Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Creatinine by Mind Map: Creatinine

1. ความหมาย

1.1. Creatinine เป็นของเสียที่เกิดจากการสลายกล้ามเนื้อ ที่สามารถตรวจพบได้ในเลือด และถูกขับออกทางไตในปริมาณคงที่ในแต่ละวัน จึงสัมพันธ์กับความยาวของร่างกาย และน้ำหนักตัว ค่าปกติของพลาสม่า Cr จึงเปลี่ยนตามอายุ Creatinine จะถูกกรองผ่านไต และขับออกไปทางปัสสาวะ ปริมาณของ Creatinine ที่เหลืออยู่ในเลือด จึงเป็นตัวชี้วัดการทำงานของไต

2. วัตถุประสงค์ของการตรวจ Creatinine

2.1. เพื่อตรวจสอบว่าไตยังทำหน้าที่ได้ตามปกติหรือไม่ และหากมีเหตุสำคัญหรือโรคร้ายแรงภายในไต หรือมีโรคหรือเหตุบกพร่องอื่น ๆ ที่มากระทบต่อเนื่องถึงไตแล้ว ไตของท่านจะยังแข็งแรงพร้อมที่จะรับมือกับเหตุร้ายแรงนั้น ๆ ได้มากน้อยเพียงใด

2.2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่ช่วยบ่งชี้เบื้องต้นในเหตุแห่งความร้ายแรงที่เกิดขึ้นที่ไต

2.3. เพื่อตรวจสอบในกรณีที่เคยมีโรคไตอยู่ก่อนว่า ในขณะนั้นไตมีสุขภาพดีขึ้นหรือแย่ลงเพียงใด

2.4. เพื่อตรวจสอบกลั่นกรองในกรณีที่ผู้ป่วยต้องกินยารักษาโรคอื่นบางโรคอยู่เป็นประจำนั้น (เช่น ผู้ที่แพทย์สั่งให้กินยาบางขนานไปตลอดชีวิต) ไตได้แสดงความเสียหายไปอย่างใดบ้างหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด

3. ค่าปกติของ Creatinie

3.1. ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine ในผู้ชาย คือ 0.6 - 1.2 mg/dL

3.2. ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine ในผู้หญิง คือ 0.5 - 1.1 mg/dL (ผู้หญิงมักจะมีค่าน้อยกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย)

3.3. ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine ในวัยรุ่น คือ 0.5 - 1.0 mg/dL

3.4. ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine ในเด็ก คือ 0.3 - 0.7 mg/dL

3.5. ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine ในทารก (อายุ 1 เดือนขึ้นไป) คือ 0.2 - 0.4 mg/dL

3.6. ค่าปกติทั่วไปของ Creatinine ในทารกแรกเกิด คือ 0.3 - 1.2 mg/dL

3.7. ค่าวิกฤติของ Creatinine คือ > 4.0 mg/dL

4. ค่า Creatinine ที่ต่ำกว่าปกติ

4.1. อาจบริโภคอาหารประเภทโปรตีนต่ำเกินไป

4.2. ร่างกายอาจมีมวลกล้ามเนื้อทั่วร่างกายน้อยกว่าปกติอยู่ก่อน เช่น จากโรคกล้ามเนื้อลีบ (Muscular dystrophy), โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายแรง (Myasthenia gravis) หรืออาจเกิดจากความชราภาพ ฯลฯ

4.3. อาจเกิดจากอาการอ่อนแรงและไม่ใคร่จะเคลื่อนไหวร่างกาย (Debilitation)

4.4. อาจเกิดจากการตั้งครรภ์

4.5. อาจเกิดจากโรคตับชนิดร้าบแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง

5. ค่า Creatinine ที่สูงกว่าปกติ

5.1. อาจมีเหตุสำคัญหรือโรคร้ายแรงภายในไต หรือเกิดขึ้นที่ไตโดยตรง

5.2. อาจมีเหตุสำคัญหรือโรคร้ายแรงจากที่อื่น แต่มีผลกระทบต่อเนื่องมาที่ไตและทำให้ไตเสียหาย เช่น การติดเชื้อจากจุลชีพก่อโรคบางชนิด, การเกิดอาการช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ, การเกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ, การเกิดสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้เลือดไหลผ่านไตมาด้วยปริมาณที่น้อยกว่าปกติมาก

5.3. ท่อปัสสาวะอาจถูกปิดกั้น เช่น จากนิ่วในไต

5.4. อาจเกิดจากภาวะขาดน้ำ (Dehydration) จึงทำให้เลือดเข้มข้นมากขึ้น เพราะครีอะตินีนในเลือดนั้นนับขนาดกันด้วย มิลลิกรัมต่อปริมาตรเลือด 1 เดซิลิตร

5.5. อาจเกิดจากโรคหัวใจวาย (Heart failure) ซึ่งหมายถึง หัวใจเต้นชาลง อ่อนแรงลง โดยมีปริมาตรเลือดจากการปั๊มของหัวใจน้อยลง จึงมีผลทำให้ไตได้รับเลือดที่ผ่านมาให้ไตกรองน้อยลง และมีผลต่อเนื่องทำให้ Creatine คั่งค้างอยู่ในเลือดมากขึ้น

5.6. อาจเกิดจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เช่น สภาวะของโรคกล้ามเนื้อสลาย (Rhabdomyolysis) ซึ่งทำให้ Creatine phosphate ที่แตกตัวอยู่ในรูปของ Creatinine ต้องลอยคับคั่งอยู่ในเลือด

5.7. อาจเกิดจากสภาพร่างกายใหญ่โตไม่สมส่วน (Acromegaly) เช่น โตเกินวัย หรือโตเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด หรือสูงผิดปกติ

5.8. อาจเกิดจากสภาพร่างยักษ์ (Gigantism)

5.9. อาจเกิดจากครรภ์เป็นพิษ

5.10. ไตอาจอยู่สภาวะวิกฤติถึงขนาดเป็นอันตรายในระดับที่ทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้เหมือนที่เคยกระทำ หากตรวจเลือดพบค่า Creatinine สูงเกินกว่า 4.0 mg/dL

5.11. อาจกำลังเกิดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ถ้าพบค่าทั้ง 3 อย่างนี้สูงกว่าปกติ คือ Creatinine, Urine albumin (อัลบูมินในปัสสาวะ) และความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติ (และถ้าตรวจพบค่า FBS สูงขึ้นผิดปกติมาก ๆ ในคนที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ก็อาจช่วยยืนยันและเร่งรัดให้ภาวะโรคไตเรื้อรังทรุดหนักเลวร้ายลง)

5.12. นักกีฬาในวันแข่งขันที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวออกแรงมากเป็นพิเศษ เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก นักกีฬาว่ายน้ำ นักเทนนิส ฯลฯ (หรือแม้แต่กรรมกรแบกหาม) ฉะนั้น ในวันแข่งขันจึงย่อมตรวจพบค่า Creatinine ในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ

6. ข้อควรรู้และคำแนะนำก่อนตรวจ Creatinine

6.1. ควรงดอาหารประเภทเนื้อ 2-3 วันก่อนการตรวจ Creatinine เพราะการกินอาหารประเภทเนื้อแดงอาจทำให้ค่า Creatinine สูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะเนื้อส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อย่อมจะมี Creatinine phosphate แฝงอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง โดยหากยิ่งทำให้สุกด้วยการใช้ความร้อนนาน ๆ อย่างการตุ๋น ก็จะยิ่งทำให้ Creatinine phosphate จากเนื้อสัตว์ออกมาปนอยู่ในอาหารและเพิ่มค่าให้สูงยิ่งขึ้นมากกว่าปกติ

6.2. ยาบางชนิดอาจมีผลต่อ Creatinine ได้ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้หยุดยาดังกล่าวก่อนชั่วคราว (ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยาทุกครั้ง) ซึ่งยาดังกล่าวได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs), ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside), ยารักษาโรคกระเพาะอาหารโอเมพราโซล (Omeprazole), ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim), ยาที่มีผลต่อการทำงานของไต (เช่น เซฟาโลสปอริน (Cephalosporins), ยาเคมีบำบัด

6.3. ในกรณีที่เหตุร้ายแรงเกิดขึ้นที่ตับ เช่น ตับได้รับสารพิษ ก็ย่อมทำให้ค่า BUN เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ แต่ในขณะเดียวกันค่า Creatinine อาจจะเพื่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจนอาจสังเกตไม่พบเลยก็ได้ ด้วยเหตุนี้ ในการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของไต แพทย์จึงแนะนำให้ตรวจหาค่า BUN ไปพร้อมกับ Creatinine ในวาระเดียวกันด้วยเสมอทุกครั้งไป (แม้ Creatinine จะเป็นค่าที่แน่นอนกว่า แต่ค่า BUN ก็จำเป็นเช่นกัน)

6.4. หากผลการตรวจเลือดพบค่า Creatinine มีแนวโน้มค่อย ๆ สูงขึ้น เช่น จากการตรวจเลือดทุก 6 เดือน กรณีอย่างนี้ก็ต้องรีบไปพบและปรึกษาแพทย์

7. ต้องตรวจ Creatinine บ่อยแค่ไหน

7.1. สำหรับการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปก็คือการตรวจปีละครั้ง

7.2. หากเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต แพทย์จะพิจารณาให้ตรวจถี่ขึ้น

7.3. สำหรับผู้ที่ได้รับยาที่ส่งผลต่อการทำงานไตหรือผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำแพทย์จะเจาะเลือดตรวจถี่ขึ้น