การล้างแผลเเละการเย็บเเผล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การล้างแผลเเละการเย็บเเผล by Mind Map: การล้างแผลเเละการเย็บเเผล

1. suture เย็บแผล

2. การเย็บแผล เป็นหัตถการพื้นฐานในการดูแลแผลที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด การมีความรู้เกี่ยวกับแผลเข็มเย็บ ชนิดและขนาดของไหมเย็บ และวิธีการเย็บแผลชนิดต่างๆ จะช่วยให้แพทย์สามารถให้การดูแลบาดแผลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

3. เข็มเย็บแผล (surgical needle) เข็มเย็บปัจจุบันมักผลิตจาก Stainless steel มีลักษณะเรียวเล็กแต่แข็ง ประกอบด้วย ปลายเข็ม (point) ตัวเข็ม (body) และก้นเข็ม (swage)

4. หลักการเย็บแผล 1. ใช้ needle holder จับเข็มประมาณ 2/3 ของ body มาทางก้นเข็ม 2. ใช้ tooth forceps จับเนื้อเยื่อและผิวหนังด้วยความนุ่มนวล 3. ปักแข็งตั้งฉากกับผิวหนัง ไม่ควรตักเฉียงเพราะจะทำให้ ขอบม้วนลง (inversion) แผลจะสมานไม่ดีดังรูปที่ 5 4. ควรเย็บให้ถึงก้นแผล หรือในกรณีที่แผลลึกมากควรเย็บจากส่วนลึกขึ้นมาเป็นชั้นๆ เพื่อป้องกันการเกิดโพรงใต้แผล 5. บิดข้อมือหมุนเข็มตามโค้งของเข็ม ให้ระยะห่างของขอบแผลเท่ากัน ทั้ง 2 ข้างและเท่าๆกับความลึกของแผล ดังรูปที่5 ความห่างของขอบแผลจะเท่ากับความลึกถึงก้นแผล (x mm) 6. ผูกปมไหมด้วย surgical knot 3-4 ปม ดังรูป 6 7. เว้นระยะของแต่ละ stitch ให้เท่าๆกัน และให้ความกว้างของ stitch เป็น square (box) pattern

5. การผูกไหมด้วยเครื่องมือ - ใช้มือซ้ายจับไหมด้านยาว และดึงไหมให้เหลือปลายพอสมควร 2-3 เซนติเมตร - ใช้มือซ้ายจับไหมพันรอบ needle holder 2 รอบ แล้วใช้ needle holder จับปลายไหมด้านสั้นเพื่อสร้างปมที่ 1 - ดึงไหมให้แผลชิดกันแต่ไม่แน่นจนเกินไป สังเกตการพันของไหมจะไม่บิดพลิ้ว - หากปมคลายตัวง่ายให้ดึงไหมด้านสั้นมายังฝั่งตรงข้ามเพื่อล๊อคปม - วาง needle holder ระหว่างไหม ใช้ไหมด้านยาวพันรอบ needle holder ให้เกิดปม 2 - ทำซ้ำจนได้ 3-4 ปม - ตัดไหมยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หรือไม่ขัดขวางต่อการเย็บ stitch ถัดไป บาดแผลที่เย็บเสร็จแล้วควรปิดด้วย skin tape หรือ non-adherent dressing แล้วปิดด้วย gauze หลังจากนั้นถ้าไม่มี discharge ผิดปกติ หรืออาการแสดงของการติดเชื้อ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแผลจนกว่าจะตัดไหม การตัดไหมแต่ละตำแหน่งของร่างกายจะมีระยะเวลาที่เหมาะสมต่างกัน แต่ไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์พราะจะทำให้เกิด stitch mark และปมฝังลงในแผล ระยะเวลาโดยเฉลี่ยของแต่ละตำแหน่ง ใบหน้า ลำคอ ประมาณ 3-5 วัน ลำตัว ประมาณ 7 วัน แขนขา ประมาณ 10-14 วัน ทั้งนี้หากเป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวมากเช่นข้อต่อ อาจจะพิจารณายึดรั้งไม่ให้ข้อนั้นๆเคลื่อนไหวมากหรือขยายระยะเวลาการตัดไหมออกไปให้นานขึ้น เมื่อแผลสมานกันดีจะเกิด epithelium จะปกคลุมทั้งหมดหากใช้นิ้วลูบจะคลำได้รอยสะดุด (skin bridge)

6. wound dressing ล้างแผล

7. การทำเเผล

7.1. อุปกรณ์ 1.ขุดทำเเผลปลอดเชื้อ forceps 2 ถ้วยใส่น้ำยา สำลี ผ้าก๊อส 2.alcohol70% 3.ถุงมือสะอาด 4.ชามรูปไต 5.พลาสเตอร์ 6.อะซีโตน 7.nss

7.2. forceps

8. 1.ดูขนาดเเผลว่าต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์อะไรบ้าง 2.จัดท่านอนผู้ป่วยให้เหมาะสมเปิดเฉพาะตำเเหน่งที่มีเเผล 3.ล้างมือให้สะอาด ถูกต้องตามวิธีการเเละเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำแผล ตามความเหมาะสมกับเเผลของผู้ป่วย 4.จัดวางชุดทำเเผลให้ใกล้เเละสะดวกสำหรับทำเเผล เป็นตำเเหน่งที่ผู้ทำไม่ทิ้งสำลีใช้เเล้วข้ามของใช้ในชุดทำแผล จัดวางภาชนะสำหรับรองรับเศษสำลี ผ้าก๊อซจากการทำเเผลไว้ใกล้ๆขณะทำแผล5.เปิดชุดทำเเผลด้วยเทคนิคปลอดเชื้อเเล้วเตรียมน้ำยาสำหรับทำแผล 6.ใช้มือจับด้านนอกของชุดทำแผลเพื่อยกด้ามปากคีบขึ้นเเล้ววหยิบปากคีบออกจากชุดทำแผล7.ใช้ปากคีบชนิดมีเขี้ยวในชุดทำแผลหยิบผ้าปิดเเผลด้านในที่ชิดตัวเเผลออกเเล้วทิ้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ให้สังเกตว่าแผลมีอาการบวมเเดงกดเจ็บ เเละสิ่งที่ไหลออกจากเเผล ซึ่งติดอยู่กับผ้าปิดแผลที่เอาออก 8.ใช้ปากคีบไม่มีเขี้ยวหยิบสำลีชุบ เเอลกอฮอล์70%เเละใช้ปากคีบมีเขี้ยวอยู่ด้านล่าง บิดหมาดๆเเล้วใชช้ปากคีบมีเขี้ยวจับสำลีดังกล่าวเช็ดเเผล เเละผิวหนังรอบๆเเผลเท่านั้น เช็ดจนแผลเเละผิวหนังรอบๆแผลสะอาด เช็ดจากข้างในออกมาด้านนอก 9.ใช้ปากคีบไม่มีเขี้ยวหยิบผ้าก๊อซปิดเเผลให้มีขนาดใหญ่กว่าเเผลโดยรอบประมาณ1นิ้ว10.ปิดพลาสเตอร์ตามเเนวทางขวางกับลำตัวผู้ป่วย 11.เก็บเครื่องใช้ในการทำเเผล เเล้วทำไปเเช่ในภาชนะ