F/C เเละ D/C

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
F/C เเละ D/C by Mind Map: F/C เเละ D/C

1. ข้อปฏิบัติภายหลังการขูดมดลูก

1.1. พักผ่อนควรนอนพักผ่อนอย่างน้อย1 วัน ถ้ายังมีอาการผ่อนเพลียเนื่องจากเสียเลือด

1.2. เลือดที่ออก โดยปกติเลือดจะออกเล็กน้อย3-5 วัน หรือออกน้อยมากแทบไม่มี ถ้าเลือดออกมากเช่น ชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืนในเวลา 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ให้กลับมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอีกครั้ง

2. ผลกระทบที่จะเกิดกับผู้รับบริการ

3. การขูดมดลูก เป็นการตรวจพื้นฐานทางนรีเวช ซึ่งเป็นการตรวจที่ละเอียด เนื่องจากการขูดมดลูกนั้น เป็นการเก็บเนื้อเยื่อในคอมดลูก (endocervix) และเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium) ซึ่งการขูดมดลูกเพื่อแยกส่วนนั้น ในกรณีที่สงสัยพยาธิสภาพที่ปากมดลูกร่วมด้วย หรือผลตรวจโดยวิธีอื่นยังไม่พบพยาธิสภาพในโพรงมดลูก หากผู้รับบริการไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการขูดมดลูกเพื่อแยกส่วนนั้น กรณีที่ผู้ป่วยยังมีเลือดออกผิดปกติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในกรณีที่ปริมาณชิ้นเนื้อจากการสุ่มตรวจโดยวิธีอื่นไม่เพียงพอ หรือแปลผลทางพยาธิวิทยาไม่ได้ ผลกระทบที่จะเกิดกับผู้รับบริการก็คือ การวินิจฉัยเพื่อประกอบการรักษาก็จะไม่แน่ชัดและไม่สามารถแยกได้ว่าพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเกิดบริเวณตำแหน่งใด

3.1. ระดับความรุนแรงจากผลกระทบ

3.1.1. ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าพยาธิสภาพเกิดบริเวณตำแหน่งใดและมีการลุกลามหรือไม่

3.1.2. การขูดมดลูกอาจมีบางส่วนที่ตกค้างอยู่ซึ่งร่างกายไม่สามารถขับออกมาเองได้

3.1.3. การติดเชื้อหรือมีเลือดออกจากช่องคลอด บางกรณี การขูดมดลูกอาจยังมีเนื้อเยื่อบางส่วนตกค้างอยู่ ซึ่งร่างกายสามารถขับออกมาเองได้โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ แต่หากเกิดการติดเชื้อหรือมีเลือดออกจากช่องคลอดมากขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการขูดมดลูกซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

3.1.4. เกิดแผลเป็นภายในโพรงมดลูก ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก (Asherman’s Syndrome) มักเกิดขึ้นจากการขูดมดลูกหลังคลอดบุตรหรือแท้งบุตร ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนขาด หรือมีอาการเจ็บปวดมากขณะมีประจำเดือน เกิดภาวะมีบุตรยาก หรืออาจเกิดการแท้งบุตรขึ้นในอนาคต

3.1.5. ปากมดลูกเสียหายระหว่างการขูดซึ่งแพทย์จะทำการเย็บเพื่อซ่อมแซมภายใน

3.1.6. มดลูกทะลุ (Uterus Perforation) อาจเกิดจากเครื่องมือระหว่างทำการขูดมดลูก ซึ่งมักเกิดในผู้ที่เพิ่งตั้งครรภ์และหมดประจำเดือน

3.1.7. การตกเลือดและช็อก(shock) ในรายที่มีการขูดไม่หมดทำให้มีเศษเนื้อบางส่วนค้างอยู่ในโพรงมดลูกซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เลือดไหลไม่หยุดจากการขูดมดลูก เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยช็อกจากการเสียเลือดได้

4. มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่อยู่ในช่องเชิงกรานแท้เหนือต่อช่องคลอดอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับลำไส้ตรง (rectum) ที่มุมบนด้านข้างของแต่ละข้างมีท่อนำไข่ติดอยู่ มดลูกประกอบด้วยส่วนต่างๆ

4.1. คอร์นู (cornua) เป็นมุมบนด้านข้างของตัวมดลูกที่ท่อนำไข่ทั้งสองข้างติดอยู่

4.2. ตัวมดลูก (corpus หรือ body) เป็นส่วนถัดจากยอดมดลูกลงมามีรูปร่างเป็นทรงกระบอกค่อยๆ เรียวเข้าสู่ปากมดลูก มีความยาวประมาณ 2 ใน 3 ของมดลูก โพรงมดลูกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีด้านป้านอยู่ด้านบน

4.3. ปากมดลูก (cervix) เป็นส่วนของมดลูกที่ต่อมาจากตัวมดลูกลักษณะเป็นทรงกระบอกข้างในกลวงเรียกว่า โพรงมดลูก (cervical canal) ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร รูเปิดของโพรงปากมดลูกด้านบนเข้าสู่โพรงมดลูกเรียกว่า ปากมดลูกใน (internal os) รูเปิดของโพรงปากมดลูกด้านล่างเข้าสู่ช่องคลอดเรียกว่า ปากมดลูกนอก (external os) ในหญิงที่ไม่เคยคลอดบุตรปากมดลูกนอกจะเป็นรูปกลม ส่วนผู้ที่เคยคลอดบุตรแล้วจะมีรูปรีลักษณะเหมือนริมฝีปาก

4.4. ผนังมดลูก ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ

4.4.1. ชั้นนอก เรียก เพอริมีเตรียม (perimetrium ) เป็นเยื่อซีรัส (serosal layer) เกิดขึ้นจากเยื่อบุช่องท้องที่มาคลุมส่วนใหญ่ของมดลูก ยกเว้นขอบด้านข้างทั้งสองข้างของมดลูก และด้านหน้าของมดลูก

4.4.2. ยอดมดลูก (fundus) เป็นส่วนบนสุดมีลักษณะโค้งกลมทางด้านบนเหนือปีกมดลูก

4.4.3. ชั้นกลาง เรียก ไมโอมีเตรียม (myometrium) เป็นชั้นของกล้ามเนื้อเรียบที่หนาที่สุดของมดลูกซึ่งชั้นในจะมีจำนวนกล้ามเนื้อมากกว่าชั้นนอกและผนังด้านหน้ากับด้านหลังจะมีกล้ามเนื้อมากกว่าด้านข้าง

4.4.4. ชั้นใน เรียกว่า เอนโดมีเตรียม (endometrium) เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกมีลักษณะเป็นเยื่อมูกเปลี่ยนแปลงตามระยะของรอบประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกเป็น ciliated columnar epithelium ในขณะตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงเป็นเดซิดัว (deciduas) เป็นที่ฝังตัวและให้อาหารแก่ไข่ที่ถูกผสมแล้ว

4.4.5. เอ็นยึดมดลูก (ligaments of uterus)

4.5. เส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูก

4.5.1. Ovarian arteries เส้นเลือดนี้จะเลี้ยงรังไข่ส่วนปลาย

4.5.2. Uterine arteries เส้นเลือดนี้จะเลี้ยงส่วนของปากมดลูก ตัวมดลูก และส่วนบนของช่องคลอด

5. คอมดลูก (isthmus) เป็นบริเวณรอยคอดที่อยู่ระหว่างตัวมดลูกและปากมดลูกซึ่งส่วนนี้จะถูกยืดขยายเป็นมดลูกส่วนล่าง (lower uterine segment) ในขณะที่มีการคลอด

6. ช่วยผลักดันทารก รกให้ออกมาสู่ภายนอก

7. กายวิภาค สรีรวิทยา และกลไกของมดลูก

7.1. มดลูก (uterus)

7.2. หน้าที่ของมดลูก

7.2.1. เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่อาศัยของทารกขณะอยู่ในครรภ์

7.2.2. เป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดประจำเดือน คือ เกิดการลอกหลุดของเยื่อบุมดลูก

7.2.3. เป็นทางผ่านของเชื้ออสุจิเข้าไปผสมกับไข่ที่ปีกมดลูก

8. ขั้นตอนการขูดมดลูก

8.1. ขั้นตอนการรักษา

8.1.1. แพทย์จะทำความสะอาดปากมดลูกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และอาจใช้การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy) เพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อก่อนเริ่มต้นกระบวนการ

8.1.2. แพทย์จะสอดเครื่องมือถ่างช่องคลอดแบบปากเป็ด เพื่อเปิดผนังช่องคลอดและเข้าถึงปากมดลูก

8.1.3. หลังจากถ่างปากมดลูกแล้ว แพทย์จะสอดเครื่องมือขูดเนื้อเยื่อ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับช้อน และทำการขูดเนื้อเยื่อรอบ ๆ ผนังมดลูกออก

8.1.4. กรณีที่เครื่องมือขูดเนื้อเยื่อไม่สามารถเก็บเนื้อเยื่อออกได้ทั้งหมด แพทย์อาจใช้เครื่องมือสำหรับดูด เพื่อเก็บเนื้อเยื่อที่ตกค้างอยู่

8.1.5. แพทย์จะนำเครื่องมือต่าง ๆ ออกจากร่างกายเมื่อปริมาณตัวอย่างเนื้อเยื่อเพียงพอ หรือเมื่อไม่มีเนื้อเยื่อตกค้างภายในมดลูก และส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์ต่อไป

8.1.5.1. ผู้ป่วยจะนอนหงาย โดยวางขาทั้ง 2 ข้างแยกออกจากกันบนเตียงตรวจภายในหรือขาหยั่ง ซึ่งมีลักษณะเดียวกับที่ใช้ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) และอาจต้องใช้ยาสลบ ยาชาเฉพาะจุด หรือยาระงับความรู้สึกผ่านหลอดเลือดดำ โดยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของกระบวนการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีการเฝ้าดูสัญญาณชีพของผู้ป่วยตลอดการรักษา

9. คำถาม 2 ข้อ

9.1. 1.การขูดมดลูกที่เกิดจากการมีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกทำเพื่ออะไร

9.2. 2.อาการแสดงที่ควรมาพบแพทย์

10. ความสะอาดอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายตามปกติใส่ใจความสะอาดของช่องคลอด ล้างให้สะอาด ภายหลังการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อเปียกชุ่ม ปฏิบัติเหมือนมีประจำเดือน ห้ามสวนล้างช่องคลอด เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ ห้ามอาบน้ำโดยแช่น้ำในอ่าง แม่น้ำลำคลอง หรือสระว่ายน้ำ 1 สัปดาห์

11. การทำงาน ควรทำงานบ้านเบาๆ แล้วค่อยเพิ่มเติมตามลำดับ อย่าหักโหม ในระยะแรกไม่ควรยกของหนัก เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดถ่วงท้องน้อย

12. อาหาร รับประทานอาหารที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อความต้องการของร่างกายได้ตามปกติ

13. แนะนำการปฏิบัติตัวหลังขูดมดลูก

13.1. การรับประทานยาจะได้ยารับประทาน 2-3 ชนิด คือยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาบำรุงเลือด หากเสียเลือดมาก

13.2. การมีเพศสัมพันธ์ งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังการขูดมดลูก เพื่อป้องกันการตกเลือดและการติดเชื้อ

13.3. การมาตรวจตามนัด แพทย์จะนัดมาตรวจประเมินอาการ และฟังผลชิ้นเนื้อเป็นเวลา10 สัปดาห์ ควรมาตรวจตามนัดทุกครั้ง

13.3.1. สังเกตอาการผิดปกติขณะกลับไปอยู่บ้านเลือดออกมากผิดปกติ ปวดท้องน้อย พักแล้วไม่ดีขึ้น มีไข้ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีหนองออกมาทางช่องคลอด

14. กิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์ ประสงค์ ตันมหาสมุทร มงคล เบญจาภิบาล อรรถพล ใจชื่น และ ธันยารัตน์ วงศ์วนานุรักษ์(2560).ตำรานรีเวชวิทยา.กรุงเทพฯ.บริษัท.พีเอ.ลีฟวิ่ง.จำกัด

15. Elizabeth V. August and Conrad Fischer. (2014). Obstetrics & Gynecology Correlations and Clinical Scenarios. [e-book]. New York: McGraw-Hill Education. Retried October 11, 2019, from Error | McGraw-Hill eBook Library

16. ความหมาย

16.1. Dilation and Curettage ( D/C ) คือ การขูดมดลูกเพื่อการวินิจฉัย ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium)และสามารถหยุดเลือดในคราวเดียวกัน

16.2. Fractional and curettage (F&C) เป็นการขูดมดลูกแบบแยกส่วน เพื่อวินิจฉัยและรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติที่โพรงมดลูก ซึ่งเป็นการขูดมดลูกบริเวณคอมดลูก (endocervix) เพื่อเก็บเนื้อเยื่อที่ปากมดลูกก่อนทำการขูดมดลูก

17. ข้อบ่งชี้สำหรับการขูดมดลูก

17.1. การขูดมดลูกเพื่อการรักษา (Therapeutic D and C) คือการขูดเนื้อเยื่อภายในมดลูก ซึ่งใช้กับกรณีต่อไปนี้

17.1.1. การรักษาภาวะครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar Pregnancy) ภาวะครรภ์ไข่ปลาอุกคือการเกิดเนื้องอกที่รกในครรภ์ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการขูดมดลูก

17.1.2. การแท้งบุตร หากเนื้อเยื่อจากครรภ์สามารถหลุดออกมาได้เองทั้งหมด ก็ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติม แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเข้ารับการขูดมดลูก เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเนื้อเยื่อใด ๆ ตกค้างอยู่

17.1.3. การทำแท้ง ในกรณีที่กฎหมายอนุญาต และได้รับการพิจารณาว่ามีข้อบ่งชี้ในการทำแท้ง ผู้ทำแท้งอาจต้องเข้ารับการขูดมดลูกเพื่อนำเนื้อเยื่อภายในมดลูกออก

17.1.4. การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Hemorrhage) การขูดมดลูกใช้รักษาอาการเลือดออกในปริมาณที่มากเกินไปหลังการคลอดบุตรได้

17.2. การขูดมดลูกเพื่อการวินิจฉัย ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้น

17.2.1. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Cancer)

17.2.2. ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวผิดปกติ (Endometrial Hyperplasia)

17.2.3. ติ่งเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Polyp)

17.2.4. การมีเลือดออกจากอวัยวะเพศมากหรือนานเกินไป อาจใช้การขูดมดลูกกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาได้

18. การวางแผนการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง

18.1. การเตรียมตัวก่อนการขูดมดลูก

18.1.1. ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบหากผู้ป่วยสงสัยว่าอาจตั้งครรภ์ กำลังรับประทานยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด หรือมีประวัติการแพ้ต่าง ๆ

18.1.2. ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจเลือดก่อนขูดมดลูก เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด หรือตรวจการแข็งตัวของเลือด

18.1.3. แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเหน็บยาขยายปากมดลูกก่อนเข้ารับการรักษา 1 วัน เพื่อให้ปากมดลูกกว้างขึ้นและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

18.1.4. อาจต้องงดดื่มน้ำและรับประทานอาหารเป็นเวลา 1 คืนก่อนเข้ารับหัตถการ

18.2. การพยาบาลหลังทำการขูดมดลูก

18.2.1. ผู้ป่วยควรพาผู้ที่ไว้ใจได้มาด้วยเพื่อดูแลหลังทำการขูดมดลูก เนื่องจากฤทธิ์ของยาชา หรือยาสลบอาจทำให้ไม่สามารถกลับบ้านหลังทำการขูดมดลูกได้เพียงลำพัง

18.2.2. สังเกตภาวะเลือดออกจากช่องคลอด

18.2.3. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลง, วัด Vital signs ทุก ½-1 ชั่วโมง หรือตามคำสั่งแพทย์

18.2.4. ประเมินอาการปวด และให้ยาบรรเทาปวดตามแพทย์สั่ง

19. อ้างอิง

19.1. ชัชวาล วงศ์สารี.(2557).การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และนรีวิทยา.[PDF].สืบค้นจาก. http://www.elurse.ssru.ac.th

19.2. แพรวนภา ดีเอี่ยม.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 25620,จากโฮเนทด๊อก. http://www.honestdocs.co/วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

19.2.1. เตรียมร่างกายเเละจิตใจผู้ป่วยเข้ารับการรักษาการขูดมดลูก

19.3. Matthew Kaufman, Latha Stead, Jeane Holmes and Priti Schachel. (2010). First Aid for the Obstetrics and Gynecology Clerkship. [e-book]. US: McGraw-Hill Medical. Retried October 11, 2019, from Error | McGraw-Hill eBook Library 4097.

19.4. นันทนา ธนโนวรรณ .(2553).ตำราการพยาบาลนรีเวช(ฉบับองค์รวม).กรุงเทพฯ;บริษัท วิกิจำกัด

19.5. วีรศักดิ์ วงศ์ถิรพร ประสงค์ ตันมหาสมุทร มงคล เบญจาภิบาล และ ไอรีน เรื่องขจร.(2554).ตำรานรีเวชวิทยาเล่ม2.(พิมพ์ครั้งที่3).กรุงเทพฯ.บริษัท.พีเอ.ลีฟวิ่ง.จำกัด

19.6. อ้างอิงจาก E-book

19.6.1. Latha Ganti, Matthew S. Kaufman and Shireen Madani Sims. (2017). First Aid for the Obstetrics and Gynecology Clerkship. [e-book]. New York: McGraw-Hill Education. Retried October 11, 2019, from Error | McGraw-Hill eBook Library 9781259644078.