ปรัชญาการสอนพลศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปรัชญาการสอนพลศึกษา by Mind Map: ปรัชญาการสอนพลศึกษา

1. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกียวข้องกับพลศึกษา

1.1. การเรียนการสอนพลศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ

1.1.1. กฎการเรียนรู้เกี่ยวกับความพร้อม

1.1.1.1. ความพร้อมทั้งกาย จิตใจที่จะเรียนรู้ เช่น ความแข็งแรง ความทนทาน ความว่องไว

1.1.2. กฎแห่งการฝึกหัด

1.1.2.1. พฤติกรรมที่กระทำซ้ำๆเพื่อให้ผลพฤติกรรมนั้นติดตัว ทำให้สมรรถภาพดีขึ้นและเกิดทักษะที่ดี

1.1.3. กฎแห่งผล

1.1.3.1. คือการพึงพอใจในตอบสนองของร่างกาย มีแนวโน้วว่าจะกระทำพฤติกรรมที่พึงพอใจซ้ำอีก หรือตอบสนองเพื่อที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก

1.1.4. ทฤฎีลองผิดลองถูก

1.1.4.1. เป็นการเรียนรู้กระทำซ้ำหลายๆครั้ง สามารถทำให้ถูกต้อง เมื่อผู้เรียนเรียนแล้วครั้งแรกไม่ถูกต้อง แต่จะพัฒนาจนทำได้ถูกต้อง

2. แนวคิด

2.1. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนพลศึกษา

2.1.1. ครูพลศึกษาจะต้องใช้เทคนิคสร้างแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอก มีหลักเกณฑ์และวิธีการสอนที่ถูกต้อง คำถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด

3. ปรัชญาพลศึกษา

3.1. คือการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล สามารถชี้ถูกชี้ผิดอย่างมีกฎเกณฑ์

4. ปรัชญาการสอนพลศึกษา

4.1. ปรัชญาจิตนิยม

4.1.1. ปรัชญาพลศึกษาตามแนวทางปรัชญาการศึกษาจิตนิยมนั้น มุ่งจัดกิจกรรมทางด้านพลศึกษาที่มุ่งพัฒนาตัวผู้เรียนด้านจิตใจ เช่น ความซื่อตรง ความกล้าคิดตัดสินใจ ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา เน้นจริยธรรมเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

4.2. ปรัชญาสัจนิยม

4.2.1. แนวการจัดพลศึกษาตามแนวปรัชญาการศึกษาสัจจนิยมนั้น มีพื้นฐานอยู่บนฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ การสอนกิจกรรมพลศึกษาต้องเริ่มจากพื้นฐานทีละขั้นจนถึงลงมือปฏิบัติหรือการเล่นจริง กิจกรรมต้องฝึกให้ผู้เล่นมีน้ำใจนักกีฬา อดทน รู้แพ้รู้ชนะ รู้อภัย ไม่ใช่มุ่งแต่จะแข่งขันเพื่อเป็นฝ่ายชนะเท่านั้นและที่สำคัญกิจกรรมต้องช่วยในการปรับตัวให้อยู่ได้ดีในสังคม

4.3. ปรัชญาปฎิบัตินิยม

4.3.1. ปรัชญาพลศึกษาแนวปฏิบัติการนิยมยึดถือหลักการเรียน โดยการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอาหลักการ ปรัชญาปฏิบัติการนิยมมาใช้ในทางพลศึกษาแล้วจะเน้นใน เรื่องของการวัดและประเมินผล

4.3.1.1. ปรัชญาพลศึกษาตามแนวปฏิบัติการนิยม

4.3.1.2. พลศึกษาตามแนวปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยมนั้น มุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนกิจกรรมหลายๆ ประเภทและเลือกกิจกรรมที่ตนสนใจและเหมาะกับตนเองมากที่สุด เน้นการเรียนรู้ชีวิตในสังคมตามสภาพจริงเพื่อการปรับตัวตลอดเวลา กล่าวได้ว่า การศึกษา คือ ชีวิต ครูผู้สอนวิชาพลศึกษามีหน้าที่ช่วยแนะนำ

4.4. ปรัชญาธรรมชาตินิยม

4.4.1. ปรัชญานี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปรัชญาวัตถุนิยม (Materialism Philosophy) เพราะเป็นปรัชญาที่กล่าวว่าสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจริงและมีรูปร่างคือสิ่งเดียวที่มีคุณค่า นักปรัชญาธรรมชาตินิยมมีความเชื่อว่า ธรรมชาติมีความแน่นอนและเชื่อถือได้และธรรมชาติคือ ขบวนการที่แสดงความต่อเนื่อง อนึ่งนักปรัชญากลุ่มนี้ยังมีความเห็นพ้องกันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากธรรมชาติ รวมทั้งการเรียนรู้

4.4.1.1. การนำหลักการของปรัชญาธรรมชาตินิยมไปใช้ในทางพลศึกษา

4.4.1.2. 1. กิจกรรมพลศึกษานั้นมีลักษณะของผลผลิตในด้านอื่นๆ ด้วย นอกจากมีผลทางด้านร่างกายแล้วปรัชญาธรรมชาตินิยมเห็นว่ากิจกรรมพลศึกษาสามารถพัฒนาผู้เรียนหลายอย่าง นอกจากจะเสริมสร้างความแข็งแรงและสมรรถภาพทางกายแล้ว กิจกรรมคือแหล่งที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียน

4.4.1.3. 2. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการปฏิบัติด้วยตนเอง กิจกรรมต่างๆ คือแหล่งของพัฒนาการความสามารถตามธรรมชาติของผู้เรียนซึ่งพวกเขาจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ และเกิดความมั่นใจได้โดยปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี เช่น กีฬาประเภททีม กีฬาประเภทบุคคลและกิจกรรมกลางแจ้ง ครูพลศึกษาจะเพิ่มกิจกรรมใหม่ๆ ให้แก่ผู้เรียน เมื่อพวกเขามีความพร้อม มีความต้องการและสนใจที่จะเรียนกิจกรรมใหม่

4.4.1.4. 3. การละเล่น (Play) คือกิจกรรมที่สำคัญในขบวนการศึกษา การละเล่นที่เกิดจากความสนใจของผู้เรียน คือ จุดเริ่มต้นในการสอน พฤติกรรมทางสังคมที่เราต้องการสอนจากการละเล่น ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในโลกกว้างหรือสิ่งแวดล้อมผู้เรียนจะเกิดการ “ปะทะ” หรือ “สัมพันธ์” กับบุคคลอื่นๆ โดยการเล่นกิจกรรมต่างๆ แล้วพัฒนานิสัยทางสังคมที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน

4.4.1.5. 4. ปรัชญาธรรมชาตินิยมไม่สนับสนุนการแข่งขันกีฬาที่ใช้ทักษะระดับสูง การจัดโปรแกรมพลศึกษาให้แก่ผู้เรียนนั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการปรับปรุงตัวเองและจะถูกประเมินอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินผลที่ความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาด

4.4.1.6. 5. พลศึกษาจะต้องจัดให้บุคคลอย่างครบองค์ คือ สอนบุคคลทั้งตัว พลศึกษาในแง่ธรรมชาตินิยมนั้นสามารถพัฒนาทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้เรียนด้วจะต้องจัดการเรียนการสอนที่สร้างสมดุลระหว่างพัฒนาการทางกายกับพัฒนาการทางสติปัญญา ดังนั้นกิจกรรมพลศึกษาที่ดีนั้นจะต้องพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกายและด้านสมองเพื่อเตรียมตัวพวกเขาให้ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.5. ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม

4.5.1. หลักปรัชญาพลศึกษาตามแนวความคิดของ ปรัชญาอัตถิภาวะนิยมประกอบด้วยกิจกรรมหลากหลาย เป็นสิทธิของผู้เรียนแต่ละคนที่เลือกกิจกรรมตาม ความต้องการได้ครูคือผู้ที่ช่วยให้เกิดความคิด ครูจึงมีบทบาทในการให้คำปรึกษาและแนะนำสร้างความสัมพันธ์ กับเด็กให้เกิดความอยากที่จะเสาะแสวงหาความจริง

4.5.1.1. การนำหลักการของปรัชญาอัตถิภาวะนิยมไปใช้ในทางพลศึกษา

4.5.1.2. 1.โปรแกรมพลศึกษาจะต้องให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนใน การเลือกกิจกรรมจัดโปรแกรมพลศึกษาให้มีหลาย ประเภทเพื่อให้ผู้เรียนเลือกตามความสนใจ

4.5.1.3. 2. การเข้าร่วมกิจกรรมที่ตนเองเลือก เป็นโอกาสที่ผู้ เรียนจะได้ประเมินคุณค่าของตนเองรวมทั้งทักษะความ สามารถผู้สอนมีบทบาทช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่จะ ช่วยให้ผู้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบไปด้วยในขณะ เดียวกันการเล่นมีผลต่อการพัฒนาทางการสร้างสรรค์

4.5.1.4. 3. นักพลศึกษาตามแนวปรัชญาอัตถิภาวะนิยม มีความ เชื่อมั่นว่าขณะที่ผู้เรียนเล่นกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ นั้น เป็นโอกาสของพัฒนาทางการสร้างสรรค์ การเล่นกีฬา ประเภทเดี่ยวและประเภททีมให้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน

4.5.1.5. 4. กิจกรรมพลศึกษามุ่งให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง การเข้า ร่วมกิจกรรมทั้งประเภทเดี่ยวและประเภททีม ทำให้ผู้ เรียนได้รู้จักตนเอง ความสามารถ ความชำนาญของ ตนเอง ผลจากการแข่งขันที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน คือ สิ่ง สำคัญที่ต้องพิจารณา กิจกรรมประเภทที่ช่วยเกิดการ ทดสอบตนเองเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยพัฒนา ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเองและช่วยให้ผู้เรียนรู้จัก ตนเอง ผู้สอนมีบทบาทเป็นที่ปรึกษา

4.5.1.6. 5. นักปรัชญาพลศึกษาแนวอัตถิภาวะนิยม ถือหลักการว่าผู้สอนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อตัวผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลอง ตัดสินใจและเลือกกิจกรรม ต่าง ๆ ที่จัดไว้ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำแนวทาง ที่จะเลือกและการเลือกวิธีต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนไม่ลังเล หรือวิตกว่าตนควรจะเลือกอย่างไรดี จึงเห็นได้ว่าการจัด พลศึกษาตามแนวปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยมมุ่งให้ เสรีภาพแก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่ จึงจัดโปรแกรมกิจกรรม พลศึกษาหลากหลายให้เลือก ทำให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเอง และพัฒนาการสร้างสรรค์ตัวเอง

5. ทฤษฎีการสอนพลศึกษา

5.1. ทฤษฎีของ Simpson

5.1.1. ซิมพ์ซัน กล่าวว่า ทักษะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางกายของผู้เรียน เป็นความสามารถในการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อหรือร่างกาย ในการทำงานที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนการทำงานดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการสั่งงานของสมอง

5.2. ทฤษฎี Harrow

5.2.1. แฮร์โรว์ ได้จัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ทางด้านทักษะปฏิบัติไว้ 5 ขั้น โดยเริ่มจากระดับที่ซับซ้อนน้อยไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมาก

5.2.1.1. ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนสังเกตการกระท าที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้ ซึ่ง ผู้เรียนย่อมจะรับรู้หรือสังเกตเห็นรายละเอียดต่าง ๆ

5.2.1.2. ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง เมื่อผู้เรียนได้เห็นและสามารถบอกขั้นตอนของการ กระทำที่ต้องการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนลงมือท าโดยไม่มีแบบอย่างให้เห็น

5.2.1.3. ขั้นที่ 3 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนจนสามารถ ทำสิ่งนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีแบบอย่างหรือมีคำสั่งนำทางการกระทำ

5.2.1.4. ขั้นที่ 4 ขั้นการแสดงออก ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนมากขึ้น จนกระทั่งสามารถ กระทำสิ่งนั้นได้ถูกต้องสมบูรณ์แบบอย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว ราบรื่น และด้วยความมั่นใจ

5.2.1.5. ขั้นที่ 5 ขั้นการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถกระทำสิ่งนั้น ๆอย่างสบาย ๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษ ซึ่งต้องอาศัยการ ปฏิบัติบ่อยๆ

5.3. ทฤษฎี Davies

5.3.1. เดวีส์ ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติไว้ว่าทักษะส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยทักษะย่อยๆจำนวนมาก การฝึกให้ผู้เรียนสามารถทำทักษะย่อยๆเหล่านั้นได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงต่อกันเป็นทักษะใหญ่ จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จได้ดีและเร็วขึ้น