5.4. การอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial nerve)

6. อาการ

6.1. ปากเบี้ยว (มักจะเป็นแบบทันทีทันใด เช่น ตื่นนอนตอนเช้า) พูดไม่ชัด

6.2. มุมปากข้างใดข้างหนึ่งตก ดูดน้ำจะมีน้ำไหลออกมาที่มุมปาก

6.3. ไม่สามารถยักคิ้ว หลิ่วตา หรือหลับตาข้างใดข้างหนึ่งไม่สนิท

6.4. รู้สึกบวมหรือชาใบหน้าครึ่งซีก มีลิ้นครึ่งซึกชาหรือรับรสไม่ได้

6.5. หูข้างเดียวกันนั้นอาจอื้อหรือปวดได้

7. พยาธิสรีรภาพ

7.1. เกิดจากการบวม อักเสบของประสาทใบหน้า หรือ Facial nerve ซึ่งด้านซ้ายควบคุมใบหน้าด้านซ้าย ด้านขวาควบคุมใบหน้าด้านขวา ซึ่งเมื่อโรคเป็นชนิดไม่รุนแรง จะก่ออาการน้อย การอักเสบเพียงทำให้เกิดอัมพฤกต์ของใบหน้าด้านนั้น แต่ถ้าเป็นมากจะก่ออาการอัมพาตของใบหน้าด้านนั้น

7.2. โดยทั่วไปอาการของโรคจะหายไปภายใน 1 - 2 เดือน แต่ประมาณ 10% ของผู้ที่เคยเป็น Bell's palsy มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำอีก