ขนาด​การกระจายตัว​และความหนาแน่นประชากร

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ขนาด​การกระจายตัว​และความหนาแน่นประชากร by Mind Map: ขนาด​การกระจายตัว​และความหนาแน่นประชากร

1. การทราบขนาดประชากรจะช่วยให้สามารถจัดเตรียมปริมาณบริการสุขภาพได้ตามความต้องการและความเหมาะสมการบริการสุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะมีมาตรฐานที่สัมพันธ์กันกับจำนวนผู้อาศัยที่รับบริการการสนับสนุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ปฏิบัติงานสิ่งอำนวยความสะดวกหรือ การให้ความช่วยเหลือ ขนาดประชากรในชุมชนใดๆมักจะมีลักษณะการกระจายตัวแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งโดยปกติมีรูปแบบเป็นความหนาแน่นของผู้อาศัยในพื้นที่บางส่วนเป็นการเกิดขึ้นของชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่นมากและผู้อาศัยหนาแน่น ต่ำดังนั้นความต้องการสำหรับบริการสุขภาพจะไม่เหมือนกันทั่วทั้งพื้นที่เชิงภูมิศาสตร์หากแต่จะมีมากกว่าสำหรับบางพื้นที่และในบางพื้นที่มีน้อยกว่า

2. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวกับขนาดการกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากรในอดีตสำหรับหลายประเทศทั่วโลก มักจะได้มาจากการสำมะโนประชากรซึ่งในแต่ละครั้งในระยะเวลาห่างกัน 10 ปี ในการสำมะโนมีความเกี่ยวข้องกับการนับบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในสถานที่เฉพาะแห่งหนึ่งณช่วงเวลาหนึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติของไทย ได้เริ่มดำเนินการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะครั้งแรกนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2503 การสำมะโนประชากรและเคหะได้ดำเนินการทุกๆ 10 ปี ปีล่าสุดคือปี 2553 สำหรับประเทศไทยกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยเป็นแหล่งข้อมูลประชากรอีกแหล่งหนึ่ง โดยกรมการปกครองมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและค้นหาการติดตามของประชากรของประเทศนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของ มหาวิทยาลัยเช่นสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตข้อมูลทางประชากร อีกทั้งหน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นเช่นสำนักงานปกครองจังหวัดสำนักงานปกครองอำเภอหน่วยงาน เหล่านี้ได้มีการรวบรวมและบันทึกข้อมูลทางประชากรไว้อีกด้วยหากแต่ยังขาดการนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง

3. ส่วนประกอบของการเปลี่ยนแปลงของประชากร 3 ประการคือภาวะการเจริญพันธุ์หรือการเกิดภาวะการตายหรือเสียชีวิต และการย้ายถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาดและการกระจายตัวของประชากรมากจัดส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ ประชากรเสมอแม้แต่ในสังคมแบบดั้งเดิมที่มีลักษณะเป็นสังคมคงที่ก็มักจะต้องผ่านประสบการณ์โดยได้รับผลของกระบวนการทางประชากร การคาดประมาณประชากรและการฉายภาพประชากรสามารถดำเนินการได้ทั้งในรูปแบบอย่างง่ายและ แบบซับซ้อนสำหรับวิธีการที่ง่ายที่สุดเพื่อการคาดประมาณหรือการฉายภาพการเปลี่ยนแปลงคือการใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อประมาณค่าข้อมูล นอกช่วงหรือข้อมูลในช่วงเป็นที่ชัดเจนว่าหากมีข้อมูลตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไปก็สามารถคาดประมาณหรือฉายภาพได้อย่างแม่นยำ การคาดประมาณและการฉายภาพประชากรยังสามารถสร้างขึ้น ด้วยการนำข้อมูลในปัจจุบันมารวมกันได้และการคาดประมาณและการถ่ายภาพทางประชากร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตัวแทนข้อมูลที่แท้จริงอย่างเช่นข้อมูลสำมะโนประชากร

3.1. การเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรของไทย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของขนาดประชากร มีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ

4. การส่งมอบการดูแลสุขภาพ

5. นิยามและการวัดขนาดการกระจายตัวและความหนาแน่น

6. เเนวโน้มของขนาด การกระจายตัว​ และ​ ความหนาแน่นประชากร

7. แหล่งข้อมูล​ ขนาด​ การกระจายตัว และ​ ความหนาแน่นประชากร

8. โดยทั่วไปอาจกล่าวได้ว่าชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยตั้งแต่ 2500 คนขึ้นไปและ น้อยกว่า 50,000 คนจะถือได้ว่าเป็นเขต เมืองขนาดเล็กหรือเป็นเขตเมือง เมืองขนาดเล็กๆกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ชนบท บริเวณเชื่อมต่อระหว่างชนบทกับเมืองของเขตมหานครมักจะเป็นที่ตั้งของเมืองขนาดเล็กและ โดยทั่วไปแล้วชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไปจะถือว่าเป็น เมืองใหญ่ซึ่งมี ขนาดใหญ่กว่าเขตเมืองเล็กที่มีลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่แยกผู้อยู่อาศัยออกจากเขต เมืองขนาดเล็กนอกจากนี้เมืองขนาดใหญ่ยังสามารถ จำแนกต่อไปเป็น เมืองขนาดเล็กเมืองขนาดใหญ่ปานกลางและเมืองขนาดใหญ่มาก โดยไม่มีขีดจำกัดด้านขนาดประชา กรสูงสุดสำหรับจำแนกเมืองที่ แตกต่างกันไปนั้นขึ้นอยู่กับว่า ใครเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ดังกล่าวสำนักงานสำมะโนประชากรได้มีการจำแนกขนาดเมืองใหญ่ที่สำคัญ เป็น 1 พื้นที่ทางสถิติของเขตมหานคร 2 พื้นที่ทางสถิติของเมืองขนาดเล็ก 3 พื้นที่ทางสถิติรวม พื้นที่ทางสถิติรวมเป็นพื้นที่ ทางสถิติของมหานครหรือเมืองขนาดเล็กที่ยังคงยึดเอกลักษณ์ของความ เป็นมหานครหรือเมืองขนาดเล็กไว้ในขณะที่นำมารวมเป็นพื้นที่มหานครซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า

9. ระบบสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์​

10. แหล่งที่อยู่ของผู้ป่วย

11. ความหนาแน่นของประชากร ความหนาแน่นของประชากรหมายถึงรูปแบบของการกระจายตัวและสัมพันธ์กับการกระจุกตัวหรือ การกระจัดกระจายของประชากรแรกเริ่มว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรความหนาแน่น เป็นการนำเสนอสารสนเทศกระจุกตัวของประชากรภายในพื้นที่เชิงภูมิศาสตร์เฉพาะแห่ง โดยปกติความหนาแน่นในประเทศไทยจะเป็นการวัดรูปแบบของบุคคลต่อตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรสำหรับพื้นที่ใดๆสามารถคำนวณได้เมื่อทราบขนาดของพื้นที่ดินและ ประชากรที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่สังเกตว่าการ เป็นการเน้นย้ำเฉพาะพื้นที่ดินโดยไม่นับรวมพื้นที่แหล่งน้ำเมื่อมีการคำนวณความหนาแน่นในทำนองเดียวกันสำหรับ พื้นที่ใดๆที่จำกัดไม่ให้อยู่อาศัยเช่นวรรณะอุทยานแห่งชาติอาจจะไม่ถูกนับรวมไว้ ในตัวส่วนในการคำนวณความหนาแน่นของประชากรเมืองจังหวัดภูมิภาคทั้งประเทศและแม้แต่ทั่วโลกสามารถคำนวณได้

12. การกระจายตัว วิธีการนับการกระจายตัวขงประชากรมีความเกี่ยวข้องกับจำนวนคนที่ได้พำนัก ในการตรวจสอบจำนวนประชากรทั้งหมดจะต้องคำนึงถึงการกระจายตัวร่วมด้วย การวัดการกระจายตัวมักจะดำเนินการโดยการสมมติฐาน ไว้ว่าเป็นการนับประชากรที่แม่นยำ และขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ที่ไม่เปลี่ยนแปลง อาศัยภายในพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างกันในเชิงภูมิศาสตร์ หน่วยวัดทางภูมิศาสตร์สำหรับนัก ประชากรศาสตร์สุขภาพ การเมือง ระดับชาติ มลรัฐ ปริมณฑล/เขต เมือง/อำเภอ เขตเลือกตั้ง เขตการวางแผนสุขภาพ หน่วยปฏิบัติการ รหัสไปรษณีย์ เขตสาธารณูปโภค เขตโรงเรียน หน่วยทางสถิติ หน่วยวัด ภูมิภาค หน่วยทหาร เขตมหานคร เขตชุมชนหนาแน่น/เขตในเมือง เขตสำมะโน เขตสำมะโนกลุ่มชุมนุมอาคาร พื้นที่จัดตารางไปรษณีย์

13. ข่อเท็จจริงอย่างแรกที่ใช้ในการอธิบาย คือขนาด วัดได้ในรูปแบบของจำนวนบุคคลที่ยู่อาศัย ตามภูมิศาสตร์ ณ เวลาหนึ่ง -ขณะที่วัดขนาดของประชากรมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคลที่อยู่ในสังคมสมัยใหม่ หน่วยบุคคล -การนับจำนวนที่สมบูรณ์จะใช้วิธีการ สำมะโน ในทุกๆ 10 ปี -สิ่งสำคัญในการสำมโน คือ ต้องระบุตำแหน่ง

14. ความหนาแน่นประชากร

15. การกระจายตัวประชากร

16. ข้อเท็จจริงทางประชากร

17. ประเภทชุมชน

18. การเปลี่ยนแปลงและการวัดประชากร