มาตรฐานความปลอดภัยของเรือเฟอร์รี่ภายในประเทศและระหว่างประเทศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
มาตรฐานความปลอดภัยของเรือเฟอร์รี่ภายในประเทศและระหว่างประเทศ by Mind Map: มาตรฐานความปลอดภัยของเรือเฟอร์รี่ภายในประเทศและระหว่างประเทศ

1. (2) สภาพอากาศ สภาพอากาศเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทําให้เกิดการเสียชีวิตและเรือสูญหายในทะเล เนื่องจากลมแรงที่มาพร้อมกับคลื่นสูงทําให้เรือที่โดยปกติแล้วสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยอาจเกิดอุบัติเหตุได้ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากเรือเฟอร์รี่จํานวนมากที่สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างฉับพลัน จากการสํารวจอุบัติเหตุ 232 ครั้ง พบว่า สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุอย่างน้อยประมาณร้อยละ 5 เกิดจากสภาพอากาศที่เป็นอันตรายไม่ปลอดภัยคลื่น สภาพน้ําท่วม มรสุม หรือกระแสน้ําที่รุนแรงผิดปกติ

2. (1) เรือแท็กซี่ (Water Taxis) เรือขนาดเล็กที่บริการข้ามทางน้ํา หรือเส้นทางการจราจรทางน้ําในระยะสั้น ทั้งนี้เรือแท็กซี่ (Water Taxis) ไม่ได้ดําเนินการในเส้นทางประจํา หรือตามตารางเวลาที่แน่นอน แต่จะดําเนินการบนพื้นฐานความต้องการของผู้โดยสาร ทําให้ปริมาณการให้บริการมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการความต้องการใช้บริการของผู้โดยสารในแต่ละวัน

3. (2) เรือเฟอร์รี่โดยสาร (Passenger Ferries) เรือขนาดใหญ่สามารถบรรทุกผู้โดยสารในปริมาณที่มากขึ้น ประมาณ 120-150 คน และมีความเร็วกว่าเรือแท็กซี่ (Water Taxis) ให้บริการในลักษณะของเรือขนส่ง ในเส้นทางระยะสั้นไปจนถึงเส้นทางระยะปานกลาง มีการกําหนดเส้นทางการเดินเรือตามตารางเวลาคงที่

4. (3) เรือเฟอร์รี่สําหรับบรรทุกยานพาหนะ (Automobile Ferries) เรือชนิดโรโรเฟอร์รี่ (Roll-on, Roll-off (RO-RO) Ferries) สามารถใช้ขนส่งยานพาหนะได้ดีเทียบเท่ากับการขนส่งคนโดยสาร นํามาใช้ในเส้นทางที่ข้ามผืนน้ําในระยะทางที่ไม่ยาวมาก และในเส้นทางชนบทที่มีทางข้ามแม่น้ําน้อย ให้บริการในลักษณะของเรือขนส่งและมีการกําหนดเส้นทางการเดินเรือตามตารางเวลาคงที่

5. การแบ่งประเภทตามลักษณะของรูปแบบการให้บริการ

6. การเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับการเดินเรือเฟอร์รี่ในต่างประเทศ

7. (1) ความผิดพลาดของมนุษย์หรือการดําเนินการที่ผิดพลาด ปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ผู้ประกอบการดําเนินการไม่ถูกต้อง ทําให้เกิดความผิดพลาดเนื่องจากการละเลย เช่น การลืมตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างเรือ การละเลยดําเนินการด้านความปลอดภัย ความผิดพลาดเนื่องจากเวลากล่าวคือ ดําเนินการเร็วหรือช้าเกินไป และความผิดพลาดจากการจัดลําดับ กล่าวคือ การกระทําที่จัดลําดับความสําคัญในการดําเนินการก่อนหลังไม่ถูกต้อง

8. (4) สาเหตุอื่นๆ ปัญหาการเดินเรืออื่นๆ เช่น การโดนกัน การหันเรือกระทันหัน ไฟไหม้เครื่องยนต์มีปัญหา ลูกเรือได้รับการฝึกฝนอย่างไม่พอเพียง ทําให้ไม่สามารถตอบสนองในกรณีเกิดภัยพิบัติที่รุนแรง ลูกเรือขาดประสบการณ์และไม่ดําเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรืออย่างเคร่งครัด ปัญหาไฟไหม้ที่พื้นที่บรรทุกในเรือเฟอร์รี่เนื่องจากการออกแบบไม่ถูกต้องการเกิดอุบัติเหตุมักจะเกิดในช่วงเวลากลางคืนหรือช่วงเช้ามืด เนื่องจากทัศนวิสัยไม่ชัดเจนและลูกเรือยังไม่ตื่นตัว สาเหตุเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของหลายๆ สาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้เรือเฟอร์รี่ในประเทศกําลังพัฒนามักจะเป็นการนําเรือเก่ามาให้บริการ ซึ่งในบางกรณีเรือดังกล่าวอาจไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเดินเรือในแหล่งน้ํานั้นๆ

9. 1.มาตรฐานความปลอดภัยของเรือเฟอร์รี่ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974

10. 1.1.2 โครงสร้าง การแบ่งพื้นที่และความทรงตัว การติดตั้งเครื่องจักรและไฟฟ้า

11. (1) ความสามารถในการซึมผ่าน (Permeability)พื้นที่เก็บของโรโร (Ro-ro spaces) ต้องมีการคํานวณสัดส่วนความสามารถในการซึมผ่าน (Permeability) ของพื้นที่ที่อยู่ในน้ํา เพื่อคํานวณความทรงตัวของเรือในภาวะเสียหาย (Damage stability) ซึ่งการซึมผ่านของน้ําในพื้นที่เก็บของโรโร (Ro-Ro Spaces)แบ่งออกเป็น 3 ส่วนไ

12. (2) ความสามารถในการกันน้ําผนังกั้นดาดฟ้า (Bulkhead Deck) ทั้งหมดหรือบางส่วนบนดาดฟ้าหลัก และลําตัวเรือต้องสามารถทนต่อแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวของน้ําภายในที่อยู่บนดาดฟ้าโรโร (Ro-Ro Deck)

13. 1) ส่วนที่ลึกที่สุด (Deepest Subdivision Draught)

14. 2) ส่วนที่เบากว่าร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับความแตกต่างระหว่างส่วนที่ลึกที่สุดและส่วนที่เบาที่สุด (Partial Subdivision Draught)

15. 3) ส่วนที่มีน้ําหนักเบาที่สุด (Light Service Draught)

16. (3) โครงสร้างของตัวเรือ การควบคุมเรือ และการป้องกันความเสียหายในการเข้าถึงพื้นที่ด้านล่างผนังกั้นดาดฟ้าหรือกรณีจําเป็นเพื่อการปฏิบัติงานที่สําคัญของเรือจะต้องมีการติดตั้งรางเพื่อยึดรถหรือยานพาหนะที่อยู่ในพื้นที่อย่างมั่นคงซึ่งรัฐบาลของรัฐเจ้าของธงเรืออาจอนุญาตให้มีการเข้าถึงพื้นที่ด้านล่างผนังกั้นดาดฟ้าเรือเพื่อการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรและสินค้า แต่ต้องป้องกันไม่ให้น้ําเข้าภายในพื้นที่

17. (6) ข้อควรระวังเกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้า สายไฟปกติหรือสายไฟที่ใช้สําหรับไฟฉุกเฉิน แสง การสื่อสารภายในหรือสัญญาณ ควรติดตั้งให้ห่างไกลจากห้องครัว ห้องซักรีด ห้องเครื่องและพื้นที่เสี่ยงภัยอื่นๆ สําหรับเรือโดยสารโรโร (Ro-Ro Passenger Ships) สายไฟสําหรับการเตือนภัยฉุกเฉินและระบบกระจายเสียงตามสายที่ติดตั้งตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป จะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลของรัฐเจ้าของธงเรือ โดยคํานึงถึงข้อเสนอแนะขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศนอกจากนั้น ในส่วนสายไฟที่เชื่อมต่อปั๊มดับเพลิงเข้ากับสวิตช์ฉุกเฉินจะต้องเป็นชนิดทนไฟ

18. (5) ไฟฉุกเฉิน สําหรับเรือโดยสารโรโร (SupplementaryEmergency Lighting for Ro-Ro Passenger Ships) บนเรือโดยสารที่มีพื้นที่เก็บของโรโร (Ro-Ro Spaces) หรือพื้นที่ประเภทพิเศษ (Special Category Spaces) ต้องมีการกําหนดให้พื้นที่โดยสารสาธารณะทั้งหมดจะต้องมีไฟฉุกเฉินที่สามารถใช้งานได้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงเมื่อแหล่งพลังงานอื่นๆ ทั้งหมดไม่สามารถทํางานได้ไฟฉุกเฉินจะต้องสามารถมองเห็นเพื่อการหลบหนีได้พลังงานสําหรับแสงไฟฉุกเฉินนั้นจะต้องประกอบด้วยแบตเตอรี่สะสมอยู่ภายในหน่วยส่องสว่างที่ชาร์จอย่างต่อเนื่องจากแผงควบคุมฉุกเฉิน ทั้งนี้หากแสงไฟปกติดับ ไฟฉุกเฉินจะต้องสว่างขึ้นทันทีนอกจากนี้แบตเตอรี่จะต้องเปลี่ยนตามช่วงเวลาโดยคํานึงถึงอายุการใช้งานที่กําหนดไว้และควรมีโคมไฟที่สามารถชาร์จไฟแบบพกพาได้ไว้ในทุกพื้นที่ของลูกเรือ พื้นที่การพักผ่อนหย่อนใจ และทุกพื้นที่ทํางาน เว้นแต่จะมีการติดตั้งไฟฉุกเฉินเอาไว้แล้ว

19. (4) ข้อกําหนดพิเศษสําหรับเรือโดยสารโรโร (Ro-Ro PassengerShips)

20. (4.1) การตรวจพื้นที่เรือในขณะที่เรืออยู่ในระหว่างการเดินทางจะต้องมีการตรวจตราหรือตรวจสอบบริเวณพื้นที่ประเภทพิเศษ (Special Category Spaces) และพื้นที่เก็บของโรโร (Ro-Ro Spaces) อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เช่น การเฝ้าระวังทางโทรทัศน์การเคลื่อนที่ของยานพาหนะในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออํานวย และการที่ผู้โดยสารเข้าไปในสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต

21. (4.2) การเก็บเอกสาร การเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการปิดและการรักษาความปลอดภัยของประตูทุกบาน ประตูขนถ่ายสินค้า และเครื่องสําหรับใช้ปิดอื่นๆ จะต้องเก็บไว้บนเรือและในสถานที่ที่เหมาะสม

22. (4.3) การเข้าถึงจากดาดฟ้าและทางลาดไปยังพื้นที่ของเรือโดยสารโรโร (Ro-Ro Passenger Ships)การเข้าถึงจากดาดฟ้าโรโรทั้งหมดและทางลาดยานพาหนะไปยังพื้นที่ด้านล่างของผนังกั้นดาดฟ้า (Bulkhead Deck) จะต้องปิดก่อนที่เรือจะออกจากท่าเทียบเรือและจะปิดจนกว่าเรือจะมาถึงท่าเทียบเรือถัดไป ซึ่งนายเรือจะต้องทําให้มั่นใจว่ามีการดําเนินการเฝ้าระวังและรายงานเกี่ยวกับการปิดเปิดดังกล่าว และตรวจสอบให้แน่ใจว่าในสมุดปูมเรือได้รายการ ช่วงเวลาของการเข้าถึงครั้งสุดท้ายก่อนที่เรือจะออกจากท่าเทียบเรือนั้น ทั้งนี้กรณีมีระยะเวลาเพียงพอและจําเป็นสําหรับการทํางานของเรือ รัฐบาลของรัฐเจ้าของธงเรืออาจอนุญาตให้เปิดการเข้าถึงได้ในระหว่างการเดินทาง

23. (4.4) ข้อห้ามผู้โดยสารในการขึ้นไปยังดาดฟ้าโรโรเมื่อเรืออยู่ในระหว่างการเดินทาง นายเรือหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายของเรือโดยสารโรโร (Ro-Ro Passenger Ships) ทุกลําต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้โดยสารไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงดาดฟ้าโรโรที่ปิดอยู่

24. เรือเฟอร์รี่(Ferry) เป็นเรือประเภทหนึ่งที่นํามาใช้ให้บริการรับขนส่งคนโดยสาร เนื่องจากมีลักษณะพิเศษด้าน ความสามารถในการบรรทุกสินค้า สัมภาระ และยานพาหนะได้ในคราวเดียวกัน ความสามารถรับขน ครั้งละเป็นจํานวนมากและมีค่าใช้จ่ายไม่สูง มีเส้นทางให้บริการระหว่างประเทศ ชายฝั่ง เกาะ หรือ ท่าเรือ เพื่อการท่องเที่ยวหรือการขนส่งสินค้าหรือสัมภาระ ถือได้ว่าเรือเฟอร์รี่สามารถช่วยอํานวย ความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีในการเดินทางสู่ที่หมายอย่าง ปลอดภัยยังคงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ทั้งปัจจัยภายนอก เช่น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ ทัศนวิสัยในการเดินเรือ และปัจจัยภายใน เช่น สภาพของเรือ ความสามารถของ กัปตันและลูกเรือ ผู้โดยสาร ความพร้อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าหากไม่สามารถควบคุม ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ได้ย่อมอาจส่งผลให้เรือเฟอร์รี่เกิดอุบัติเหตุโศกนาฏกรรมขนาดใหญ่ และสร้าง ความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้

25. การตรวจสภาพเรือไทย แบ่งประเภทการตรวจเรือออกเป็น

26. (1.1) เรือที่ใช้เดินระหว่างประเทศต้องได้รับการตรวจสภาพจากเจ้าพนักงานตรวจเรือ และมีใบสําคัญรับรองการตรวจเรือเพื่อแสดงว่าเรือมีสภาพที่ปลอดภัยและเหมาะสมสําหรับการใช้งาน โดยเรือไทยที่เป็นเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ และเรือไทยตามชนิดประเภท และขนาดที่กําหนดในกฎข้อบังคับกรมเจ้าท่าต้องมีใบสําคัญการตรวจเรือ รวมถึงใบสําคัญรับรองความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลด้วย นอกจากนี้กําหนดให้มีการตรวจแบบเรือก่อนที่จะต่อเรือ แก้ไข หรือดัดแปลงการตรวจเรือที่ซื้อมาจากต่างประเทศ

27. (1) พื้นที่เก็บของแบบปิด (Closed Ro-Ro Spaces) คือ พื้นที่เก็บของที่ไม่ใช่พื้นที่เก็บของแบบเปิดและไม่มีชั้นที่เปิดโล่ง

28. (2) พื้นที่เก็บของแบบเปิด (Open Ro-Ro Spaces) คือ พื้นที่เก็บของที่มีช่องเปิดอยู่ทั้งสองด้านหรือด้านใดด้านหนึ่ง มีประสิทธิภาพในการระบายอากาศตามธรรมชาติ

29. (1.2) เรือที่ใช้เดินในน่านน้ําไทยเป็นการเฉพาะ เรือไทยที่ใช้เดินในน่านน้ําไทยต้องได้รับการตรวจเรือและได้รับอนุญาตใช้เรือ การกําหนดให้ต้องตรวจแบบเรือเพื่อออกใบอนุญาตให้ใช้เรือแก่เรือที่ต่อขึ้นใหม่ แก้ไข หรือดัดแปลง ทั้งนี้กฎข้อบังคับของกรมเจ้าท่าอาจกําหนดให้เรือบางประเภทที่ใช้เดินในน่านน้ําไทยเป็นการเฉพาะต้องมีใบสําคัญรับรองการตรวจเรือบางอย่าง แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เป็นประเทศไทยเป็นภาคี

30. (2) การจัดการความปลอดภัย เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประมวลการจัดการระหว่างประเทศสําหรับการปฏิบัติการเรืออย่างปลอดภัยและป้องกันมลพิษ ออกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (International ManagementCode for the Safe Operation of Ships and for Pollution Prevention (ISM Code)) โดยกําหนดให้ผู้รับผิดชอบและผู้ควบคุมเรือไทยตามประเภทและขนาดที่กําหนด มีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลการจัดการความปลอดภัยระหว่างประเทศ โดยต้องมีหนังสือรับรองการปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลการจัดการความปลอดภัยระหว่างประเทศ และใบสําคัญรับรองการจัดการเพื่อความปลอดภัย หากเจ้าท่าตรวจพบว่าผู้รับผิดชอบเรือปฏิบัติไม่ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลการจัดการความปลอดภัยระหว่างประเทศ หรือเมื่อเจ้าท่าขึ้นไปบนเรือไทยพบว่าปฏิบัติไม่ถูกต้อง ให้เจ้าท่ามีอํานาจสั่งให้แก้ไขหรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กําหนด หากพ้นกําหนดเวลาดังกล่าว ไม่มีการปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง เจ้าท่ามีอํานาจเพิกถอนหนังสือรับรองการปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลการจัดการความปลอดภัยระหว่างประเทศ และใบสําคัญรับรองการจัดการเพื่อความปลอดภัย

31. (3) การรักษาความปลอดภัยของเรือไทย เป็นการบัญญัติขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามประมวลข้อบังคับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ออกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (International Ship and PortFacility Security Code (ISPS Code)) โดยกําหนดให้เรือที่เดินทะเลระหว่างประเทศมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลข้อบังคับการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศซึ่งจะต้องมีแผนการรักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุมัติจากเจ้าท่าแล้วไว้ประจําบนเรือ เว้นแต่เป็นเรือไทยที่เดินระหว่างประเทศที่กฎข้อบังคับกรมเจ้าท่ายกเว้นไม่ต้องมีแผนการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ต้องมีใบสําคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศที่เจ้าท่าออกให้และต้องเก็บรักษาใบสําคัญรับรองดังกล่าวไว้บนเรือ ทั้งนี้เจ้าท่ามีอํานาจเพื่อขึ้นไปบนเรือไทยและเข้าไปในสถานประกอบการของบริษัทเรือในเวลาทําการของสถานประกอบการนั้น สําหรับการพิจารณาอนุมัติแผนการรักษาความปลอดภัยของเรือและการออกใบสําคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ

32. (3) การบรรทุกเกินอัตรา การบรรทุกเกินอัตราเกิดจากผู้ประกอบการเรือเฟอร์รี่บางรายมีการจําหน่ายตั๋วในราคาที่ต่ํากว่าที่รัฐบาลกําหนด ถือได้ว่าเป็นการจงใจบรรทุกผู้โดยสารและบรรทุกสินค้าเกินอัตราเพื่อให้ได้มาซึ่งกําไรจากการประกอบกิจการ ซึ่งผู้ประกอบการมักจะไม่บันทึกชื่อของผู้โดยสารที่ลงเรือหลังจากบรรทุกเกินความจุของเรือที่รับได้ทําให้การรวมจํานวนและระบุผู้เสียชีวิตและสูญหายในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งเป็นไปอย่างยากลําบาก นอกจากนี้การบรรทุกที่เกินอัตราเป็นปัจจัยเร่งที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้โดยสารคาดว่าจะมีอันตรายจะเกิดการอพยพย้ายไปอยู่ในที่สูงของเรือหรือวิ่งไปอยู่ในด้านใดด้านหนึ่งของเรือ หรือการบรรทุกสินค้าที่หนักเกินไปและมีการเก็บหรือบรรจุไม่ถูกต้อง หรือเรือขนส่งสารอันตรายหรือสารไวไฟ ทั้งนี้ในการบรรทุกเกินอัตราและความแออัดยัดเยียดเป็นสาเหตุทําให้เกิดอุบัติเหตุประมาณ ร้อยละ 29 และมักจะเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นพร้อมกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย

33. 1.1.1 นิยามความหมายของเรือโดยสารโรโร (Ro-Ro Passenger Ship) เรือโดยสารโรโร (Ro-Ro Passenger Ships) เป็นเรือที่มีพื้นที่เก็บของโรโร (Ro-Ro Spaces) ลักษณะเป็นช่องว่างหรือพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกแบ่งตามวีธีการปกติกล่าวคือ พื้นที่เก็บของจะมีลักษณะตามความยาวขยายไปตามพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนของเรือ ซึ่งสามารถบรรทุกและขนถ่ายยานยนต์สินค้า รถราง รถไฟ ยานพาหนะ รวมถึงรถบรรทุก รถเทรลเลอร์ตู้คอนเทนเนอร์พาเลท (Pallets) ถังที่ถอดได้หรือตู้เก็บของหรือภาชนะอื่นๆ ที่คล้ายกันได้ตามปกติหรืออาจเป็นเรือโดยสารที่มีพื้นที่ประเภทพิเศษ (Special Category Spaces) ทั้งนี้เรือโดยสารโรโรสามารถแบ่งลักษณะของพื้นที่เก็บของออกเป็น 2 ประเภท

34. 1.1มาตรฐานความปลอดภัยของเรือโดยสารโรโร (Ro-Ro Passenger Ship)